งาน มะเร็ง-อหิวาต์ นำ 4 นักวิจัยรับรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล 2561

ประกาศผลรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล 2561 งานด้านมะเร็งได้รับรางวัลสาขาการแพทย์ “ศ.ดรูเกอร์” ผู้คิดค้นยารักษามะเร็งเม็ดเลือดขาว “แมรี่ แคลร์ คิง” นักพันธุศาสตร์ผู้ค้นพบยีนมะเร็งเต้านม ส่วนรางวัลการสาธารณสุข นักวิจัยจาก 2 ชาติ ผู้พัฒนาวัคซีนอหิวาตกโรคชนิดกิน  ได้รับรางวัล เตรียมเข้ารับพระราชทานรางวัล ม.ค. 2562 นี้

วันนี้ (21 พ.ย.) ที่ รพ.ศิริราช น.ส.บุษฎี สันติพิทักษ์ อธิบดีกรมสารนิเทศ กระทรวงการต่างประเทศ ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการฝ่ายประชาสัมพันธ์ฯ มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ในพระบรมราชูปถัมภ์ แถลงผลการตัดสินผู้ได้รับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ครั้งที่ 27 ประจำปี 2561ว่า ปี 2561 มีผู้ได้รับเสนอชื่อเข้ารับพระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ทั้งสิ้น 49 รายจาก 25 ประเทศ คณะกรรมการมูลนิธิฯ ได้พิจารณาตัดสินผู้ได้รับพระราชทานรางวัล ดังนี้

ศ.นพ.ไบรอัน เจ. ดรูเกอร์ ศาสตราจารย์อายุรศาสตร์ และผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งไนท์ มหาวิทยาลัยการแพทย์และวิทยาศาสตร์แห่งโอเรกอน สหรัฐอเมริกา

1.สาขาการแพทย์ ได้แก่ ศ.นพ.ไบรอัน เจ. ดรูเกอร์ ศาสตราจารย์อายุรศาสตร์ และผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งไนท์ มหาวิทยาลัยการแพทย์และวิทยาศาสตร์แห่งโอเรกอน สหรัฐอเมริกา ซึ่งมีผลงานสำคัญในการศึกษาและค้นคว้าวิจัยยาต้นแบบของการรักษาโรคมะเร็งแบบมุ่งเป้า คือ อิมาตินิบ สำหรับการรักษาโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาวเรื้อรังชนิดซีเอ็มแอล ซึ่งจะไปยับยั้งโปรตีนมะเร็ง BCR-ABL ที่พบเฉพาะเซลล์ของผู้ป่วยซีเอ็มแอล ทำให้มีผลข้างเคียงการรักษาน้อย ผู้ป่วยที่ได้รับยาสม่ำเสมอสามารถลดความรุนแรง อัตราการตาย และความพิการจากโรคได้ หากไม่ได้รับยาจะเสียชีวิตภายใน 3 ปี

ศ.ดร.แมรี่ แคลร์ คิง ศาสตราจารย์เวชพันธุศาสตร์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา

น.ส.บุษฎี กล่าวว่า อีกท่านหนึ่ง คือ ศ.ดร.แมรี่ แคลร์ คิง ศาสตราจารย์เวชพันธุศาสตร์ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยวอชิงตัน สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นผู้ค้นพบยีนที่เป็นสาเหตุของโรคมะเร็งเต้านมที่พบบ่อยที่สุดในผู้หญิง ซึ่งมีผู้ป่วยใหม่ได้การวินิจฉัยมะเร็งเต้านมปีละกว่า 2 ล้านคน และเสียชีวิตจากโรคนี้มากถึง 2 แสนคน โดยตั้งชื่อยีนว่า BRCA1 เป้นครั้งแรกที่พิสูจน์ว่ามะเร็งที่พบได้บ่อยสามารถถ่ายทอดทางพันธุกรรม และยังพัฒนาการตรวจยีนมะเร็งด้วยเทคนิคใหม่สามารถนำไปใช้ได้ทั่วโลก ทำให้การตรวจหายีนมะเร็งมีราคาถูกจนคนเข้าถึงได้มาก ผู้ป่วยที่ได้รับการคัดกรองที่พบการกลายพันธุ์ของยีนได้รับการดูแลอย่างเหมาะสม รวดเร็วมากขึ้น ป้องกันการเสียชีวิต

ศ.นพ.จอห์น ดี. คลีเมนส์ ผู้อำนวยการบริหารศูนย์วิจัยโรคท้องร่วงนานาชาติ ประเทศบังกลาเทศ ศาสตราจารย์วุฒิคุณระบาดวิทยา ม.แคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา

น.ส.บุษฎี กล่าวว่า 2.สาขาการสาธารณสุข ได้แก่ ศ.นพ.จอห์น ดี. คลีเมนส์ ผู้อำนวยการบริหารศูนย์วิจัยโรคท้องร่วงนานาชาติ ประเทศบังกลาเทศ ศาสตราจารย์วุฒิคุณระบาดวิทยา ม.แคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา และ ศ.นพ.ยอน อาร์. โฮล์มเกรน ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งมหาวิทยาลัยโกเธนเบิร์ก ประเทศสวีเดน ซึ่งทั้งสองท่านทำงานร่วมกันกว่า 30 ปี ศึกษาค้นคว้าวิจัย และพัฒนาวัคซีนป้องกันอหิวาตกโรคชนิดกิน โดยได้รับการยอมรับจากองค์การอนามัยโลกว่า สามารถใช้วัคซีนชนิดกินแทนฉีดได้ และสนับสนุนคลังวัคซีนหลายประเทศที่มีความเสี่ยงต่อการระบาด ช่วยป้องกันโรคได้อย่างเป้นวงกว้าง ลดอัตราตายได้หลายล้านคนทั่วโลก

ศ.นพ.ยอน อาร์. โฮล์มเกรน ผู้อำนวยการสถาบันวัคซีนแห่งมหาวิทยาลัยโกเธนเบิร์ก ประเทศสวีเดน

น.ส.บุษฎี กล่าวว่า ในการนี้ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ แทนพระองค์ พระราชทานรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดล ประจำปี 2561 ในวันที่ 31 ม.ค. 2562 เวลา 17.30 น. ณ พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง โดยวันที่ 30 ม.ค. 2562 คณะแพทยศาสตร์ศิริราชฯ จะเชิญผู้ได้รับพระราชทานรางวัลมาเยือนและแสดงปาฐกถาเกียรติยศในผลงานที่ได้รับด้วย

ศ.นพ.วิจารณ์ พานิช ประธานคณะกรรมการรางวัลนานาชาติ มูลนิธิรางวัลสมเด็จเจ้าฟ้ามหิดลฯ กล่าวว่า สำหรับเกณฑ์ในการพิจารณาตัดสิน จะต้องมีผลงานหลักฐาน การค้นพบมีความหมาย เกิดประโยชน์และนำไปใช้ประโยชน์ต่อมนุษยชาติจำนวนมากทั่วโลก ซึ่งรางวัลด้านการแพทย์การพัฒนายาอิมาตินิบหรือมุ่งเป้า พบว่า หลังให้ยา 2 ปี ช่วยให้ปลอดอาการจากเซลล์มะเร็งทั้งหมด ผู้ป่วยมีอายุขัยเหมือนคนปกติ ส่วนการค้นพบยีนมะเร็งเต้านม ช่วยให้เกิดการคัดกรองและป้องกันการเสียชีวิตจากมะเร็งเต้านมได้จำนวนมาก ด้านการสาธารณสุข เรื่องวัคซีนอหิวาต์ชนิดกิน มีการส่งข้อมูลว่า ในภาวะวิกฤตฉุกเฉิน เช่น พายุถล่ม และไม่มีน้ำดื่มน้ำใช้ที่สะอาดพอ หรือสุขาภิบาลไม่ดีพอ เสี่ยงต่อการเกิดโรคนั้น วัคซีนดังกล่าวมีส่วนอย่างมากในการป้องกันเจ็บป่วยตายเป็นแสนล้านคน

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า