“พลังเงียบ” 57.9% ยังไม่ตัดสินใจ “จุดยืนการเมือง”

ซูเปอร์โพลเผยประชาชน 57.9% ระบุเป็นพลังเงียบยังไม่ตัดสินใจจุดยืนการเมือง ขณะที่คนกรุงเทพ-ต่างจังหวัดเกิน 30% เลือก “เพื่อไทย” รองลงมา “อนาคตใหม่”

เมื่อวันที่ 23 ธ.ค. ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการสำนักวิจัยซูเปอร์โพล (SUPER POLL) นำเสนอผลสำรวจภาคสนาม เรื่อง เกาะติดเสียงประชาชนคนจะเลือกตั้ง จำนวนทั้งสิ้น 1,094 คน โดยดำเนินโครงการระหว่าง 10 – 22 ธันวาคม พ.ศ. 2561 ที่ผ่านมา ปรากฎว่า

เมื่อถามถึงจุดยืนทางการเมืองของคนตอบแบบสอบถาม พบว่า เกินกว่า 1 ใน 4 หรือร้อยละ 28.8 สนับสนุนรัฐบาล ในขณะที่ร้อยละ 13.3 ไม่สนับสนุนรัฐบาล และร้อยละ 57.9 ระบุเป็นพลังเงียบ

และเมื่อจำแนกกลุ่มคนตอบแบบสอบถามออกเป็นคนมีสิทธิเลือกตั้งในกรุงเทพมหานครและคนมีสิทธิเลือกตั้งในต่างจังหวัด พบว่า คนมีสิทธิเลือกตั้งในกรุงเทพมหานครร้อยละ 29.2 สนับสนุนรัฐบาล เทียบกับคนมีสิทธิเลือกตั้งในต่างจังหวัดร้อยละ 28.6 ที่สนับสนุนรัฐบาล ในขณะที่ร้อยละ 11.7 ของคนมีสิทธิเลือกตั้งในกรุงเทพมหานครไม่สนับสนุนรัฐบาล เทียบกับคนมีสิทธิเลือกตั้งในต่างจังหวัดร้อยละ 14.2 ไม่สนับสนุนรัฐบาล

นอกจากนี้ ส่วนใหญ่ทั้งคนมีสิทธิเลือกตั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด คือ ร้อยละ 59.1 และร้อยละ 57.2 ระบุเป็นพลังเงียบ ยังไม่ตัดสินใจจุดยืนการเมือง

ที่น่าสนใจคือ พรรคการเมืองที่คนตอบแบบสอบถามจะเลือก ถ้าวันนี้เป็นวันเลือกตั้ง พบว่า ร้อยละ 38.3 ระบุจะเลือกพรรคเพื่อไทย รองลงมาคือร้อยละ 24.4 จะเลือกพรรคอนาคตใหม่ และร้อยละ 22.8 จะเลือกพรรคประชาธิปัตย์ มีเพียงร้อยละ 4.7 เท่านั้นจะเลือกพรรคพลังประชารัฐ และร้อยละ 9.8 จะเลือกพรรคอื่น ๆ

และที่น่าพิจารณา คือ เมื่อจำแนกออกเป็นกลุ่ม ๆ คือ กลุ่มคนมีสิทธิเลือกตั้งในกรุงเทพมหานคร และกลุ่มคนมีสิทธิเลือกตั้งในต่างจังหวัด พบว่า ทั้งคนกรุงเทพมหานคร และคนต่างจังหวัด ตั้งใจจะเลือกพรรคเพื่อไทย สูงกว่าทุกพรรค คือ คนกรุงเทพมหานครร้อยละ 31.9 จะเลือกพรรคเพื่อไทย ร้อยละ 42.1 ของคนต่างจังหวัดจะเลือกพรรคเพื่อไทยเช่นกัน

ในขณะที่คนกรุงเทพมหานคร ร้อยละ 27.8 และคนต่างจังหวัดร้อยละ 19.8 จะเลือกพรรคประชาธิปัตย์ และที่น่าพิจารณา คือ พรรคอนาคตใหม่ พบคนตอบแบบสอบถามที่มีสิทธิเลือกตั้งในกรุงเทพมหานครร้อยละ 29.2 จะเลือกพรรคอนาคตใหม่ และร้อยละ 21.5 ของคนตอบที่มีสิทธิเลือกตั้งในต่างจังหวัดจะเลือกพรรคอนาคตใหม่

ผอ.สำนักวิจัย ซูเปอร์โพล (SUPER POLL) กล่าวว่า จากการวิเคราะห์ด้วยการใช้หลัก Net Assessment เกาะติดเสียงของประชาชนชี้ให้เห็นว่า ประชาชนคนไทยอยู่กับข้อมูลข่าวสารที่แพร่กระจายอย่างรวดเร็วในยุค Super Digital ประชาชนแต่ละคนสามารถเป็นทั้งเครื่องรับและเครื่องส่งสัญญาณมีพลังตอบโต้ทางความคิด ทัศนคติ และพฤติกรรม ออกสื่อของตนเองได้

ดังนั้น จุดต้องปรับแก้ของบางพรรคการเมืองฝ่ายรัฐบาลคือ อย่าเอารัดเอาเปรียบพรรคการเมืองอื่น อย่าใช้อำนาจรัฐและงบประมาณรัฐแสวงหาผลประโยชน์เอาเปรียบคู่แข่งทางการเมืองเพราะรัฐบาลปัจจุบันและ คสช. เข้ามาด้วยการสนับสนุนจาก สาธารณชน ว่าเป็นกลางทางการเมืองเข้ามาด้วยจิตอาสาเสียสละเพื่อรักษาชาติบ้านเมืองและประชาชนไม่ให้เกิดการสูญเสีย

ดร.นพดล กล่าวต่อว่า คำถาม คือ คนมีอำนาจคิดทำอะไรตอนนี้มีข้อมูลแม่นยำเข้าถึงประชาชนดีแล้วหรือ เพราะเป็นห่วงว่า ฐานสนับสนุนของรัฐบาลและ คสช. ที่เคยได้รับมากกว่าร้อยละ 80 ในตำรามติมหาชน (Public Opinion) ถือว่า ตอนนั้น คิดทำอะไรย่อมได้รับการสนับสนุนจากสาธารณชนจนฝ่ายตรงข้ามทำอะไรไม่ได้ แต่วันนี้ฐานสนับสนุนลดลงอยู่ในขอบเขตที่ล่อแหลมอาจเพลี่ยงพล้ำได้ แรงเสียดทานจึงเกิดขึ้นเกือบทุกสิ่งที่คิดทำ

“คนของพรรคการเมืองใดในรัฐบาลควรลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีและตำแหน่งกรรมการยุทธศาสตร์ชาติด้วยเพราะอาจถูกมองว่าจะมาคุมรัฐบาลจากการเลือกตั้ง ถ้าฝืนทำแบบนี้ต่อไป น่าเป็นห่วงอย่างยิ่งว่า จะเหนื่อยเปล่าและอาจจะสูญเสีย “แก่นสาร” หรือ ภาษาปรัชญาเรียกว่า สารัตถะ เมื่อความมั่นคงของชาติบ้านเมืองสั่นคลอน และจะเหนื่อยกันอีกหลายเท่าตัว”ดร.นพดลระบุ

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า