สนช.รับหลักการร่างกม.กำจัด “ขยะอิเล็กทรอนิกส์” ทิ้งไม่ถูกที่คุก 6 เดือน ปรับ 5 หมื่น

สนช. มีมติ 170 เสียงผ่านร่างกม.จัดการซากเครื่องใช้ไฟฟ้า-อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ วาระแรก หากพบผู้ใดทิ้งซากไม่ถูกที่ มีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน ปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท พร้อมห้าม “ซาเล้ง-คนรับซื้อของเก่า” เก็บขยะอิเล็กทรอนิกส์ ฝ่าฝืนจำคุกไม่เกิน  1 ปี ปรับไม่เกิน 1 แสนบาท  

เมื่อวันที่ 11 ม.ค. ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีมติเห็นชอบร่างพ.ร.บ.การจัดการซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ…..วาระแรก ด้วยคะแนนเสียงเห็นชอบ 170 เสียง ไม่เห็นชอบ 0 เสียง และงดออกเสียง 2 เสียง พร้อมทั้งมีมติแต่งตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญเพื่อพิจารณาร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ จำนวน 21 คน กำหนดแปรญัตติภายใน 7 วัน และระยะเวลาการดำเนินงาน 45 วัน

สำหรับสาระสำคัญของร่างพ.ร.บ.นี้ เช่น มาตรา 7 ระบุว่า ห้ามมิให้ผู้ใดทิ้งซากผลิตภัณฑ์ในที่สาธารณะ ที่รกร้างว่างเปล่า หรือทิ้งปนอยู่กับสิ่งปฏิกูลและมูลฝอย และมาตรา 8 ระบุว่า ห้ามมิให้ผู้ใดถอดแยกชิ้นส่วนของซากผลิตภัณฑ์ เว้นแต่เป็นการถอดแยกและประกอบกลับเข้าตามเดิม , การซ่อมแซมเพื่อนำกลับมาใช้ซ้ำ การดำเนินการเพื่อการศึกษาฯ ,การดำเนินการของโรงงานที่ได้รับอนุญาต และการดำเนินการในลักษณะที่อธิบดีประกาศกำหนด

ทั้งนี้ หากกรณีผู้ใดฝ่าฝืน มาตรา 7 และมาตรา 8 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 5 หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

นอกจากนี้ มาตรา 9 วรรคแรก ระบุว่า ห้ามมิให้ผู้ใด รับคืบ จัดเก็บ หรือรวบรวมซากผลิตภัณฑ์ เว้นแต่จะจัดทำโดยศูนย์รับคืนซากผลิตภัณฑ์  หากผู้ใดต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน หรือปรับไม่เกิน 1 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

ขณะที่มาตรา 10-18 กำหนดให้ผู้ผลิตมีหน้าที่รับคืน จัดเก็บ และรวบรวมซากผลิตภัณฑ์ประเภทเดียวกัน ไม่ว่าจะเป็นของผู้ผลิตรายใด รวมทั้งซากผลิตภัณฑ์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ จากนั้นให้ผู้ผลิตจัดทำแผนในการจัดการซากผลิตภัณฑ์เสนอกรมควบคุมมลพิษ และดำเนินการจัดการซากผลิตภัณฑ์ตามแผน พร้อมทั้งจัดตั้งศูนย์รับคืนซากผลิตภัณฑ์ พร้อมทั้งจัดทำรายงานชนิดและปริมาณซากผลิตภัณฑ์ที่นำส่งโรงงานด้วย

สำหรับ “ผู้ผลิต” หมายความว่า ผู้ซึ่งเป็นเจ้าของยี่ห้อหรือเครื่องหมายการค้าบนผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ หากไม่มียี่ห้อหรือเครื่องหมายการค้าบนผลิตภัณฑ์ ให้ถือว่าผู้ที่มีชื่อบนฉลากเป็นผู้ผลิต หากไม่มียี่ห้อหรือเครื่องหมายการค้าบนผลิตภัณฑ์ หรือชื่อบนฉลาก ให้ถือว่าผู้ประดิษฐ์ ประกอบ หรือการทำด้วยวิธีใดเพื่อให้ได้มาซึ่งผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเป็นผู้ผลิต ซึ่งให้หมายรวมถึงผู้นำเข้าหรือสั่งเข้ามาจำหน่ายด้วย

ส่วนเหตุผลที่ต้องตรากฎหมายฉบับนี้ เนื่องจากปัจจุบันไทยยังไม่มีมาตรการการจัดเก็บ รวบรวม และกำจัดซากผลิตภัณฑ์เครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่างเป็นระบบ ทำให้ประชาชนทิ้งซากผลิตภัณฑ์ดังกล่าวปนอยู่กับสิ่งปฏิกูลและขยะมูลฝอย หรือขายให้กับผู้รับซื้อของเก่า ขณะที่การจัดการซากผลิตภัณฑ์ที่ไม่ถูกวิธี เช่น การถอดแยกชิ้นส่วนทำให้เกิดการรั่วไหลของสารพิษต่างๆออกไปยังสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นอันตรายในระยะสั้น และสะสมตกค้างในระยะยาว

ดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีกลไกในการควบคุมการจัดการซากผลิตภัณฑ์ให้เป็นระบบและถูกต้องตามหลักวิชาการ จะป้องกันมิให้เกิดการรั่วไหลของโลหะหนักและสารพิษไปสู่สิ่งแวดล้อม ซึ่งจะเป็นการรักษาสุขภาพของประชาชน

รายงานข่าวระบุว่า ที่ประชุมสนช.ได้อภิปรายร่างกฎหมายฉบับนี้ จะมีผลกระทบต้อผู้ประกอบรับซื้อของเก่า และ อาจจะทำให้ผู้ผลิตย้ายฐานการผลิตจากไทยไปประเทศอื่น

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า