ธนาคารไม่รับขึ้นเงิน “เช็คแก้ไขข้อความ” เริ่ม 1 ก.พ.นี้

ธนาคารดีเดย์ไม่รับการขึ้นเงิน “เช็ค” ที่มีการแก้ไขข้อความ เริ่ม 1 ก.พ.นี้ หวังป้องกันทุจริต ขณะที่ธปท.-สมาคมธนาคารไทย ออกข้อแนะนำการใช้เช็ค

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากกรณีที่นายอามิตร จาวลา อายุ 33 ปี ผู้จัดการทั่วไป ร้านอุปกรณ์เสริมสวย และผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับเส้นผม “วิน ซาลอนเน่” ตลาดวโรรส จ.เชียงใหม่ ถูกอดีตพนักงานบัญชีปลอมแปลงเช็ค 63 ใบ และนำไปขึ้นเงินจากธนาคาร 4 แห่ง มูลค่าความเสียหายกว่า 8 ล้านบาท โดยเช็คดังกล่าวเป็นเช็คที่มีการแก้ไขข้อความ

ล่าสุดมีการตั้งข้อสงสัยว่า พนักงานของธนาคารที่เกี่ยวข้องปล่อยให้มีการขึ้นเงินเช็คดังกล่าวได้อย่างไร เนื่องจากก่อนหน้านี้ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และสมาคมธนาคารไทย ได้ออกประกาศเตือนทุกธนาคาร ให้หลีกเลี่ยงการสั่งจ่ายเช็คที่มีการแก้ไขข้อความ และธนาคารบางแห่งได้ออกประกาศเกี่ยวกับข้อปฏิบัติการขึ้นเช็คที่มีการแก้ไขข้อความ

ทั้งนี้ เมื่อเดือนพ.ย.ที่ผ่านมา ธนาคารแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย ออกประกาศสำหรับลูกค้าผู้ใช้บริการเช็ค ว่า ปัจจุบันสถิติการทุจริตจากการใช้เช็คในประเทศไทยมีอยู่พอสมควร อันเป็นผลให้เกิดความเสียหายต่อลูกค้าและธนาคาร เพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยงดังกล่าว ธนาคารจึงใคร่ขอความอนุเคราะห์ให้ผู้สั่งจ่ายเช็คโปรดสั่งจ่ายเช็คด้วยความระมัดระวัง โดยหลีกเลี่ยงการแก้ไขข้อความ ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ก.พ. 2562 เป็นต้นไป หากลูกค้าผู้ทรงเช็คได้รับเช็คที่มีการแก้ไขข้อความ ให้นำฝากเฉพาะที่ธนาคารเจ้าของเช็คเท่านั้น

ประกาศดังกล่าวยังมีข้อแนะนำในการใช้เช็ค คือ 1.กรณีที่เป็นผู้สั่งจ่ายเช็ค ให้ระมัดระวังในการเขียนเช็ค โดยไม่แก้ไขข้อความ/ตัวเลขบนหน้าเช็ค เพื่อป้องกันการทุจริตจากการปลอมแปลงข้อมูล รวมทั้งเก็บรักษาเช็คให้อยู่ในที่ปลอดภัยและต้องแจ้งธนาคารทันทีเมื่อทราบว่าเช็คหาย

และ2.กรณีเป็นลูกค้าผู้ทรงเช็ค ให้ตรวจสอบทุกครั้งที่มีการรับเช็ค โดยไม่รับเช็คที่มีการแก้ไขข้อความ/ตัวเลข, หากได้รับเช็คที่มีการแก้ไขข้อความ/ตัวเลข ให้นำไปให้ผู้สั่งจ่ายเปลี่ยนเช็คใหม่ หรือ ให้นำไปขึ้นเงินที่ธนาคารเจ้าของเช็คเท่านั้น และไม่ควรพับเช็คหรือทำให้เช็คชำรุด เพราะจะทำให้เช็คไม่สามารถเข้าสู่กระบวนการเรียกเก็บได้ หากมีข้อสงสัยเกี่ยวกับเช็คคืน โปรดติดต่อสาขาของธนาคารเจ้าของเช็ค

นอกจากนี้ ในใบคำขอซื้อเช็ค นับจากนี้จะระบุข้อความว่า “การสั่งจ่ายเช็คต้องไม่มีการแก้ไข หากมีการแก้ไขธนาคารผู้จ่ายมีสิทธิปฏิเสธการจ่ายเงินได้” อีกด้วย

สำหรับการยกเลิกการแลกเปลี่ยน “เช็คกลุ่มพิเศษ” โดยเฉพาะเช็คที่มีการแก้ไขข้อความ เช็คตราประทับ เช็คมูลค่าสูง รวมทั้งตั๋วแลกเงิน เช็คชำรุดที่ไม่สามารถกราดภาพได้ และเช็คสงสัยจะปลอม สำหรับการเรียกเก็บเงินตามเช็คระหว่างธนาคารผ่านระบบการหักบัญชีเช็คด้วยภาพเช็คและระบบการจัดเก็บภาพเช็ค (Imaged Cheque Clearing and Archive System หรือ ICAS) ธปท.ได้หารือกับผู้เกี่ยวข้องมานานกว่า 1 ปี และได้ข้อยุติเมื่อเดือนก.ย.ปีที่แล้ว

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า