ป.ป.ช. จ่อถกแก้ปมให้กรรมการสภามหาวิทยาลัยยื่นบัญชีทรัพย์สิน หลังส่อเค้าวุ่น ส่งสัญญาณไขก๊อกลาออกจากบอร์ดมหาวิทยาลัยอื้อ เตรียมรายงานรัฐบาลทราบ ยันอนาคตเจ้าหน้าที่รัฐกว่าล้านคนต้องแจงบัญชีทรัพย์สิน รมว.ศธ. ระบุขอหารือ ป.ป.ช.ก่อน 

ตามที่ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ได้ออกประกาศ เมื่อวันที่ 1 พ.ย.2561 ที่ผ่านมา เรื่อง กำหนดตำแหน่งของผู้มีหน้าที่ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินตามมาตรา 102 พ.ศ.2561 ในราชกิจจานุเบกษา โดยให้มีผลบังคับหลังวันประกาศในราชกิจจานุเบกษา 30 วัน หรือวันที่ 1 ธ.ค.นี้ ให้ผู้ดำรงตำแหน่งตามประกาศฉบับดังกล่าว ยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินของตน คู่สมรส และบุตรที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ต่อคณะกรรมการ ป.ป.ช. ทั้งนี้ ข้อ 7.8.7 กำหนดให้กรรมการและผู้บริหารสูงสุดในสถาบันอุดมศึกษาในกำกับของรัฐ ทั้งนายกสภามหาวิทยาลัย อธิการบดี กรรมการสภามหาวิทยาลัย ต้องปฏิบัติตามประกาศฉบับนี้ด้วย ซึ่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาและอธิการบดีหลายแห่ง ไม่เห็นด้วยกับประกาศดังกล่าวนั้น

ล่าสุด พล.ต.อ.วัชรพล ประสารราชกิจ ประธานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริจแห่งชาติ (ป.ป.ช.) กล่าวว่า ได้รับทราบอย่างไม่เป็นทางการ ว่ามหาวิทยาลัยต่าง ๆ จะส่งหนังสือทักท้วงมาที่ ป.ป.ช. ซึ่ง ป.ป.ช.พร้อมรับไว้พิจารณา ซึ่งขณะนี้กำลังรอรับฟังความคิดเห็นจากทุกภาคส่วน อย่างไรก็ตาม ได้ชี้แจงเบื้องต้นไปแล้วว่า เนื่องจากกฎหมายดังกล่าวเป็นบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญ จึงต้องปฏิบัติตามข้อกฎหมาย แต่หากมีเหตุผลก็จะต้องมาพิจารณา ซึ่งประกาศฉบับดังกล่าวมีผลบัคับใช้ในวันที่ 2 ธันวาคมนี้ จึงยังพอมีเวลาในการพิจารณา ซึ่งตามกฎหมายใหม่เจ้าหน้าที่ของรัฐฐทุกคนต้องยื่นรายการบัญชีทรัพย์สินและหนี้สิน โดยเจ้าหน้าที่ระดับสูง ต้องยื่นบัญชีต่อ ป.ป.ช. อนาคตเจ้าหน้าที่รัฐกว่าล้านคนต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินทุกคน

ส่วนข้อถามว่า สภามหาวิทยาลัยขอให้ทบทวนและให้ผู้บริหารสภามหาวิทยาลัยไม่ต้องแสดงบัญชีทรัพย์สิน ประธาน ป.ป.ช. กล่าวว่า ในทางกฎหมายทำเช่นนั้นไม่ได้ จึงต้องหาทางว่าจะทำอย่างไรได้บ้าง ซึ่งหากยังแก้ไขไม่ได้ก็อาจจะเลื่อนเวลาในการแสดงบัญชีทรัพย์สินในระยะเริ่มต้นไปก่อน ซึ่งเข้าใจถึงปัญหาที่เกิดขึ้น แต่ก็ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ซึ่ง ป.ป.ช.จะรายงานเรื่องดังกล่าวต่อรัฐบาลและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) โดยในการประชุม ป.ป.ช.วันพรุ่งนี้(6 พ.ย.) จะหารือปัญหานี้ด้วย ส่วนการจะใช้ มาตรา 44 แก้ปัญหาดังกล่าว ก็ต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วน เพราะเจตนารมณ์ในการเขียนกฎหมายให้แสดงบัญชีทรัพย์สิน เพื่อความโปร่งใสและตรวจสอบได้

นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รมว.ศึกษาธิการ

ด้าน นพ.ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์ รมว.ศึกษาธิการ กล่าวว่า เร็ว ๆนี้ ตน และ ศ.คลินิก นพ.อุดม คชินทร รมช.ศึกษาธิการ จะหารือกับ ป.ป.ช.เพื่อขอให้ทบทวนเรื่องดังกล่าว หากทบทวนไม่ได้ก็ต้องตั้งสติดูว่าจะทำอย่างไรต่อ ซึ่งภาคเอกชนมีความสำคัญต่อการศึกษา หากเรื่องนี้ไม่สามารถทบทวนได้จริงทิศทางตอนนี้ก็ชัดเจนว่า เราต้องเดินหน้าต่อเพียงแต่ถ้าภาคเอกชนยังอยู่ช่วยการศึกษาก็จะช่วยให้การเดินหน้าดีขึ้น

ทั้งนี้ก่อนหน้านี้ นพ.อุดม คชินทร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) ได้แสดงความเห็นต่อเรื่องดังกล่าวว่า สภามหาวิทยาลัยหลายแห่งเกิดความกังวลจากการประกาศใช้กฎหมายดังกล่าว และกรรมการสภามหาวิทยาลัยเริ่มทยอยลาออกจากตำแหน่ง ซึ่งจะทำให้สภาฯ เกิดภาวะสุญญากาศ กฎหมายที่ออกมานั้น ไม่มีการสอบถามความเห็นผู้ที่เกี่ยวข้อง โดยเฉพาะมหาวิทยาลัย ซึ่งอาจส่งผลให้ภาคเอกชนไม่อยากเข้ามาช่วยพัฒนาการศึกษา เพื่อให้สถาบันอุดมศึกษาผลิตบัณฑิตได้ตรงตามความต้องการของตลาดแรงงานและการพัฒนาประเทศ จึงได้หารือกับ นายสุชัชวีร์ สุวรรณสวัสดิ์ อธิการบดีสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง (สจล.) และประธานที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) ให้ทำหนังสือถึง ป.ป.ช. เพื่อขอให้แก้ไขกฎหมายดังกล่าว

ด้าน นายวิโรจน์ ลิ้มไขแสง อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) อีสาน ในฐานะประธานที่ประชุม 9 อธิการบดี มทร. เปิดเผยภายหลังการประชุม 9 อธิการบดี มทร.ว่า ที่นายกสภาและกรรมการสภามหาวิทยาลัย สายผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่ง มทร.แต่ละแห่งมีจำนวน 15 คน ส่วนใหญ่มาจากภาคเอกชน ต่างแสดงความจำนงขอลาออกจากการเป็นกรรมการสภามหาวิทยาลัย เนื่องจากเห็นว่าเป็นเรื่องยุ่งยากที่จะต้องมายื่นบัญชีทรัพย์สิน เพราะการเข้ามานั่งเป็นนายกสภา หรือกรรมการสภามหาวิทยาลัยไม่มีผลประโยชน์อะไร ซึ่งที่ผ่านมามหาวิทยาลัยเป็นผู้ทาบทามผู้ทรงคุณวุฒิเหล่านี้เข้ามาช่วยงาน ถือเป็นเรื่องที่ยากมาก มีค่าตอบแทนเพียงเบี้ยประชุมแต่ละครั้งเพียงไม่กี่บาท ที่ประชุม 9 อธิการบดี มทร.เกรงว่าหากนายกสภา หรือกรรมการสภาต่างตบเท้าลาออกกัน ต่อไปจะกลายเป็นปัญหาต่อการบริหารงานของมหาวิทยาลัยในที่สุด

“ที่ประชุมฯ มีมติให้ออกหนังสือถึงประธานคณะกรรมการ ป.ป.ช.คาดว่าจะยื่น ป.ป.ช.ในสัปดาห์หน้า เพื่อขอให้ทบทวนการกำหนดตำแหน่งนายกสภาและกรรมการสภามหาวิทยาลัยที่จะต้องยื่นบัญชีทรัพย์สินและหนี้สินตามมาตรา 102 พ.ศ.2561 เพราะพิจารณาแล้วเห็นว่ากฎหมายดังกล่าวอาจส่งผลต่อการสร้างภาระหน้าที่ให้กับนายกสภา และกรรมการสภามหาวิทยาลัย เกินสมควร จนอาจลาออกจากการปฏิบัติหน้าที่ได้ ส่วนของอธิการบดี รองอธิการบดี และกรรมการสภามหาวิทยาลัยสายข้าราชการประจำ อีก 14 คน ยินดีที่จะยื่นบัญชีทรัพย์สินตามที่ ป.ป.ช.กำหนด” นายวิโรจน์ กล่าว

ด้าน นายเรืองเดช วงศ์หล้า อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์ ในฐานะประธานที่ประชุมอธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏ (ทปอ.มรภ.) 38 แห่ง กล่าวว่า ทปอ.มรภ.เชื่อว่าระบบสภามหาวิทยาลัยที่มีผู้ทรงคุณวุฒิจากภายนอกเข้ามาช่วยให้ข้อเสนอแนะทางวิชาการเพื่อเกิดประโยชน์ในการบริหารงานมหาวิทยาลัยเป็นสิ่งที่ดี เบื้องต้นทาง ทปอ.มรภ.จะทำหนังสือขอให้ ป.ป.ช.ทบทวนเรื่องนี้ และวันที่ 7 พ.ย.นี้ ทปอ.มรภ.จะหารือกับ ทปอ.มทร. และ ทปอ.ใหญ่ เพื่อหาทางออกร่วมกันต่อไป

ข่าวล่าสุด

ดูทั้งหมด

ด่วน! ฮอล์กองทัพมาเล 2 ลำ ชนกันกลางอากาศ ระหว่างซ้อมพาเหรด ดับ 10 ศพ

ระทึก! เฮลิคอปเตอร์ทัพเรือมาเลเซีย 2 ลำ ชนกันกลางอากาศ ระหว่างซ้อมพาเหรด เบื้องต้นรายงาน มีผู้เสียชีวิต 10 ราย

จนท.ดับเพลิง คุมเพลิงโรงงานสารเคมีระยองสำเร็จ พร้อมเฝ้าระวังไฟปะทุเพิ่ม

ไฟไหม้โรงงานเก็บสารระยอง ล่าสุดควบคลุมเพลิงได้แล้ว เจ้าหน้าที่เร่งฉีดโฟมสะกัด ในบ่อเก็บสารเคมีกว่า 30 บ่อ หวั่นลุกลาม

“โหรรัตนโกสินทร์” ชี้ 5 ลัคนา เฮงปัง ร่ำรวย! พร้อมแนะวิธีทำบุญ

โหรรัตนโกสินทร์ – The rattanakosin เผย ดาวเกตุย้ายราศี 58 วัน : 5 ลัคนาราศี เทวดาประทานพร เฮงปังร่ำรวย มีความสุขทุกท่าน

ต้อนรับซัมเมอร์สุดจึ้ง! ด้วยอันดับชื่อเสียงของสมาชิกเกิร์ลกรุ๊ปเดือนเมษายน

มาเตรียมรอลุ้นกันได้เลยว่าว่าใครจะเป็นคนสวยฮอตที่สุด! ประจำเดือนเมษายน 2024 นี้ เป็นการเปิดซัมเมอร์มาได้อย่างสุดจี๊ดจริง ๆ

แม่เด็ก 5 ขวบ เหยื่อใน คดีสารวัตรแจ๊ะ ถูกทนายคุกคามหนัก วอนขอให้หยุด

แม่เด็ก 5 ขวบ เหยื่อใน คดีสารวัตรแจ๊ะ เผยถูกทนายคุกคาม-ข่มขู่ ให้กลับคำให้การ เรียกเงิน สตช.5 ล้าน วอนหยุด เพราะคดีถึงทีสุดแล้ว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า