AWN จ่ายค่าไลเซ่นส์คลื่น 1800 MHz งวดสุดท้าย

“ฐากร” เผย AWN จ่ายเงินค่าประมูลคลื่น 1800 MHz งวดสุดท้าย 10,963 ล้านบาทแล้ว เร่งนำส่งเงินเข้าคลัง ขณะที่กสทช.จับมือ “จุฬา” ตั้งศูนย์ทบสอบ 5G นาน 2 ปี 

เมื่อวันที่ 11 ธ.ค. นายฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า บริษัท แอดวานซ์ ไวร์เลส เน็ทเวอร์ค จำกัด (AWN) ผู้ชนะการประมูลคลื่นความถี่ 1800  MHz ได้นำเงินค่าประมูลงวดที่ 3 ซึ่งเป็นงวดสุดท้าย จำนวน 25% เป็นเงินทั้งสิ้น 10,963.755 ล้านบาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว) มาชำระให้สำนักงาน กสทช. แล้ว

ทั้งนี้ AWN เป็นผู้ชนะประมูลคลื่นความถี่สำหรับกิจการโทรคมนาคมย่าน 1800  MHz ช่วงความถี่ 1725-1740 MHz คู่กับ 1820-1835 MHz เมื่อปี 2558 ในราคาประมูลสูงสุด 40,986 ล้านบาท โดยก่อนหน้านี้ AWN ชำระค่าประมูลคลื่นความถี่มาแล้ว 2 งวด รวมเป็นเงิน 32,891.265 ล้านบาท (รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว) คิดเป็น 75% ของเงินค่าประมูลคลื่นความถี่ทั้งหมด

สำหรับเงินค่าประมูลดังกล่าว เมื่อหักค่าใช้จ่ายในการจัดการประมูลแล้ว สำนักงาน กสทช. จะรีบนำส่งกระทรวงการคลังเพื่อเป็นรายได้ของแผ่นดินต่อไป

นายฐากร ย้ำว่า สำนักงาน กสทช. ยังคงจะกำกับดูแลคุณภาพการบริการและอัตราค่าบริการของบริษัทฯ ให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดให้ประชาชนได้ใช้บริการที่มีคุณภาพในราคาที่เป็นธรรม

วันเดียวกัน สำนักงาน กสทช. ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ลงนามความร่วมมือทางวิชาการจัดตั้งศูนย์ทดลองทดสอบ 5G เพื่อเตรียมความพร้อมและรองรับการให้บริการโทรคมนาคม ตามแนวนโยบายรัฐบาลในการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ชาติผลักดันประเทศไทยเข้าสู่เทคโนโลยี 5G

นายฐากร กล่าวว่า จะมีการจัดตั้งศูนย์ทดสอบ 5G ภายในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นเวลา 2 ปี โดยจะดำเนินการศึกษา ทดสอบ และตรวจสอบความพร้อมของอุปกรณ์ ระบบ รวมถึงบริการที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี 5G ได้แก่ อุปกรณ์เชื่อมต่อ Internet of Things (IoT) ระบบการจัดเก็บและวิเคราะห์ข้อมูล Big Data ระบบขนส่งและจราจรอัจฉริยะ (ITS) ระบบสาธารณสุขทางไกล (Telehealth) เป็นต้น

“การให้บริการโทรคมนาคมในระบบ 5G เป็นอนาคตของการให้บริการโทรคมนาคมในประเทศไทยที่จะช่วยให้ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนดีขึ้น ซึ่งความร่วมมือระหว่างสำนักงาน กสทช. และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นการเตรียมความพร้อมการให้บริการโทรคมนาคม เพื่อเป็นการวางรากฐานที่เข้มแข็งและรองรับการเปลี่ยนแปลงในการเปลี่ยนผ่านประเทศไปสู่เทคโนโลยี 5G”นายฐากร กล่าว

ศ.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ อธิการบดี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ศูนย์ทดสอบแห่งนี้จะเป็นเวทีกลางในการทดสอบทดลอง 5G ในลักษณะ Open Platform ภายใต้ความร่วมมือกับผู้เกี่ยวข้องจากทุกภาคส่วน ทั้งผู้ผลิตอุปกรณ์ ผู้ให้บริการโทรคมนาคม ผู้ประกอบการ startup และสถาบันอุดมศึกษาต่างๆ ตลอดจนหน่วยงานวิจัยของรัฐ  เพื่อพัฒนาให้เกิดองค์ความรู้ของประเทศเกี่ยวกับ 5G

“ศูนย์จะมีบทบาท 3 ด้าน คือ การทดสอบทดลองและวิจัยเกี่ยวกับเทคโนโลยี การพัฒนาและทดสอบรูปแบบการใช้งาน (Use Case)  และการพัฒนาบุคลากรและองค์ความรู้”ศ.บัณฑิตกล่าว

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า