บริษัทโบอิ้งผู้ผลิตเครื่องบินรายใหญ่ได้ออกมาคาดการณ์ว่า ในช่วง 20 ปีจากนี้ อาชีพนักบินพาณิชย์จะเป็นที่ต้องการอย่างมากในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก โดยเฉพาะในประเทศจีน โดยภายในปี 2037 การเติบโตทางเศรษฐกิจของภูมิภาคนี้จะเสริมให้ความต้องการเดินทางด้วยเครื่องบินเพิ่มสูงขึ้น อุตสาหกรรมการบินจำเป็นต้องใช้นักบินกว่า 240,000 คน และลูกเรืออีกกว่า 317,000 คน โดยครึ่งหนึ่งจากจำนวนเหล่านี้จะต้องทำงานรองรับการเติบโตในประเทศจีน

สถานการณ์ที่เกิดขึ้น ทำให้นักวิเคราะห์หลายคนเห็นว่า อาจทำให้เกิดความเสี่ยงต่ออุตสาหกรรมการบินที่กำลังเติบโต เมื่อจำนวนนักบินไม่เพียงพอต่อจำนวนเครื่องบิน แค่ประเทศจีนจีนเพียงประเทศเดียว จะต้องใช้นักบินจำนวน 128,500 คน ขณะที่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะต้องการนักบิน 48,500 คน ใกล้เคียงกับจำนวน 42,750 คน สำหรับเอเชียใต้

มาดูสถานการณ์ในประเทศไทย สถาบันการบินพลเรือน (สบพ.)เคยให้ข้อมูลไว้ว่า ประเทศไทยมีนักบินอยู่ จำนวน 2,500-3,000 คน ซึ่งในแต่ละปีธุรกิจการบินต้องการนักบินใหม่เพิ่มและทดแทนปีละ 400-500 คน แต่สามารถผลิตนักบินได้เพียงปีละ 200-300 คนเท่านั้น ส่วนกลุ่มวิศวกรด้านการบินและช่างอากาศยาน มีจำนวนทั้งสิ้น 8,000-9,000 คน ซึ่งในแต่ละปีประเทศไทยสามารถผลิตบุคลากรด้านวิศวกรรมการบินได้เพียง 300-400 คนต่อปี จากความต้องการมากกว่า 400 คนต่อปี

ส่วนการผลิตบุคลากรทางด้านการบิน สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา(องค์การมหาชน) หรือ สมศ. ระบุว่า ประเทศไทยมีสถาบันอุดมศึกษาที่เปิดสอนหลักสูตรด้านการบิน จำนวน  26 แห่ง  โดยที่เปิดสอนในรูปแบบสถาบันการบินและคณะการบินจำนวน 5 แห่ง อีก 21 แห่ง เปิดสอนหลักสูตรหรือสาขาที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจการบิน ขณะที่สถาบันการบินพลเรือน เปิดสอนเกี่ยวกับอุตสาหกรรมการบินแบบครบวงจรใน 2 กลุ่มหลักสูตร ได้แก่ 1. หลักสูตรภาคอากาศ อาทิ หลักสูตรนักบินพาณิชย์ หลักสูตรนักบินส่วนบุคคล และ 2.หลักสูตรภาคพื้นดิน อาทิ หลักสูตรเทคโนโลยีการบินบัณฑิต หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์บัณฑิต เป็นต้น

ในช่วงที่ผ่านมาสถาบันอุดมศึกษาที่เปิดสอนด้านการบินเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีจำนวนนักศึกษาสนใจเข้าเรียนเพิ่มขึ้นทุกปี โดยปี 2556 มีนักศึกษากว่า 5,000 คน ปี 2557 มีนักศึกษามากกว่า 9,000 คน และปี 2558 มีนักศึกษามากกว่า 15,000 คน  แม้ว่าจำนวนนักศึกษาที่สมัครเข้าเรียนในหลักสูตรด้านการบินในภาพรวมจะมากขึ้น แต่ยังไม่ใช่จำนวนที่เพียงพอกับที่ตลาดต้องการ เนื่องจากการเรียนในสาขาวิชานี้ต้องใช้ทุนทรัพย์ค่อนข้างสูงและต้องผ่านการทดสอบทั้งทางวิชาการ ด้านร่างกาย และจิตใจ เช่น มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง( มฟล.) ที่เปิดสอนสาขาวิชาการปฏิบัติการทางการบิน (Aviation Operations) มาตั้งแต่ปี 2555 โดยมีนักศึกษาเข้าเรียนในสาขานี้ปีละประมาณ 50 คน การจะก้าวสู่การเป็นนักบินได้ นักศึกษาชั้นปีที่ 4 จะต้องผ่านการตรวจเวชศาสตร์ที่จะทดสอบเรื่องทัศนคติ สัญชาติญาณ แนวความคิด ฯลฯ จากโรงพยาบาลที่กำหนด หากผ่านแล้วจึงจะสามารถศึกษาต่อปฏิบัติการทางการบิน ซึ่งมี 2 แบบ คือ แบบเครื่องบินเล็ก กับ CPL (CPL ย่อมาจาก Commercial Pilot License) โดยแต่ละปีจะมีผู้สนใจสมัครเข้าตรวจเวชศาสตร์ปีละ 8-10 คน ผ่านการตรวจประมาณ 6 คน เมื่อผ่านการทดสอบแล้วจึงเข้าเรียนปฏิบัติการทางการบินได้ ซึ่งยังมีกระบวนการต่าง ๆ หลายขั้นตอน

อาจารย์ประจำหลักสูตรดังกล่าว ยอมรับว่ามีผู้สนใจเรียนจนกระทั่งสำเร็จออกไปเป็นบินได้นั้นมีน้อย นอกจากจะมีค่าใช้จ่ายสูงแล้ว ส่วนใหญ่นักศึกษาในสาขาวิชาดังกล่าวส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ แทน

สถาบันและหลักสูตรการบินที่เปิดสอนในประเทศไทย อาทิ

  • มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย คณะการบิน
  • วิทยาลัยนานาชาติการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
  • มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต คณะธุรกิจการบิน
  • สถาบันพัฒนาบุคลากรการบิน สาขาธุรกิจการบิน มหาวิทยาลัยเกษมบัณฑิต
  • สถาบันการบินพลเรือน (หลักสูตรเทคโนโลยีการบินบัณฑิต และหลักสูตรการบินบัณฑิต)
  • คณะวิศวกรรมศาสตร์ ภาควิชาวิศวกรรมการบินและอวกาศ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
  • วิทยาลัยการบินและคมนาคม มหาวิทยาลัยศรีปทุม
  • วิทยาลัยการท่องเที่ยวและการบริการ สาขาธุรกิจการบิน มหาวิทยาลัยศรีปทุม
  • คณะบริหารธุรกิจ สาขาการจัดการธุรกิจการบิน มหาวิทยาลัยศรีปทุม
  • หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาธุรกิจการบิน (Aviation Business) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีการบิน (Flight Operation Management) มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • สาขาการจัดการธุรกิจการบิน (หลักสูตรนานาชาติ) มหาวิทยาลัยนานาชาติแสตมฟอร์ด
  • คณะมนุษยศาสตร์และการจัดการการท่องเที่ยว สาขาการจัดการธุรกิจสายการบิน มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
  • คณะมนุษยศาสตร์และประยุกต์ศิลป์ สาขาวิชาการจัดการธุรกิจสายการบิน มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
  • สาขาธุรกิจการบิน มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต
  • สำนักวิชาการจัดการ สาขาการจัดการธุรกิจการบิน มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
  • สาขาธุรกิจการบิน มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • วิทยาลัยการท่องเที่ยวและการบริการ สาขาวิชาการจัดการธุรกิจด้านการบิน มหาวิทยาลัยรังสิต

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

จะเกิดอะไรขึ้น เมื่อ ‘นักบิน’ ขาดแคลน…

ข่าวล่าสุด

ดูทั้งหมด

แม่ร้องปวีณา คาใจ! หลังสถานทูตบาห์เรน แจ้งลูกสาวตายมา 1 ปี

แม่ คาใจ! สถานทูตเพิ่งแจ้งข่าว ลูกสาวเสียชีวิตที่บาห์เรน มา 1 ปี หลังย้ายไปอยู่กินกับสามี ด้วยสาเหตุหัวใจล้มเหลว เพราะฤทธิ์แอลกอฮอล์

เอาแล้ว! ครูไพบูลย์ ลั่น เจอกันที่ศาล หลังถูกกล่าวหาเล่นพนัน

ครูไพบูลย์ แสงเดือน ขอปกป้องตัวเอง! รับคำขอโทษเป็นเงินสดเท่านั้น หลังถูกชาวเน็ตรายหนึ่ง กล่าวหาเล่นพนัน จนเสียเงินเป็นแสน

รบเดือด! ฝ่ายต้านฯ เปิดฉากโจมตีทหารเมียนมา กระสุนข้ามแดนตกฝั่งไทย

ทหารพม่า – ฝ่ายต้านฯ เปิดฉากโจมตี นำเครื่องบินรบ MiG-29 ทิ้งระเบิดใส่กลุ่มต่อต้าน สาดกระสุนข้ามแดนตกฝั่งไทย ประชาชนส่วนใหญ่ อพยพหนีเข้าไทย

แน็ก ชาลี ตอบแล้ว! สาเหตุไร้ซีนกอด หลังส่ง กามิน บินกลับเกาหลี ?

แน็ก ชาลี ออกมาตอบแล้ว! สาเหตุไร้ซีนกอดร่ำลา หลังส่ง กามิน บินกลับบ้านเกิด ประเทศเกาหลี ?

จับแล้ว! 2 ผู้ต้องหา แทงเพื่อนร่วมชาติ ทิ้งร่างให้รถไฟทับ อำพรางศพ

2 ผู้ต้องหา ปัด! ไม่ใช่มือแทงเพื่อนร่วมชาติดับ ปล่อยให้รถไฟทับร่างขาดเป็น 2 ท่อน อำพรางคดี แต่สารภาพ มีเรื่องขัดแย้งผลประโยชน์ทางธุรกิจ
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า