กกพ.เปิดลงทะเบียน “โซลาร์ประชาชน” มิ.ย.นี้-คาด 10 ปีเงินสะพัด 4 หมื่นล้าน

กกพ.เปิดรับลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ “โซลาร์ภาคประชาชน” 100 MW มิ.ย.นี้ ก่อนจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบภายในปี 2562 พร้อมคาด 10 ปีเม็ดเงินซื้อแผงโซลาร์เซล์-ติดตั้ง สะพัด 4 หมื่นล้าน

เมื่อวันที่ 20 มี.ค. นายศิริ จิระพงษ์พันธ์ รมว.พลังงาน แถลงเปิดตัวโครงการโซลาร์ภาคประชาชน ว่า ในเดือนพ.ค.นี้ คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) จะเปิดให้เจ้าของบ้านและอาคาร ซึ่งเป็นเจ้าของมิเตอร์ประเภทบ้านอยู่อาศัย และต้องการติดตั้งแผงเซลล์ผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เพื่อใช้เอง เข้ามาลงทะเบียนกับกกพ. เพื่อผลิตและขายผลผลิตไฟฟ้าส่วนที่เกินความต้องการใช้ เข้าสู่ระบบไฟฟ้าของประเทศ

สำหรับโครงการรับซื้อไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ระยะนำร่อง กกพ.จะเปิดรับซื้อไฟฟ้าขนาดกำลังผลิตติดตั้ง 100 MW ต่อปี และรับซื้อเป็นเวลา 10 ปี ในขณะที่แผนพัฒนาระบบไฟฟ้าฉบับใหม่ หรือ PDP2018 กำหนดรับซื้อไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ 12,725 MW ในช่วงปี 2561-2580 หรือเป็นระยะเวลา 20 ปี

นายศิริ กล่าวว่า รัฐบาลเตรียมออกมาตรการสนับสนุนให้ผู้ผลิตแผงโซล่าเซลล์และผู้ประกอบการติดตั้งระบบในประเทศและสถาบันอาชีวะศึกษา เข้ามามีส่วนร่วมในธุรกิจการติดตั้งและบำรุงรักษาระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ระยะนำร่อง 100 MW ด้วย ซึ่งคาดว่าแต่ละปีจะมีการติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ 1-2 หมื่นระบบ มูลค่าการติดตั้ง 4,000 ล้านบาท/ปี หรือคิดเป็น 4 หมื่นล้านบาทในช่วง 10 ปี

นายเสมอใจ ศุขสุเมฆ ประธาน กกพ. กล่าวว่า การประกาศรับซื้อไฟฟ้าภายใต้โครงการโซลาร์ภาคประชาชนครั้งนี้ เป็นมิติใหม่ในการกำกับดูแลภาคพลังงานของ กกพ. เพราะนอกจาก กกพ. จะออกระเบียบและหลักเกณฑ์ในการจัดหาไฟฟ้า และออกประกาศเชิญชวนตามปกติแล้ว กกพ. ยังจะให้ข้อมูลและการสร้างความเข้าใจให้กับประชาชน เพื่อให้ประชาชนมีข้อมูลครบถ้วนในการตัดสินใจ และยืนยันทุกคนจะได้รับการพิจารณาอย่างโปร่งใส และเป็นธรรม

สำหรับขั้นตอนการเปิดรับซื้อโซลาร์ภาคประชาชนนั้น สำนักงาน กกพ. จะเริ่มประชาสัมพันธ์โครงการตั้งแต่เดือนมี.ค. และเปิดรับลงทะเบียนสำหรับผู้สนใจผ่านเว็บไซต์ของการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) และเว็บไซต์ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ทั่วประเทศ ตั้งแต่เดือนพ.ค. และหมดเขตรับลงทะเบียนภายในปี 2562 จากนั้นจะทยอยประกาศรายชื่อผู้ผ่านการพิจารณาโดยการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่าย ตั้งแต่เดือนมิ.ย. ก่อนจะจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบเชิงพาณิชย์ภายในปี 2562

“อยากให้ประชาชนได้มีการศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องอย่างละเอียดถี่ถ้วน โดยเฉพาะความคุ้มทุน ซึ่งจะขึ้นอยู่กับพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าของครัวเรือนเป็นหลัก เช่น หากมีการใช้ไฟฟ้าในช่วงกลางวันมากอยู่แล้ว ระยะเวลาในการคุ้มทุนย่อมเร็วกว่า เป็นต้น”นายเสมอใจกล่าว

น.ส.นฤภัทร อมรโฆษิต เลขาธิการสำนักงาน กกพ. กล่าวถึงหลักเกณฑ์การรับซื้อไฟฟ้าโครงการโซลาร์ภาคประชาชน ว่า โครงการนี้มีเป้าหมายรับซื้อไฟฟ้า 100 MW แบ่งเป็นเขตพื้นที่ของกฟน. 30 MW และเขตพื้นที่ของกฟภ. 70 MW ส่วนคุณสมบัติผู้เข้าร่วมโครงการ จะต้องเป็นบุคคลหรือนิติบุคคลที่เป็นเจ้าของเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้า และเป็นผู้ที่มีเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าประเภทที่ 1 ตามประกาศอัตราค่าไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายไม่เกิน 10 KW ต่อครัวเรือน

สำหรับเงื่อนไขในการพิจารณานั้น จะพิจารณาแบบเรียงลำดับก่อนหลังตามความพร้อม (First come First served) โดยจะยึดถือวันและเวลาที่ได้รับแบบคำขอที่มีความครบถ้วนสมบูรณ์ของเอกสารหลักฐานที่กำหนดเป็นสำคัญ โดยอัตรารับซื้อไฟฟ้าส่วนเกินจะอยู่ที่ไม่เกิน 1.68 บาท/หน่วย ระยะเวลารับซื้อ 10 ปี

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า