“คลัง” ยันรถไฟความสูง “กรุงเทพ-โคราช” คุ้มค่า-ไม่ตกเป็นของจีน

“คลัง” ยันรถไฟความเร็วสูง “กรุงเทพ-โคราช” เป็นของฝ่ายไทย แม้ว่าอาจจะต้องกู้เงินจากจีนมาลงทุน เผยขณะนี้อยู่ระหว่างพิจารณาแหล่งเงินกู้ที่มีต้นทุนเหมาะสม

เมื่อวันที่ 23 ม.ค. นางจินดารัตน์ วิริยะทวีกุล ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผน สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยกรณีที่มีการวิพากษ์วิจารณ์กรณีการกู้เงินจากจีน เพื่อลงทุนโครงการพัฒนาระบบรถไฟความเร็วสูง ช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา โดยยืนยันว่า กระทรวงการคลังจะพิจารณาจัดหาแหล่งเงินทุนที่มีเงื่อนไขและต้นทุนที่เหมาะสมที่สุดสำหรับดำเนินโครงการดังกล่าว

“ประเทศไทยเป็นผู้ลงทุนรถไฟความเร็วสูงเองทั้งหมด ไม่ได้ร่วมลงทุนกับจีน และดำเนินการในพื้นที่ประเทศไทย ประเทศไทยจึงเป็นเจ้าของโครงการแต่เพียงผู้เดียว โดยที่ฝ่ายจีนเป็นเพียงผู้ให้บริการด้านเทคโนโลยีระบบรถไฟความเร็วสูงแก่ไทยเท่านั้น ซึ่งกระทรวงการคลังได้กู้เงินในประเทศมาลงทุนบางส่วนแล้ว ส่วนแหล่งเงินกู้ต่างประเทศ ยังไม่ได้มีการผูกพันสัญญาเงินกู้กับไชน่า เอ็กซิมแบงก์ (CEXIM) หรือแหล่งเงินกู้ต่างประเทศอื่นๆ”นางจินดารัตน์กล่าว

ส่วนความคุ้มค่าการลงทุนและปัญหาการชำระหนี้ที่อาจทำให้ไทยสูญเสียความเป็นเจ้าของรถไฟความเร็วสูงให้แก่ฝ่ายจีนนั้น นางจินดารัตน์ กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สคช.) ได้จัดทำรายงานการวิเคราะห์โครงการ ผลตอบแทนด้านเศรษฐกิจและการเงิน ให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติโครงการแล้ว โดยเส้นทางรถไฟดังกล่าวเป็นเส้นทางเชิงยุทธศาสตร์ที่จะเพิ่มศักยภาพและโอกาสทางเศรษฐกิจของประเทศไทย

นอกจากนี้ รถไฟความเร็วสูงเส้นนี้จะสนับสนุนให้ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางการการคมนาคมขนส่งและโลจิสติกส์ รวมทั้งเชื่อมโยงการขนส่งทางรถไฟกับประเทศในภูมิภาค ซึ่งได้พิจารณาถึงผลตอบแทนทางเศรษฐกิจและสังคมในเชิงกว้างมากกว่าการคำนึงถึงผลตอบแทนทางการเงินเพียงอย่างเดียว

รายงานข่าวระบุว่า มติครม.เมื่อวันที่ 11 ม.ค.2560 ระบุว่า เงินลงทุนรถไฟความเร็วสูงช่วงกรุงเทพมหานคร-นครราชสีมา 179,412 ล้านบาทนั้น จะมาจากงบประมาณ 13,273 ล้านบาท และเงินกู้ 166,342 ล้านบาท

โดยในส่วนการกู้เงินนั้น เดิมกำหนดว่าการกู้เงิน 80% หรือ 127,784 ล้านบาท จะเป็นการกู้เงินในประเทศ เนื่องจากเป็นการว่าจ้างผู้ประกอบการในประเทศไทยในงานก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ส่วนที่เหลืออีก 38,558 ล้านบาท จะเป็นการกู้เงินจากต่างประเทศในรายการที่ต้องจ่ายเป็นเงินตราต่างประเทศ เช่น งานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล งานจัดหาขบวนรถ งานวางราง และการฝึกอบรมบุคลากร

อย่างไรก็ตาม กระทรวงการคลังเห็นการกู้เงินควรเปิดกว้าง โดยให้สามารถจัดหาเงินกู้ได้ทั้งจากแหล่งเงินในประเทศและต่างประเทศ เพื่อให้เป็นประโยชน์ต่อประเทศไทยให้มากที่สุด และที่ประชุมครม.เมื่อวันที่ 8 ม.ค.2562 มีมติให้ทบทวนมติครม.เมื่อวันที่ 11 ม.ค.2560 โดยกำหนดให้การกู้เงิน 166,342 ล้านบาท สามารถกู้ได้จากแหล่งเงินในประเทศและแหล่งเงินจากต่างประเทศ

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า