ใกล้เป็นจริง! กู้เงินแบงก์ผ่าน “มือถือ”  

การยื่นขอกู้เงิน หรือขอเปิดบัญชีธนาคารผ่านโทรศัพท์มือถือ ใกล้เป็นจริงมากขึ้นทุกขณะ

หลังที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 11 ก.ย.2561 มีมติเห็นชอบ ร่าง พ.ร.บ.การพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล พ.ศ… เพื่อรองรับการทำนิติกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ ที่มีความสะดวก รวดเร็ว และปลอดภัย

กุลยา ตันติเตมิท ผู้ตรวจราชการกระทรวงการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง บอกว่าว่า ระบบพิสูจน์และยืนยันตัวตนในรูปแบบดิจิทัล จะช่วยลดภาระของประชาชน หน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชนในฐานะผู้ใช้บริการและผู้ให้บริการต่างๆ ที่ต้องมีการพิสูจน์และยืนยันตัวตนก่อนการใช้บริการทางอิเล็กทรอนิกส์

เช่น ประชาชนสามารถเปิดบัญชีธนาคาร หรือขอสินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์ผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ จากเครื่องคอมพิวเตอร์หรือโทรศัพท์มือถือของตนเองได้ โดยไม่จำเป็นต้องไปแสดงตนที่สาขาของธนาคารพาณิชย์ หากได้ดำเนินการพิสูจน์และยืนยันตัวตน และแสดงความจำนงที่จะทำธุรกรรมดังกล่าวกับผู้ให้บริการระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนแล้ว

พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ขยายความว่า ปัจจุบันการทำนิติกรรมสัญญาหลายประเภท จะต้องมีการพิสูจน์ตัวตนกับผู้ให้บริการก่อน จึงจะใช้บริการได้ ทำให้ต้องมีการยื่นเอกสารหลายอย่าง แต่หากมีระบบพิสูจน์และยืนยันตัวตนในรูปแบบดิจิทัลแล้ว  ผู้ใช้บริการก็ไม่ต้องยื่นเอกสารอีก

อย่างไรก็ตาม เพื่อทำให้ระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัลมีความชัดเจน และปลอดภัยต่อผู้ใช้บริการ ครม.จึงเห็นชอบร่าง พ.ร.บ.การพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล ซึ่งประกอบด้วย มาตรการในการกำกับดูแลระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล การกำหนดหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการของบริษัทผู้ให้บริการระบบการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล

รวมถึงการกำหนดมาตรฐานในการรักษาความลับ การกำหนดบทลงโทษแก่บริษัทผู้ให้บริการที่จงใจหรือประมาทเลินเล่อในการเปิดเผยข้อมูลที่ไม่ถูกต้องให้แก่ผู้อื่น จนเป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ใช้บริการหรือเจ้าของข้อมูล ตลอดจนการกำหนดค่าธรรมเนียมและค่าดำเนินการอื่นใดที่เกี่ยวข้องกับการพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล เป็นต้น

ปัจจุบันการปล่อยสินเชื่อผ่านโทรศัพท์มือถือได้รับความสนใจ ทั้งจากผู้ให้บริการ และผู้ใช้บริการมากขึ้น โดยที่ผ่านมาธนาคาร 5-6 แห่ง ได้ส่งระบบพิสูจน์และยืนยันตัวตนทางดิจิทัล (E-KYC) ไปให้ศูนย์ทดสอบเทคโนโลยีแซนด์บ็อกซ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ตรวจสอบแล้ว คาดว่าจะได้รับอนุมัติและนำมาใช้งานได้จริงได้ในเดือน ต.ค.2561

ฐากร ปิยะพันธ์ ประธานคณะเจ้าหน้าที่บริหาร ผู้บริหารสายงานดิจิทัลแบงกิ้งและนวัตกรรม ธนาคารกรุงศรีอยุธยา อธิบายว่า ระบบ E-KYC จะให้ลูกค้าสแกนใบหน้า ภาพถ่ายหน้าพาสปอร์ต หรือบัตรประจำตัวประชาชน และเอกสารบางอย่าง เก็บไว้ในระบบของธนาคาร เมื่อลูกค้าต้องการทำธุรกรรมต่างๆ เช่น เปิดบัญชีธนาคารออนไลน์ เปิดบัญชีกองทุน ซื้อขายหลักทรัพย์ และการขอสินเชื่อออนไลน์ ก็นำข้อมูลที่เก็บไว้มาพิสูจน์และยืนยันตัวตนของลูกค้า โดยลูกค้าไม่ต้องไปที่ธนาคาร

นอกจากนี้ สมาคมธนาคารไทย สมาคมประกันวินาศภัย เครดิตบูโร และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมกันจัดทำ “เนชั่นแนล ดิจิทัล ไอดี” ทำให้ในอนาคตประชาชนและส่วนงานต่างๆ สามารถใช้ข้อมูลของประชาชนบนดิจิทัลไอดี สำหรับการทำธุรกรรมต่างๆ เช่น การใช้เอกสารเพื่อทำธุรกิจ การต่อทะเบียนรถยนต์ การทำใบอนุญาตขับขี่รถยนต์ ผ่านการใช้เอกสารและลงลายมือชื่อบนออนไลน์ เป็นต้น

นี่เป็นอีกหนึ่งความก้าวหน้าของเทคโนโลยีที่จะมาเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของเรา 

 

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า