ครม.ไฟเขียวทุ่ม 1.06 แสนล้าน พัฒนาเศรษฐกิจภาคใต้

ครม.เห็นชอบแผนพัฒนาโครงการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ 1.06 แสนล้านบาท พร้อมอนุมัติงบกลาง 448 ล้านบาท ลงทุนโครงการระยะเร่งด่วน

เมื่อวันที่ 22 ม.ค. นายณัฐพร จาตุศรีพิทักษ์ ที่ปรึกษารัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบหลักการผลการศึกษาความเหมาะสมและรายละเอียดของรูปแบบการพัฒนาพื้นที่ จ.ชุมพร-ระนอง และพื้นที่ จ.สุราษฎร์ธานี-นครศรีธรรมราช หรือโครงการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ (Southern Economic Corridor หรือ SEC) ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)

สำหรับโครงการพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ จะอยู่ภายใต้กรอบการพัฒนา4 ด้าน ได้แก่ 1.การพัฒนาประตูการค้าฝั่งตะวันตก 2.การพัฒนาประตูสู่การท่องเที่ยวอ่าวไทยและอันดามัน 3.การพัฒนาอุตสาหกรรมฐานชีวภาพและการแปรรูปการเกษตรมูลค่าสูง และ4.การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ การส่งเสริมวัฒนธรรม และการพัฒนาเมืองน่าอยู่ ซึ่งประกอบด้วย 116 โครงการ กรอบวงเงิน 106,790 ล้านบาท ระยะเวลาดำเนินการ 4 ปี หรือปี 2562-2565

นายณัฐพร กล่าวว่า ที่ประชุมครม.ยังอนุมัติงบกลาง ปีงบ 2562 เพื่อดำเนินโครงการจำเป็นเร่งด่วน (Quick – win) รวม 5 โครงการ วงเงิน 448 ล้านบาท ประกอบด้วย 1.โครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวบนเกาะพยาม จ.ระนอง วงเงิน 132.8 ล้านบาท 2.โครงการป่าชายเลนระนองสู่มรดกโลก วงเงิน 88.5 ล้านบาท 3.โครงการสนับสนุนการแปรรูปสมุนไพรแบบครบวงจร จ.ชุมพร และสุราษฎร์ธานี วงเงิน 194.6 ล้านบาท

4.โครงเฝ้าระวังภาวะฉุกเฉิน เพื่อเตรียมความพร้อมในการสร้างความเข้มแข็งด้านบริการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุ สู่ไทยแลนด์ 4.0 ของเทศบาลเมืองชุมพร วงเงิน 12.6 ล้านบาท และ5.โครงการศึกษาการจัดตั้งศูนย์ความเชี่ยวชาญการวิจัยเชิงพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ ของ จ.ชุมพร ระนอง สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช วงเงิน 20 ล้านบาท ส่วนการดำเนินการโครงการที่เหลืออีก 111 โครงการ ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องขอรับการจัดสรรงบประมาณต่อไป

“การพัฒนาพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคใต้ จะทำให้เศรษฐกิจในพื้นที่ขยายตัวเฉลี่ยปีละ 5% ในช่วง 10 ปีแรก และจะมีนักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 1.2 ล้านคน/ปี มีการลงทุนอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น 2 แสนล้านบาทในช่วง 10 ปีแรก ขณะที่การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานและโลจิสติกส์ต่างๆ จะลดเวลาการขนส่งสินค้าทางเรือจากไทย คือ ท่าเรือระนองไปยังท่าเรือเชนไนของอินเดียเหลือเพียง 4-7 วัน จากเดิมที่ต้องขนส่งผ่านท่าเรือแหลมฉบัง ซึ่งใช้เวลา 9-15 วัน”นายณัฐพรกล่าว

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า