คกก.คัดเลือกนัดกลุ่มซีพี เจรจาเงื่อนไขสัญญา “ไฮสปีดเทรน” 25 ม.ค.นี้

คณะกรรมการคัดเลือกฯ นัดกลุ่มซีพี เจรจาเงื่อนไขสัญญารถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน 25 ม.ค.นี้ หลังรับข้อเสนอพิเศษ 3 ประเด็น ยันรัฐบาลไม่เคยการันตีรายได้ให้กลุ่มซีพี แม้โครงการมีความเสี่ยงสูง  

เมื่อวันที่ 18 ม.ค. นายวรวุฒิ มาลา รักษาการผู้ว่าการ การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ในฐานะประธานคณะกรรมการคัดเลือกเอกชนร่วมลงทุนโครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน มูลค่า 2.24 แสนล้านบาท เปิดเผยว่า วันนี้ คณะกรรมการฯได้เชิญตัวแทนของกิจการร่วมค้า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์ โฮลดิ้ง จำกัด หรือกลุ่มซีพีและพันธมิตร ซึ่งเสนอราคาประมูลโครงการฯต่ำสุด เข้ามาชี้แจงเพิ่มเติมและเจรจาเกี่ยวกับการรับข้อเสนอซอง 4 หรือซองพิเศษ

ทั้งนี้ คณะกรรมการฯรับฟังการชี้แจงของกลุ่มซีพีฯแล้ว และเห็นควรให้รับข้อเสนอพิเศษ 3 ประเด็นจากที่เสนอมาทั้งหมด 11 ประเด็น ขณะที่ 1 ใน 3 ข้อเสนอพิเศษที่คณะกรรมการฯรับไว้ ได้แก่ การจัดตั้งศูนย์ความเป็นเลิศของระบบราง แต่เป็นการรับไว้อย่างมีเงื่อนไข เพราะการดำเนินการดังกล่าวต้องได้รับความร่วมมือจาก รฟท.ด้วย เนื่องจากเอกชนไม่สามารถดำเนินการเพียงฝ่ายเดียวได้

ส่วนข้อเสนอ 8 ประเด็นที่ไม่รับนั้น เนื่องจากไม่ได้เกี่ยวข้องกับการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินโครงการ แต่หากหน่วยงานที่มีอำนาจ เช่น สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (สำนักงานอีอีซี) และคณะรัฐมนตรี (ครม.) เห็นว่าเป็นประโยชน์และทำให้โครงการอยู่รอด ก็สามารถเจรจาและรับข้อเสนอเพิ่มเติมจากกลุ่มซีพีและพันธมิตรได้

“วันนี้ถือว่าการเจรจารับข้อเสนอซองพิเศษจบแล้ว หลังจากนี้ไปจะเข้าสู่ขั้นตอนการเจรจาเพื่อทำสัญญา ซึ่งคณะกรรมการฯจะทำหนังสือแจ้งไปยังกลุ่มซีพีอย่างเป็นทางการในวันที่ 21 ม.ค.นี้ และจะนัดเจรจาอย่างเป็นทางการในวันที่ 25 ม.ค.นี้ ทำให้เป้าหมายการลงนามสัญญากับกลุ่มซีพี ที่กำหนดไว้ว่าจะเป็นภายในวันที่ 31 ม.ค.นี้ จะต้องเลื่อนออกไป ซึ่งจะมีการแจ้งเรื่องนี้ให้รัฐบาลรับทราบเหตุผลต่อไป”นายวรวุฒิกล่าว

นายวรวุฒิ กล่าวว่า สำหรับกรอบการเจรจาเงื่อนไขสัญญานั้น คณะกรรมการฯแบ่งเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ 1.กลุ่มข้อเสนอที่อยู่นอกกรอบอำนาจคณะกรรมการ 2.กลุ่มข้อเสนอที่ไม่เป็นไปตามทีโออาร์ 3.กลุ่มข้อเสนอที่มีผลต่อรัฐบาลและ รฟท. และ4.กลุ่มข้อเสนอที่เจรจาได้ง่าย

สำหรับข้อเสนอของกลุ่มซีพีที่เสนอขอขยายแนวเส้นทาง เช่น ขยายเส้นทางจากสนามบินอู่ตะเภาไปถึงจ.ระยอง และขยายแนวเส้นทางจากแปดริ้ว จ.ฉะเชิงเทรา เชื่อมไปยังโครงการรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน ช่วงแก่งคอย รวมถึงการย้ายสถานนีนั้น ตรงนี้ยังเป็นเรื่องอนาคต แต่จะมีการเขียนเงื่อนไขในสัญญาเพื่อเปิดช่องให้มีการเจรจากันได้ เนื่องจากสัมปทานที่มีอายุนานถึง 50 ปี ทุกอย่างมีการเปลี่ยนแปลงได้ แต่ยังไม่ใช่ตอนนี้

นายวรวุฒิ ยังระบุว่า กลุ่มซีพีพยายามยื่นข้อเสนอต่างๆ เพื่อลดความเสี่ยงของโครงการ เพราะเห็นว่าแม้ว่าโครงการจะมีความเป็นไปได้ แต่ก็มีความเสี่ยงสูงเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นกรณีเหล็กขาดแคลนหรือเหล็กขึ้นราคา ปริมาณผู้โดยสารไม่เป็นไปตามเป้า และความเสี่ยงในเรื่องอัตราดอกเบี้ย อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่าที่ผ่านมารัฐบาลไม่ได้มีการการันตีรายได้ให้กับเอกชนอย่างที่เป็นข่าว และแม้ว่ากลุ่มซีพีนจะเสนอมาก็รับไม่ได้ เพราะอยู่นอกเหนือทีโออาร์

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า