หนี้สินครัวเรือนปี’61 พุ่ง 5.8% ทะยานแตะ 3.16 แสนบาท

ม.หอการค้าไทย เผยหนี้สินครัวเรือนปี 2561 เพิ่มขึ้น 5.8% อยู่ที่เฉลี่ย 316,623 บาท/ครัวเรือน เหตุกู้เงิน “ใช้จ่ายทั่วไป-ซื้อรถยนต์-มอเตอร์ไซด์-ประกอบธุรกิจ”

เมื่อวันที่ 6 ธ.ค. นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยผลสำรวจสถานภาพหนี้ครัวเรือนไทยปี 2561 ซึ่งสำรวจจากกลุ่มตัวอย่างทั่วประเทศ 1,203 ตัวอย่าง ระหว่างวันที่ 19-28 พ.ย.2561 ว่า ครัวเรือนไทยมีหนี้สิน 316,623 บาท/ครัวเรือน ขยายตัว 5.8% เมื่อเทียบกับปี 2560 ที่ครัวเรือนไทยมีหนี้สินเฉลี่ย 299,266 บาท/ครัวเรือน

ทั้งนี้ หนี้สินดังกล่าวแบ่งเป็นหนี้ในระบบ 64.7% และหนี้นอกระบบ 35.3% โดยมีการผ่อนชำระ 15,925 บาท/เดือน แบ่งเป็น หนี้ในระบบ 17,114 บาท/เดือน และหนี้นอกระบบ 5,193 บาท/เดือน โดยสาเหตุที่ทำให้เป็นหนี้ อันดับแรก มาจากการหนี้เพื่อการใช้จ่ายทั่วไป รองลงมา คือ หนี้ซื้อยานพาหนะ (รถยนต์/รถจักรยานยนต์) หนี้เพื่อประกอบธุรกิจ/ประกอบอาชีพ หนี้จ่ายบัตรเครดิต และหนี้ซื้อบ้าน

ผลสำรวจพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ 86.8% ระบุว่าในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา เคยประสบปัญหาขาดการผ่อนชำระหนี้หรือผิดนัดการชำระหนี้ แต่มีเพียง 13.2% ที่ระบุว่า ไม่เคย ส่วนสาเหตุที่ทำให้มีปัญหาการชำระหนี้ อันดับแรก ระบุว่า เป็นเพราะเศรษฐกิจไม่ดี รองลงมา คือ รายได้ลดลง ,เป็นหนี้แบบทบต้นทบดอก ,ค่าครองชีพไม่สอดคล้องกับรายได้ ,สภาพคล่องของธุรกิจไม่ดี และราคาพืชผลเกษตรตกต่ำ

เมื่อสอบถามถึงลักษณะหนี้ที่มีอยู่ในปัจจุบัน ส่วนใหญ่ 48.3% ตอบว่า เป็นหนี้ก้อนเก่าทั้งหมด รองลงมา 38.7% ตอบว่า เป็นหนี้ทั้งก้อนเก่าและก้อนใหม่ และอีก 13% ตอบว่าเป็นหนี้ก้อนใหม่ทั้งหมด โดยหนี้ในระบบนั้น กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ตอบว่าเพิ่มขึ้นจากปี 2560 และในปี 2562 ก็จะยังเพิ่มขึ้นจากปีนี้ ส่วนหนี้นอกระบบ ส่วนใหญ่ตอบว่าเท่าเดิมเมื่อเทียบกับปี 2560 และในปี 2562 ก็จะยังคงเท่าเดิม

นอกจากนี้ กลุ่มตัวอย่างเห็นว่ารัฐบาลควรเข้ามาแก้ไขปัญหาหนี้ครัวเรือนของประชาชน ดังนี้ 1. ฟื้นฟูและกระตุ้นเศรษฐกิจ เพื่อให้การจ้างงานและสร้างรายได้ให้กับประชาชนและผู้ประกอบการ 2. ดูแลค่าครองชีพ และควบคุมระดับราคาสินค้าให้เหมาะสม 3. ดูแลเรื่องสวัสดิการประชาชนให้ครอบคลุม เช่น ค่ารักษาพยาบาล 4. แก้ปัญหาหนี้นอกระบบด้วยการลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้

5.แก้ปัญหาการว่างงาน และหาอาชีพเสริมเพื่อแก้ปัญหาความยากจน 6. จัดหาแหล่งเงินทุนในระบบที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำ รวมถึงลดข้อจำกัดในการเข้าถึงแหล่งทุนสำหรับประชาชนหรือผู้ประกอบการ 7. คัดสรรผู้ที่ควรมีสิทธิได้รับสวัสดิการแห่งรัฐที่แท้จริง และจัดการขึ้นทะเบียนคนจน

วันเดียวกัน ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจฯ ยังเปิดเผยผลสำรวจดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคในเดือน พ.ย.2561 พบว่าอยู่ที่ 80.5 ลดลงจาก 81.3 ในเดือน ต.ค.2561 โดยดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคปรับตัวลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 3 จากปัจจัยนักท่องเที่ยวจีนลดลง ความกังวลเกี่ยวกับสงครามการค้า ราคาสินค้าเกษตรส่วนใหญ่ยังทรงตัวในระดับต่ำ และผู้บริโภครู้สึกว่าเศรษฐกิจฟื้นตัวช้าและยังกระจุกตัว

ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจโดยรวมอยู่ที่ 67.5 ลดลงจาก 68.4 ในเดือนต.ค.2561 ดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับโอกาสการหางานทำอยู่ที่ 75.6 ลดลงจาก 76.5 ในเดือนต.ค.2561 และดัชนีความเชื่อมั่นเกี่ยวกับรายได้ในอนาคตอยู่ที่ 98.4 ลดลงจาก 99.0 ในเดือนต.ค.2561

นายธนวรรธน์ กล่าวว่า ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจฯ ประเมินว่า เศรษฐกิจไทยปีนี้จะเติบโตได้ 4.2% โดยไตรมาส 4 ปีนี้เศรษฐกิจมีโอกาสเติบโตที่ 3.5-4% ซึ่งได้อานิสงค์จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐในช่วงปลายปี เช่น มาตรการช้อปช่วยชาติ การท่องเที่ยวที่เริ่มกลับมาคึกคักขึ้นในช่วงไฮซีซั่น และราคาน้ำมันที่ต่ำกว่าลิตรละ 30 บาท ส่วน 2562 คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะเติบโต 4-4.5%

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า