ทอท.ล้มขายซองประมูล “ดิวตี้ฟรี-พื้นที่เชิงพาณิชย์”-รื้อทีโออาร์ใหม่

ทอท.ยอมถอยแล้ว ล้มขายซองประมูล “ดิวตี้ฟรี-พื้นที่เชิงพาณิชย์” เตรียมดำเนินการตามขั้นตอนใหม่ให้ครบถ้วน-เปิดให้ทุกฝ่ายมีส่วนร่วมทำทีโออาร์ใหม่ พร้อมตั้งเป้าได้ตัวผู้ชนะประมูลภายในก.ย.นี้

เมื่อวันที่ 18 มี.ค.นายนิตินัย ศิริสมรรถการ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือทอท. เปิดเผยว่า บริษัทชะลอกการเปิดขายซองเอกสารงานให้สิทธิประกอบกิจการจำหน่ายสินค้าปลอดภาษี (ดิวตี้ฟรี) ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานภูเก็ต ท่าอากาศยานเชียงใหม่ และท่าอากาศยานหาดใหญ่ และงานให้สิทธิประกอบกิจการเชิงพาณิชย์ภายในอาคารผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ออกไปก่อน

ทั้งนี้ เนื่องจากกระแสสังคมวิพากษ์วิจารณ์และกังวลว่า หลักเกณฑ์และรายละเอียดการเปิดประมูล (ทีโออาร์)ทั้ง 2 โครงการ อาจเกิดการผูกขาด แม้ว่าที่ผ่านมา ทอท.จะชี้แจงจนกระทั่งหมดข้อสงสัยแล้วก็ตาม

นายนิตินัย กล่าวว่า ทอท.จะดำเนินการจัดทำหลักเกณฑ์และรายละเอียดการประมูลทั้ง 2 โครงการให้เป็นตามขั้นตอนอย่างถูกต้องในทุกกระบวนการ โดยคำนึงประโยชน์สูงสุดของ ทอท.และประเทศที่จะได้รับเป็นสำคัญ และหากไม่มีข้อโต้แย้งก็จะพิจารณาขายซองประมูลต่อไป รวมทั้งจะดำเนินการมติครม.เมื่อวันที่ 5 มีนาคม 2562 ที่กำหนดให้มีคนนอกร่วมอยู่ในกระบวนการด้วย ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปอย่างโปร่งใส สามารถตรวจสอบและชี้แจงต่อสาธารณชนได้

“ทอท.ยังคงตั้งเป้าหมายที่จะเปิดประมูลและได้ผู้ชนะการประมูลทั้ง 2 โครงการภายในเดือนก.ย.2562 เพื่อให้เอกชนมีเวลาในการลงทุนปรับปรุงพื้นที่ก่อนจะเปิดให้บริการในเดือนก.ย.2563”นายนิตินัยกล่าว

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กำหนดทอท.มีกำหนดเปิดขายซอง การเดิมที่จะเปิดขายซองงานให้สิทธิประกอบกิจการจำหน่ายสินค้าปลอดภาษี (ดิวตี้ฟรี) 4 สนามบิน และงานให้สิทธิประกอบกิจการเชิงพาณิชย์ภายในอาคารผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ระหว่างวันที่ 19 มี.ค.-1 เม.ย.62 และจะรู้ผลการประมูลในวันที่ 10 พ.ค.

นายนิตินัย ยังชี้แจงว่า ตามที่ปรากฏข่าวตามสื่อต่างๆ ทักท้วงการดำเนินงานของ ทอท.ในการจัดทำทีโออาร์ประมูลสิทธิประกอบกิจการจำหน่ายสินค้าปลอดอากร 4 สนามบิน และสิทธิการบริหารโครงการกิจกรรมเชิงพาณิชย์ ภายในอาคารผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โดยเลือกประมูลแบบสัญญาเดียว ว่ามีลักษณะผูกขาด และอาจจะไม่สอดคล้องกับกฎหมายร่วมทุนที่มีการประกาศใช้ใหม่นั้น ขอชี้แจงว่าทุกอย่างพิจารณาข้อมูลรอบด้านอย่างรอบคอบ และรับฟังความคิดเห็นจากหลายองค์กรมาประมวลผล คือ

1.การเปิดเสรีเคาน์เตอร์ส่งมอบสินค้าปลอดอากร (Duty Free Pick-up Counter) เป็นการยุติการผูกขาดธุรกิจร้านค้าปลอดอากร โดยสามารถเห็นตัวอย่างได้จากการเปิดเสรี Pick-up Counter ที่ท่าอากาศยานภูเก็ตทำให้มีผู้ยื่นความจำนงประกอบกิจการร้านค้าปลอดอากรในเมืองนับสิบราย ซึ่ง ทอท. คาดว่าหลังจากมีการเปิดเสรี Pick-up Counter ที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิจะเป็นจุดเริ่มต้นของการแข่งขันในธุรกิจร้านค้าปลอดอากรที่สำคัญของประเทศไทย

2.รูปแบบของการให้สิทธิประกอบกิจการโครงการจำหน่ายสินค้าปลอดอากร และการบริหารโครงการกิจกรรมเชิงพาณิชย์ ที่เหมาะสมที่สุดและเป็นประโยชน์แก่ทุกฝ่ายในระยะยาว คือ การให้สิทธิสัมปทานเพียงรายเดียว (Master concessionaire) การแยกประมูลตามหมวดสินค้า (Category consessions) จะไม่ส่งผลดีต่อองค์กรและประเทศชาติโดยรวม

“กิจการร้านค้าปลอดอากรไม่เหมือนการค้าปลีก โดยเฉพาะเรื่องสถานที่ ห้างสรรพสินค้ามีประตูอยู่ที่เดิมตลอดไป แต่ท่าอากาศยานมี contact gate ที่เปรียบเสมือนประตู และแต่ละ contact gate สามารถรองรับเครื่องบินได้ในแต่ละกลุ่มที่แตกต่างกัน ดังนั้น การไหลเวียนของผู้โดยสาร (Passenger flow) ในท่าอากาศยาน จึงแตกต่างจากห้างสรรพสินค้า โดยขึ้นอยู่กับประเภทเครื่องบินที่สายการบินนำมาให้บริการ ดังนั้น จึงมีความสุ่มเสี่ยงที่หากมีการแยกสัญญาแล้วจะทำให้ผู้ประกอบการบางรายมีปัญหาเมื่อปริมาณและการไหลเวียนของผู้โดยสารมีการเปลี่ยนแปลงไป”นายนิตินัยกล่าว

นอกจากนี้ ยังจะทำให้ภายในสนามบินเดียวกัน มีความแตกต่างให้เห็นทั้งในด้านโครงการส่งเสริมการขาย และมาตรฐานการให้บริการ ซึ่งจะสร้างการเปรียบเทียบและความสับสนให้กับผู้โดยสาร อีกทั้งยังนำมาซึ่งการผูกขาดในรายสินค้านั้นๆและไม่ได้เป็นการส่งเสริมให้เกิดการแข่งขันตามที่กล่าวอ้างแต่อย่างใด แต่จะแสดงถึงความไม่มีมาตรฐานของสนามบินของประเทศอีกด้วย

3.การให้สิทธิประกอบกิจการทั้ง 4 ท่าอากาศยาน ซึ่งประกอบด้วยท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ท่าอากาศยานเชียงใหม่ ท่าอากาศยานภูเก็ต และท่าอากาศยานหาดใหญ่ รวมอยู่ในสัญญาเดียว

เนื่องจากข้อเท็จจริงที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน ท่าอากาศยานที่มียอดขายน้อย เช่น ท่าอากาศยานเชียงใหม่ และท่าอากาศยานหาดใหญ่ ประสบปัญหาการขาดทุน แต่สามารถยังดำเนินกิจการอยู่ได้ เนื่องจากมีการถัวกำไรจากท่าอากาศยานใหญ่ คือ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ นอกจากนั้น การเปิดเสรีเคาน์เตอร์ส่งมอบสินค้าปลอดอากร (Duty Free Pick-up Counter) ณ ท่าอากาศยานภูเก็ตได้เริ่มประสบปัญหาการขาดทุนจากการแข่งขันของร้านค้าปลอดอากรในเมือง (Downtown Duty Free) แสดงให้เห็นว่าความแข็งแรงและศักยภาพของผู้ประกอบการจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น

“ผลการศึกษาของที่ปรึกษาชี้ชัดว่า การรวมสัญญาของโครงการจำหน่ายสินค้าปลอดอากรทั้ง 4 ท่าอากาศยาน จะทำให้ผู้ชนะการประมูลมีอำนาจต่อรองกับผู้แทนจำหน่าย (Supplier) ของสินค้า (Brand Name) ชั้นนำได้มาก ซึ่งธุรกิจร้านค้าปลอดอากรเป็นธุรกิจที่ต้องแข่งขันกับผู้ประกอบการอื่นในระดับโลก การจะทำให้ท่าอากาศยานภูมิภาคมีสินค้า Brand Name ให้บริการผู้โดยสารเหมือนที่ให้บริการในท่าอากาศยานใหญ่ ทอท.จำเป็นต้องคัดเลือกให้ได้ผู้ประกอบการที่มีศักยภาพมากที่สุดเพื่อให้สามารถแข่งขันในระดับโลกได้ หากท่าอากาศยานของไทยไม่สามารถแข่งขันได้ จะส่งผลเสียต่อประเทศชาติโดยรวมต่อไป”นายนิตินัยกล่าว

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า