กกพ.ตั้งโต๊ะซื้อ “โซล่าร์ภาคประชาชน” พ.ค.นี้-ให้ราคายูนิตละ 1.68 บาท

“พลังงาน” แจงแผนรับซื้อไฟฟ้าโซลาร์เซลล์ 12,725 MW ในอีก 18 ปีข้างหน้า ขณะที่ กกพ.เตรียมเปิดรับข้อเสนอโซลาร์ภาคประชาชน 100 MW เดือนพ.ค.นี้ คาดทำสัญญาต.ค.62 กำหนดราคารับซื้อหน่วยละ 1.68 บาท

เมื่อวันที่ 13 มี.ค. นายศิริ จิระพงษ์พันธ์ รมว.พลังงาน เปิดเผยว่าในการประชุมร่วมกับผู้ประกอบการผลิตและจำหน่ายแผงโซล่าเซลล์กว่า 50 ราย เรื่อง “นโยบายการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์” ว่า กระทรวงพลังงานมีเป้าหมายผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์เพิ่มขึ้น 12,725 MW ในอีก 18 ปีข้างหน้า แบ่งเป็นโซลาร์ภาคประชาชน 10,000 MW และโครงการผลิตไฟฟ้าเซลล์แสงอาทิตย์บนทุ่นลอยน้ำ ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย 2,725 MW

อย่างไรก็ตาม ได้มีการมอบหมายให้คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) พิจารณากำหนดหลักเกณฑ์ในกรณีการไฟฟ้ารับซื้อไฟฟ้าส่วนที่เหลือจากที่ใช้เองจากครัวเรือนต่างๆ

ทั้งนี้ ณ เดือนธ.ค.2561 ไทยมีการติดตั้งโซลาร์เซลล์แล้ว 3,449 MW ประกอบด้วย solar farm, solar PV rooftop และโครงการต่างๆของภาครัฐ ขณะที่กระทรวงพลังงานมีการส่งเสริมและสนับสนุนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ติดตั้งไปแล้ว 3,250 MW จากเป้าหมายการผลิตไฟฟ้าพลังงานจากแสงอาทิตย์ 6,000 MW

ศิริ จิระพงษ์พันธ์

นายคมกฤช ตันตระวาณิชย์ รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) กล่าวว่า ในปี 2562 กกพ.จะมีโครงการรับซื้อไฟฟ้าโซลาร์ภาคประชาชนไม่เกิน 100 MW โดยจะราคารับซื้อไฟฟ้าส่วนเกินในอัตราไม่เกิน 1.68 บาท/หน่วย เป็นเวลา 10 ปี โดยผู้เข้าร่วมโครงการต้องมีการเปลี่ยนมิเตอร์เป็นแบบสองทางด้วย

“กกพ.จะมีการจัดรับฟังความเห็นร่างระเบียบการรับซื้อไฟฟ้าฯตั้งแต่ 16 มี.ค.-1 เม.ย.2562 จากนั้นจะเปิดให้ผู้ที่สนใจลงทะเบียนและเปิดรับข้อเสนอโครงการในช่วงเดือนพ.ค.- ก.ค.2562 และจะมีการประกาศรายชื่อผู้ที่ผ่านการพิจารณา รวมทั้งลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าให้แล้วเสร็จภายในต.ค.2562”นายคมกฤชกล่าว

นายวีรพัฒน์  เกียรติเฟื่องฟู ผู้อำนวยการสำนักนโยบายไฟฟ้า สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กล่าวว่า ตาม PDP 2018 พบว่า ตั้งแต่ปี 2568 ประเทศไทยมีความจำเป็นต้องลงทุนโรงไฟฟ้าเพิ่มเติมเพื่อรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าของประเทศ ซึ่งการพิจารณาการลงทุนโรงไฟฟ้าเพิ่มเติมนั้นจะพิจารณาเป็นรายภาค ขณะที่การรับซื้อไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนจะมีการพิจารณาศักยภาพเชื้อเพลิงรายพื้นที่นั้นๆ

นายเทพรัตน์  เทพพิทักษ์ รองผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กล่าวว่า ตามแผน PDP2015 กฟผ.จะเริ่มโครงการนำร่อง Hydro Floating Solar Hybrid ที่เขื่อนสิริธร ขนาดกำลังการผลิต 45 MW  โดยมีแผนเปิดรับซื้อไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ (COD) ภายในธ.ค.2563 โดยปัจจุบัน กฟผ.อยู่ระหว่างการออกแบบโครงการเบื้องต้น และจะเปิดประมูลจัดซื้อจัดจ้างงานต่างๆ เช่น ติดตั้งแผงโซลาร์เซลล์ และระบบยึดโยงต่างๆ ในเดือนพ.ค.2562

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า