กรมฝนหลวงฯขึ้นบิน “ทำฝน-ก่อเมฆ” สลายฝุ่น PM2.5

กรมฝนหลวงฯออกปฏิบัติการทำฝนหลวง 2 แนว หวัง “ทำฝน-ก่อเมฆ” สลายฝุ่นละออง PM 2.5 ในกรุงเทพ-ปริมณฑล

เมื่อวันที่ 1 ก.พ. นายสุรสีห์ กิตติมณฑล อธิบดีกรมฝนหลวงและการบินเกษตร เปิดเผยว่า เมื่อเวลา 7.00 น.วันนี้ สถานีเรดาร์ 3 แห่ง คือ สถานีเรดาร์สัตหีบ จ.ระยอง ,สถานีเรดาร์ตาคลี จ.นครสวรรค์ และสถานีเรดาร์เคลื่อนที่ อ.โพธาราม สนามบินราชบุรี ได้การปล่อยบอลลูนตรวจสภาพอากาศชั้นบน เพื่อนำผลการตรวจสอบสภาพอากาศมาทำการวิเคราะห์ก่อนนำเครื่องบินขึ้นปฏิบัติการทำฝนหลวง เพื่อสลายฝุ่นละอองในอากาศ PM2.5

ทั้งนี้ สถานีเรดาร์สัตหีบตรวจพบว่าความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศที่ระดับความสูง 5,000-10,000 ฟุต อยู่ที่ 60% ซึ่งเข้าเงื่อนไขปฏิบัติการฝนหลงขั้นตอนที่หนึ่ง ขณะที่ค่าดัชนียกตัวของมวลอากาศมีระดับดี -2.1 ทำให้มีโอกาสก่อเมฆ ดังนั้น เมื่อเวลา 10.30 น. หน่วยฝนหลวงเคลื่อนที่เร็ว จ.ระยอง ได้ขึ้นบินตามแนวทิศเหนือ อ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา ไปที่ อ.องค์รักษ์ จ.นครนายก โดยโปรยสารสร้างก่อเมฆเพื่อสร้างเมฆให้ได้มากที่สุด ก่อนที่จะไหลเข้าในเขตกรุงเทพฯ

“เราจะสร้างเมฆให้มากที่สุดเท่าที่จะมากได้ เพื่อให้เมฆเหล่านี้ไหลเข้าไปในกรุงเทพฯ หากเป็นเมฆฝนได้ก็น่าจะดีที่สุด เพราะฝนที่ได้จะตกลงมาชะล้างฝุ่นละอองในอากาศได้มาก แต่หากไม่เป็นฝนแล้วเกิดเป็นเมฆมากๆ ซึ่งเมฆดังกล่าวจะมีความชื้นในตัวมันเอง 100% เม็ดน้ำเหล่านี้ก็ช่วยดูดซับฝุ่นละอองในอากาศได้ในระดับหนึ่ง”นายสุรสีห์กล่าว

นายสุรสีห์ กล่าวว่า สำหรับที่สถานีเรดาร์เคลื่อนที่ อ.โพธาราม ตรวจพบว่าค่าความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศ 58% ใกล้เคียง 60% และค่ายกตัวของมวลอากาศมีระดับ -3 กรมฝนหลวงฯ จึงตัดสินใจบินปฏิบัติการสร้างแนวแกนก่อเมฆ บริเวณทางทิศเหนือ อ.กำแพงแสน จ.นครปฐม ไปทางอ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี เพื่อให้แนวเมฆจาก จ.นครปฐม และราชบุรี จะได้เข้าไปช่วยเหลือแถบบริเวณฝั่งตะวันตกกรุงเทพ

อย่างไรก็ตาม ในส่วนสถานีเรดาร์ ตาคลี จ.นครสวรรค์ พบว่าสภาพอากาศไม่เหมาะสม และยากต่อการขึ้นบินปฏิบัติการฝนหลวงให้ประสบความสำเร็จ กรมฝนหลวงฯจึงขอติดตามสถานการณ์ต่อไป

“เราจะสร้างเมฆให้มากที่สุดและปล่อยลอยมาเขตกรุงเทพและปริมณฑล เพื่อดูดซับฝุ่นละอองในอากาศเข้าใต้ฐานเมฆเท่าที่จะมากได้ เพราะหากมีเมฆมากๆ ก็จะเปรียบเสมือนเครื่องดูดควัน ที่จะดูดอนุภาคและฝุ่นละออกขนาดเล็กขึ้นไป โดยเมื่อวานนี้ (31 ม.ค.) กรมฝนหลวงฯได้ปฏิบัติการสร้างเมฆตามสมมุติฐานนี้ และตรวจพบว่าในพื้นที่มีกลุ่มเมฆมากสภาพอากาศเจือจางดีขึ้น”นายสุรสีห์กล่าว

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า