แฉ “อีไอไอ” โครงการเหมืองหินปูน “สุดห่วย”-มั่วป่าสงวนฯไม่มีสัตว์หายาก

“หมอนักอนุรักษ์” แฉ “อีไอไอ” โครงการทำเหมืองหินปูน “บ.ปูนซิเมนต์ไทย” ทำโดยพวกมือสมัครเล่น แถมห่วยสุด ชี้เป็นไปได้อย่างไรป่าสงวนฯ ไม่มีสัตว์เฉพาะถิ่นเลย แนะสำรวจเปิดพื้นที่ใหม่ 

เมื่อวันที 15 มี.ค. นพ.รังสฤษฎ์ กาญจนะวณิชย์ หรือ “หมอหม่อง” อาจารย์แพทย์โรคหัวใจ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ประธานชมรมอนุรักษ์นกและธรรมชาติล้านนา โพสต์ข้อความลงบนเฟซบุ๊กส่วนตัว “Rungsrit Kanjanavanit” โดยระบุว่า การจัดทำรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA) โครงการเหมืองหินปูนในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ของบริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จำกัด (มหาชน) “สุดห่วย” และทำโดย “พวกมือสมัครเล่น”

พร้อมทั้งตั้งคำถามว่า สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติ (สผ.) อนุมัติ EIA  ดังกล่าวได้อย่างไร

โพสต์ดังกล่าวระบุว่า

เมื่อวานนี้ผมได้มีโอกาสไปพูดคุยกับทางทีมปูนซีเมนต์ไทยเพื่อรับฟังข้อมูล และให้ข้อเสนอแนะ ในประเด็นผลกระทบเหมืองปูนต่อความหลากหลายชีวภาพเขาหินปูน ในส่วนของพื้นที่ป่าสงวนที่ ครม.อนุมัติ ต่ออายุให้เข้าทำประโยชน์เพิ่ม

ทางบริษัทได้บรรยายชี้แจง แผนฟื้นฟูเหมืองปูนที่ได้ดำเนินการกับเหมืองปัจจุบันที่ทำอยู่ ฟังแล้วก็เห็นได้ถึงความตั้งใจอย่างมากของ SCG ในการฟื้นฟูสภาพเหมืองที่ใช้ประโยชน์ไปแล้ว

แต่เมื่อผมขอดู บางส่วนของ EIA ของโครงการที่ได้รับการอนุมัติโดย สผ. ในส่วนที่เป็นรายชื่อพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ ที่สำรวจพบในพื้นที่ได้รับประทานบัตรเพิ่ม

บอกได้คำเดียวว่า ช็อค

เพราะ รายชื่อ สัตว์ ที่แสดงในรายการแทบไม่มีอะไรที่เกี่ยวกับ นิเวศเขาหินปูนเลย

ไม่มี เลียงผา ไม่มี นกถิ่นเดียวอย่างจู๋เต้นสระบุรี และ ไม่มี สัตว์ในระบบถ้ำ เข่น ตุ๊กกาย หอยทากเฉพาะถิ่น เลย

Species Inventory นี้ ดูแล้วเหมือนกับสำรวจจากแถวๆ บ้านพักคนงาน โดย พวกมือสมัครเล่น

แม้ทางกฏหมาย แผนการศึกษาผลกระทบทางสิ่งแวดล้อม EIA (เพิ่งรู้ว่า การทำเหมืองปูน ไม่ต้องทำ EHIA ทำแค่ EIA ก็พอ…บ้าไปแล้ว) ผ่านความเห็นชอบไปแล้ว

แต่จะเป็นเรื่องน่าเศร้ามากสำหรับบริษัทที่มีภาพลักษณ์เป็นผู้นำในการดำเนินธุรกิจแบบยั่งยืนจะอ้างความชอบธรรม EIA นี้ เพราะคุณภาพมันห่วยสุดๆ และเป็นเพียง minimum requirement ตามกฎหมายเท่านั้น

ที่สำคัญ หากจะมีแผนการจัดการเพื่อลดผลกระทบใดๆ

Species list อย่างเดียวไม่เพียงพอ

เราต้องรู้ว่าอะไรอยู่ที่ไหน

โดยเฉพาะระบบถ้ำที่สำคัญอยู่ตรงไหน มีสัตว์หายากอะไรซุกซ่อนอยู่บ้างในพื้นที่ประทานบัตรทั้งหมด

เขามีแผนจะทำเหมือง แบบ semi open cut เพื่อลดผลกระทบเสียง ฝุ่นภายนอก โดย 40% ของพื้นที่จะเป็นเหมือง และทิ้งไว้เป็น buffer zone 60% ซึ่งเป็นเรื่องดี

แต่เขาไม่รู้เลยว่าอะไร อยู่ตรงไหน แล้วขีดลากพื้นที่ตามสะดวกในห้องแอร์

วางแผนแบบนี้คงไม่สามารถลดผลกระทบได้ดังอ้างมาตรฐานการดำเนินธุรกิจของเขา เอาแค่นั้น ก็เสียชื่อ SCG แย่

สำหรับคนทำเหมืองส่วนใหญ่อาจมองเขาหินปูนเป็นแค่ CaCO3

เขาหากินกับหินปูน

แต่ดูไม่รู้อะไรเกี่ยวกับความพิเศษของนิเวศเขาหินปูนเลย

สัตว์และพืชเขาหินปูนแต่ละแห่งมีความจำเพาะสูงมาก เพราะมันต้องปรับตัวกับพื้นที่ที่มีลักษณะทางกายภาพที่ไม่เหมือนใคร และถูกแยกออกจากบริเวณโดยรอบ เหมือนสัตว์ที่ติดเกาะมาเป็นเวลาหลายล้านปี

นิเวศเขาหินปูน จึงเป็น endemic hotspot ที่นักชีววิทยาให้ความสนใจมากที่สุด

Karst landscapes หรือ ภูมิทัศน์เขาหินปูน ในไทยมีเพียงร้อยละ 5 ของประเทศ แต่พบ สัตว์และพืชถิ่นเดียว (endemic species) ต่อพื้นที่สูงมาก

ร้อยละ 25 ของระบบนิเวศเขาหินปูนอยู่ในพื้นที่อนุรักษ์ ที่เหลือร้อยละ 75 อยู่นอกเขตอนุรักษ์ พื้นที่เหล่านี้ยังขาดการสำรวจอย่างจริงจัง และไม่ได้รับการจัดลำดับความสำคัญเพื่อกำหนดนโยบายเพื่อจัดการ

ข้อเสนอแนะของพวกเราคือ

ทางบริษัทปูนซีเมนต์ไทย ต้องทำการสำรวจใหม่โดยใช้คนที่รู้เรื่องนิเวศเขาหินปูนจริง ที่มีอยู่หยิบมือเดียวในประเทศ

เราจะช่วยเสนอรายชื่อให้เขา

ผมเสนอให้ทำ ทางเขื่อมต่อสัตว์ป่า (wildlife corridor ) เพื่อเพิ่มโอกาสรอดชีวิตดำรงเผ่าพันธุ์สำหรับสัตว์ใหญ่ อย่างเลียงผา

จริงๆแล้วการทำ wildlife corridor ให้ได้ผล

ทาง SCG ควรคุยกับ บ.ปูนอื่นๆให้ร่วมมือกัน

แม้สิ่งนี้จะยาก แต่หากเขาจะ claim ความเป็น leadership ในกลุ่มธุรกิจปูน ก็เป็นเรื่องจำเป็น

สรุปข้อเสนอแนะ 3 ประเด็น

1.สำรวจความหลากหลายทางชีวภาพเพิ่มเติม และให้ครอบคลุมพื้นที่ที่สามารถเป็นตัวแทนจำนวนพื้นที่ทั้งหมดได้อย่างน่าเชื่อถือ

2.กำหนดพื้นที่ที่พบความหลากหลายทางชีวภาพที่มีนัยสำคัญ เพื่อหลีกเลี่ยงการทำเหมือง

3.จัดทำแนวเชื่อมต่อระบบนิเวศน์ (ecological corridor) ในจุดที่จะช่วยส่งเสริมความอยู่รอดของสัตว์และความหลากหลายทางชีวภาพ

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า