เช็กด่วน! 14 โรคควรระวัง เวลาเดินทางไปต่างประเทศ-นั่งเครื่องบินนาน

เตือน 14 โรคควรระวัง! คนที่ชอบเที่ยว ชอบเดินทาง ไป ต่างประเทศ-นั่งเครื่องบินเป็นเวลานาน และวิธีการเตรียมตัวก่อนขึ้นเครื่อง

ช่วงนี้จะเห็นได้ว่าการท่องเที่ยวเริ่มกลับมาคึกคักแล้ว หลายๆ คนก็คงวางแผน วางทริป กันไว้แล้วใช่ไหม ซึ่งก่อนเดินทางต้องเราก็อย่าลืมนึกถึงสุขภาพกันด้วย วันนี้จึงมาเตือน 14 โรคควรระวัง! คนที่ชอบเที่ยว ชอบเดินทางไปต่างประเทศ-นั่งเครื่องบินเป็นเวลานาน และวิธีการเตรียมตัวก่อนขึ้นเครื่อง

plane-flies-white-paper-map-world-travel-background-travel-wanderlust-concept-3d-illustration-rendering

14 โรคที่ควรระวังเมื่อต้องเดินทางด้วยเครื่องบินเป็นเวลานาน

  1. โรคหัวใจ 
    ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจ (Coronary heart disease)  หรือโรคหัวใจล้มเหลว (Congestive heart failure) ควรตรวจร่างกาย โดยไม่มีอาการเจ็บหน้าอก หอบเหนื่อย หรือไม่มีหัวใจเต้นผิดปกติ อย่างน้อย 6 สัปดาห์ก่อนโดยสารเครื่องบิน  หากมีความจำเป็นสามารถเดินทางหลังมีอาการ 2-3 สัปดาห์  แต่ต้องอยู่ในความดูแลของแพทย์และต้องแจ้งสายการบิน เพื่อเตรียมเครื่องมือในกรณีจำเป็น
     
  2. ผ่าตัดบายพาสหลอดเลือดหัวใจ (Coronary artery bypass grafting)
    เนื่องจากการผ่าตัดอาจเกิดอากาศในโพรงช่องหน้าอก จึงควรรอให้อากาศถูกดูดซึมไปหมดก่อน หรือภายใน 2 สัปดาห์ภายหลังผ่าตัด  และควรเตรียมยาไว้ในกระเป๋าถือขึ้นเครื่อง ให้เพียงพอในการเดินทาง  ทั้งนี้ควรเขียนรายละอียดและวิธีใช้ยาแต่ละชนิดเก็บไว้เผื่อจำเป็นต้องซื้อใหม่ กรณียาสูญหาย
     
  3. โรคความดันโลหิตสูง (Hypertension)
    ผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูง สามารถขึ้นเครื่องบินได้ โดยควบคุมความดันโลหิตด้วยการรับประทานยา และควรเตรียมยาให้พร้อมและเพียงพอกับระยะเวลาเดินทาง
     
  4. โรคลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำ (Venous thrombosis)
    แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำ (Deep Vein Thrombosis) มักเกิดขึ้นบริเวณขา และภาวะลิ่มเลือดอุดตันในปอด (Pulmonary Embolism) เกิดขึ้นเมื่อลิ่มเลือดที่อุดกั้นหลุดไปตามกระแสเลือดและไปอุดตันบริเวณหลอดเลือดดำในปอด ซึ่งผู้โดยสารเครื่องบินมักประสบปัญหา ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำภายในกล้ามเนื้อน่อง การศึกษาของ WHO พบว่าความเสี่ยงของภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำ เพิ่มขึ้น 2 ถึง 3 เท่าหลังจากโดยสารเที่ยวบินระยะไกลนานกว่า 4 ชั่วโมง
     
  5. โรคหืด (Asthma)
    กรณีอาการรุนแรงไม่สามารถควบคุม หรือเพิ่งออกจากโรงพยาบาล  ควรงดการเดินทางด้วยเครื่องบิน  หากอาการไม่รุนแรงควรมียาติดตัวขึ้นเครื่องไปด้วยโดยเฉพาะยาชนิดพ่น
     
  6. โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (Chronic obstructive pulmonary disease)
    ผู้ป่วยมักมีอาการเมื่ออยู่ในภาวะพร่องออกซิเจน  ดังนั้นจึงควรพกยาขยายหลอดลม และแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบเพื่อเตรียมอุปกรณ์กรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน
     
  7. โรคลมรั่วในช่องเยื่อหุ้มปอด (Pneumothorax) คือภาวะที่มีลมค้างในช่องเยื่อหุ้มปอด
    ส่งผลให้กระบวนการหายใจผิดปกติ หากมีความจำเป็นต้องเดินทางด้วยเครื่องบิน  ควรพบแพทย์เพื่อใส่ท่อระบายลมออกจากปอด หลังจากนั้นต้องรอให้ปอดขยายตัวเต็มที่อย่างน้อย 7 วัน โดยการเอกซเรย์ปอด หรือ คอมพิวเตอร์เอกซเรย์ ก่อนเดินทาง
     
  8. โรคติดเชื้อ (Infectious disease)
    สามารถแพร่เชื้อหรือติดต่อไปยังผู้อื่น ห้ามเดินทางโดยเครื่องบิน  เนื่องจากการแพร่เชื้ออาจเกิดขึ้นระหว่างผู้โดยสารที่นั่งอยู่ในพื้นที่เดียวกันของเครื่องบิน ซึ่งมักเกิดจากการไอหรือจามของบุคคลที่ติดเชื้อหรือโดยการสัมผัส  เพื่อลดความเสี่ยงในการแพร่เชื้อ ผู้ป่วยควรชะลอการเดินทางจนกว่าจะหายดี
     
  9. โรคหลอดเลือดสมอง (Cerebrovascular disease)
    ภาวะต่างๆ ที่ส่งผลต่อการส่งเลือดไปเลี้ยงสมอง ได้แก่  ภาวะสมองขาดเลือดชั่วขณะ (Transient ischemic attack) ภาวะเลือดออกในสมอง (Intracerebral hemorrhage) และภาวะหลอดเลือดตีบ อุดตัน หรือแตก (Stroke) ซึ่งส่งผลให้เซลล์สมองได้รับออกซิเจนน้อยลง เมื่อขึ้นเครื่องบินซึ่งมีภาวะพร่องออกซิเจน อาจส่งผลให้อาการกำเริบ ดังนั้นก่อนเดินทางควรพบแพทย์เพื่อปรึกษาและรับยา รวมถึงข้อควรปฏิบัติขณะอยู่บนเครื่องบิน โดยอาการต้องคงที่อย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนเดินทาง
     
  10. โรคลมชัก (Epilepsy)
    โรคลมชัก มีโอกาสชักได้ง่ายขึ้นในภาวะพร่องออกซิเจน เหนื่อยล้าอ่อนเพลีย วิตกกังวล และการเปลี่ยนแปลงของเวลา ควรพบแพทย์เพื่อเตรียมยาหรืออาจเพิ่มขนาดของยา ขึ้นกับความสามารถในการควบคุมโรค และไม่ควรเดินทางหลังจากชักหมดสติ อย่างน้อย 1 สัปดาห์
     
  11. โรคโลหิตจาง (Anemia)
    ร่างกายมีปริมาณเม็ดเลือดแดงน้อยกว่าปกติ ทำให้นำออกซิเจนไปยังเซลล์และเนื้อเยื่อต่างๆ ได้น้อยลง  ซึ่งเสี่ยงอันตรายจากภาวะพร่องออกซิเจนบนเครื่องบิน กรณีมีความเข้มข้ของฮีโมโกลบินต่ำกว่า 10 กรัม/เดซิลิตร ควรระมัดระวังเป็นพิเศษ และไม่ควรขึ้นเครื่องบินหากค่าฮีโมโกลบินน้อยกว่า 7.5 กรัม/เดซิลิตร
     
  12. โรคเบาหวาน (Diabetes)
    แม้สภาพภายในห้องโดยสารเครื่องบินจะไม่ส่งผลอันตรายต่อผู้ป่วยเบาหวาน แต่การบินข้ามเวลา อาจทำให้ผู้ป่วยสับสนในการรับประทานอาหารและยา  รวมถึงประเภทของอาหารที่อาจส่งผลกระทบต่อโรค ผู้ป่วยควรติดต่อขอให้สายการบินจัดเตรียมอาหารสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน และนำยาติดตัวขึ้นเครื่องบิน ทั้งยารับประทาน และยาฉีด พร้อมอุปกรณ์ สำหรับการรับประทานยาให้ยึดเวลาต้นทาง แล้วค่อย ๆ ปรับเปลี่ยนให้เข้ากับเวลาใหม่
     
  13. โรคทางจิตเวช (Psychiatric disorders)
    ก่อนเดินทางด้วยเครื่องบินต้องได้รับคำรับรองจากแพทย์ผู้ทำการรักษาว่าอาการสงบ เพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยและผู้โดยสารอื่น ๆ  แพทย์อาจสั่งยาระงับประสาทหรือยานอนหลับ สำหรับใช้ระหว่างการเดินทาง
     
  14. ผู้ป่วยผ่าตัด
    การผ่าตัดหรือการบาดเจ็บที่อาจมีอากาศหรือก๊าซหลงเหลืออยู่  เช่น การผ่าตัดช่องท้องและทางเดินอาหาร การผ่าตัดกะโหลกศีรษะและใบหน้า รวมถึงการผ่าตัดตาที่เกี่ยวข้องกับลูกตา ผู้ป่วยที่เพิ่งผ่านการผ่าตัด ควรปรึกษาแพทย์ผู้รักษา ว่าควรรอนานแค่ไหนก่อนที่จะเดินทางด้วยเครื่องบิน 

การเตรียมตัวก่อนขึ้นเครื่องบินระยะไกล

  • พักผ่อนให้เพียงพอ ก่อนวันเดินทาง  และหาโอกาสพักผ่อนระหว่างเที่ยวบินโดยการงีบสั้นๆ (น้อยกว่า 40 นาที) ก็ช่วยได้
  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ  
  • เลือกระยะเวลาการเดินทางที่เหมาะสม เช่น กรณีที่ใช้เวลาเดินทางนานกว่า 12 ชั่วโมง ควรเลือกใช้เที่ยวบินต่อ เพื่อให้ร่างกายค่อยๆ ปรับเวลา รวมถึงได้ออกไปยืดเส้นยืดสาย และผ่อนคลาย
  • เลือกเที่ยวบินที่สอดคล้องกับเวลานอน
  • เตรียมสิ่งของจำเป็นระหว่างเดินทางติดตัว โดยเฉพาะยารักษาโรคให้เพียงพอกับระยะเวลาบนเครื่องบิน
  • สวมเสื้อผ้าที่สบาย ไม่อึดอัด ขณะอยู่บนเครื่องบิน รวมถึงเตรียมชุดที่เหมาะกับสภาพอากาศปลายทาง
  • ตรวจเช็กสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ  หากมีโรคประจำตัวควรพบแพทย์เพื่อปรึกษา เพื่อเตรียมร่างกาย ยา และข้อควรปฏิบัติกรณีอาการกำเริบ หรือมีเหตุฉุกเฉิน
  • องค์การอนามัยโลกแนะนำให้ลุกขึ้นเดินไปรอบๆ ห้องโดยสารหรือไปเข้าห้องน้ำทุกๆ 2-3 ชั่วโมง ในระหว่างเที่ยวบินยาวๆ เพื่อลดภาวะภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำที่ขา  รวมถึงแนะนำว่าไม่ควรวางกระเป๋าถือไว้ในที่ที่จำกัดการเคลื่อนไหวของขาและเท้า  
  • กรณีมีภาวะเมาอากาศ  ควรขอที่นั่งตรงกลางห้องโดยสารและเก็บกระเป๋าที่มีอุปกรณ์แก้เมา เช่น ยารับประทาน ยาดม ไว้ในที่ที่หยิบได้ง่าย หรือ เก็บไว้ในแต่ละที่นั่งซึ่งสามารถเข้าถึงได้ง่าย  
  • รับประทานอาหารว่างแต่น้อย และจำกัดการบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ คาเฟอีน และหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารหนัก 4-6 ชั่วโมง ก่อนการนอนหลับบนเครื่องบิน
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอภายใน 24 ชั่วโมงหลังจากถึงปลายทาง การนอนหลับอย่างน้อย 4 ชั่วโมง ถือเป็นสิ่งจำเป็น เพื่อให้นาฬิกาภายในของร่างกายปรับให้เข้ากับเขตเวลาใหม่  

การเตรียมตัวขึ้นเครื่องบินระยะไกลสำหรับผู้ป่วย

  • ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว ควรพบแพทย์ก่อนเดินทาง  และเตรียมยาประจำตัวพกพาในกระเป๋าที่ถือขึ้นเครื่องบิน กรณี  ใช้ข้อเทียม ใส่เครื่องกระตุ้นหัวใจ หรือต้องมีเครื่องมือแพทย์ขึ้นเครื่อง ต้องมีใบรับรองแพทย์ติดตัว
  • ผู้ป่วยที่ต้องใช้ยาตามตารางเวลาที่เข้มงวด เช่น อินซูลินหรือยาคุมกำเนิด ควรขอคำแนะนำจากแพทย์ ก่อนการเดินทาง
  • ผู้พิการที่ต้องได้รับความช่วยเหลือระหว่างอยู่บนเครื่องควรมีผู้ร่วมเดินทางด้วย และแจ้งต่อสายการบินล่วงหน้า
  • ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาที่มีอาการคงที่ หรืออาจมีอาการทรุดลงระหว่างเดินทางต้องยื่นเอกสารขออนุมัติการเดินทางกับสายการบิน (MEDIF หรือ Medical Information Form) ก่อนจองที่นั่ง และควรระบุปริมาณออกซิเจนที่ต้องใช้บนเครื่องบิน รวมถึงหากต้องใช้อุปกรณ์ช่วยเหลืออื่นๆ   
  • เด็กแรกเกิดอายุต่ำกว่า 7 วัน และเด็กคลอดก่อนกำหนดต้องยื่น MEDIF เพื่อขออนุมัติการเดินทาง
  • สตรีมีครรภ์ที่ไม่มีปัญหาสุขภาพ  อายุครรภ์เกิน 28  สัปดาห์ต้องมีใบรับรองแพทย์บอกกำหนดการคลอด และรับรองความปลอดภัยในการเดิน และไม่ได้รับการอนุมัติให้ขึ้นเครื่องบินเมื่ออายุครรภ์เกิน 36 สัปดาห์ 

แหล่งที่มา สมิติเวช

ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่นๆ

Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY

ข่าวล่าสุด

ดูทั้งหมด

เหตุเครนถล่มวุ่น! คนงานปิดล้อมตร.-จนท. ไม่ให้นำศพออกจากจุดเกิดเหตุ

วุ่นนาน 3 ชม. คนงานไซต์ก่อสร้าง ไม่ยอมให้กู้ภัยนำร่างผู้เสียชีวิตเหตุ เครนถล่ม ออกจากพื้นที่ หวั่นไม่ได้รับเงินชดเชย ตามที่ร้องขอ

ด่วน! เครนยักษ์ ถล่มทับคนงาน เบื้องต้นมีรายงานการเสียชีวิต 6 ราย

ด่วน! เครนยักษ์ ถล่มทับคนงาน ไซด์งานก่อสร้าง ในโรงงานแห่งหนึ่ง ในจ.ระยอง เบื้องต้นมีรายงานการเสียชีวิต 6 ราย

ทัวร์ลงยับ! หนุ่มสงสัย หลังได้ใบสั่ง ‘ไม่จอดรถให้คนข้าม’ ลั่น ข้อหานี้มีด้วยเหรอ?

หนุ่มสงสัย! โพสต์โวยได้ใบสั่ง ‘ไม่จอดรถให้คนข้ามถนน’ แต่คดีพลิก เมื่อชาวเน็ตพาทัวร์ย้อนกลับ ไปสอบใบขับขี่มาจากไหน

เจ้าของร้านหมูกระทะ แจงดราม่า ใช้ไม้เรียวตีพนักงาน เป็นไปตามข้อตกลง

แขวะกลับแรง! เจ้าของร้านหมูกระทะ ย่านพัทยา แจงดราม่า ใช้ไม้เรียวตีพนักงาน พร้อมโพสต์เฟซฟาดชาวเน็ต อย่าตัดสินอะไรที่ยังไม่รู้จากปาก
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า