เปิดบทลงโทษศาลสั่ง “ยุบพรรค” ห้าม “ดำรงตำแหน่งการเมือง” ตลอดชีวิต

จนถึงขณะนี้ยังคงต้องรอลุ้นว่า คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ซึ่งประชุมกันในวันนี้ (11 ก.พ.) จะมีมติอย่างไร หลังมีผู้ยื่นร้องให้ยุบพรรคไทยรักษาชาติ (ทษช.) เนื่องจากอาจมีการกระทำผิดระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้ง ว่าด้วยการหาเสียงและลักษณะต้องห้ามในการหาเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ.2561 ในหมวด 4 ข้อ 17 ที่ระบุว่า ห้ามผู้สมัคร พรรคการเมืองหรือผู้ใด นำสถาบันพระมหากษัตริย์มาเกี่ยวข้องกับการหาเสียงเลือกตั้งตามประเพณีต่างๆ

หากกกต.มีมติว่าพรรคไทยรักษาชาติกระทำความผิดจริง ก็จะมีโทษถึงขั้น “ยุบพรรค” ในขณะที่ข้อกฎหมายเกี่ยวกับการยุบพรรคนั้น ได้มีการกำหนดไว้ในพ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ.2560 ซึ่งให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยไว้ในหลายมาตรา

เริ่มจาก มาตรา 92 ที่ระบุว่า เมื่อคณะกรรมการฯมีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่า พรรคการเมืองใดกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ ให้ยื่นศาลรัฐธรรมนูญเพื่อสั่งยุบพรรคการเมืองนั้น

(1) กระทําการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเพื่อให้ได้มาซึ่งอํานาจในการปกครองประเทศโดยวิธีการซึ่งมิได้เป็นไปตามวิถีทางที่บัญญัติไว้ ในรัฐธรรมนูญ

(2) กระทําการอันอาจเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ ทรงเป็นประมุข

(3) กระทําการฝ่าฝืนมาตรา 20 วรรคสอง มาตรา 28 มาตรา 30  มาตรา 36 มาตรา 44 มาตรา 45 มาตรา 4 มาตรา 72 หรือมาตรา 74

(4) มีเหตุอันจะต้องยุบพรรคการเมืองตามที่มีกฎหมายกําหนด เมื่อศาลรัฐธรรมนูญดําเนินการไต่สวนแล้ว มีหลักฐานอันควรเชื่อได้ว่าพรรคการเมืองกระทําการตามวรรคหนึ่ง ให้ศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคการเมือง และเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งของคณะกรรมการบริหารพรรคการเมืองนั้น

มาตรา 94 เมื่อศาลรัฐธรรมนูญมีคําสั่งให้ยุบพรรคการเมืองใดแล้ว ให้นายทะเบียนประกาศคําสั่งยุบพรรคการเมืองนั้นในราชกจิจานุเบกษา และห้ามมิให้บุคคลใดใช้ชื่อ ชื่อย่อ หรือภาพเครื่องหมายของพรรคการเมืองซ้ำ หรือพ้องกับชื่อ ชื่อย่อ หรือภาพเครื่องหมายของพรรคการเมืองที่ถูกยุบนั้น

รวมทั้งห้ามมิให้ผู้ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งกรรมการบริหารของพรรคการเมืองที่ถูกยุบและถูกเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งเพราะเหตุดังกล่าวไปจดทะเบียนพรรคการเมืองขึ้นใหม่ หรือเป็นกรรมการบริหาร พรรคการเมืองหรือมีส่วนร่วมในการจัดตั้งพรรคการเมืองขึ้นใหม่อีก ภายในกำหนดสิบปีนับแต่วันที่พรรคการเมืองนั้นถูกยุบ

ที่สำคัญหากมีคำสั่งศาลฯให้มีการเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ หรือที่เรียกกันว่าได้ “ใบดำ” นั้น ผู้ที่ถูกเพิกถอนจะไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งหรือสมัครรับเลือกเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา สมาชิกสภาท้องถิ่นหรือผู้บริหารท้องถิ่นและไม่มีสิทธิดำรงตำแหน่งทางการเมืองใดๆ ตลอดไป

หรือเรียกได้ว่าผู้ที่ได้รับ “ใบดำ” ก็ประหนึ่งโดนประหารชีวิตทางการเมืองนั่นเอง เช่นนี้แล้วหากผู้ใดได้รับ “ใบแดง” ผู้นั้นก็จะได้รับ “ใบดำ” ไปด้วยโดยอัตโนมัติ และจะมีผลตลอดไป

นั่นคือแม้จะผ่านระยะเวลาเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง 10 ปี แล้ว ผู้นั้นย่อมสามารถใช้สิทธิเลือกตั้งได้ แต่จะไม่สามารถสมัคร หรือเข้าดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้อีกตลอดชีวิต

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า