น้ำมันดิบร่วงต่ำกว่า 60 ดอลล์ นักลงทุนกังวลสงครามการค้ายังไม่ยุติ  

สัญญาน้ำมันดิบ WTI ลบ 0.4% ปิดที่ 59.98 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล นักลงทุนกังวลสงครามการค้า “สหรัฐ-จีน” ที่ยังไม่ยุติ

เมื่อคืนวันพฤหัส (21 มี.ค.) สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) งวดส่งมอบเดือนเม.ย. ปิดที่ 59.98 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ลดลง 0.25 เหรียญสหรัฐ หรือลดลง 0.4% และสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ งวดส่งมอบเดือนพ.ค. ปิดที่ 67.86 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ลดลง 0.64 เหรียญสหรัฐ หรือลดลง 0.9%

สัญญาซื้อขายน้ำมันดิบล่วงหน้า WTI ปรับตัวลดลง เนื่องจากได้รับแรงกดดันจากการแข็งค่าของสกุลเงินเหรียญสหรัฐ แต่สัญญาน้ำมันดิบลดลงในกรอบจำกัด เพราะนักลงทุนยังคงขานรับรายงานของสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานของสหรัฐ (EIA) ที่ระบุว่า สต็อกน้ำมันดิบของสหรัฐลดลง 9.6 ล้านบาร์เรลในสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 15 มี.ค.

นอกจากนี้ สัญญาน้ำมันยังคงได้แรงหนุนจากภาวะอุปทานน้ำมันตึงตัว ซึ่งเป็นผลจากการลดกำลังการผลิตน้ำมันของกลุ่มโอเปกและพันธมิตร และมาตรการคว่ำบาตรของสหรัฐต่อการส่งออกน้ำมันอิหร่านและเวเนซุเอลา รวมถึงการที่กลุ่มโอเปกส่งสัญญาณขยายเวลาลดกำลังการผลิตน้ำมันดิบออกไปจนถึงปลายปีนี้

โดยมีรายงานว่าการส่งออกน้ำมันดิบของอิหร่านอยู่ที่ 1 ล้านบาร์เรล/วันในเดือนมี.ค. ลดลงจาก 1.3 ล้านบาร์เรล/วันในเดือนก.พ. และลดลงจากระดับ 2.5 ล้านบาร์เรล/วันเมื่อปีที่แล้ว ขณะที่การส่งออกน้ำมันดิบของเวเนซุเอลาที่ลดลงเหลือไม่ถึง 1 ล้านบาร์เรล/วันแล้ว ท่ามกลางมาตรการคว่ำบาตร และวิกฤตการเมืองและเศรษฐกิจในประเทศ

อย่างไรก็ตาม การเพิ่มขึ้นของสัญญาน้ำมันดิบถูกหยุดยั้ง จากกำลังลิตน้ำมันดิบของสหรัฐที่เพิ่มเป็น 12.1 ล้านบาร์เรล/วัน หรือเพิ่มขึ้นมากกว่า 2 ล้านบาร์เรล/วันเมื่อเทียบกับต้นปีที่แล้ว ทำให้สหรัฐกลายเป็นผู้ผลิตน้ำมันดิบรายใหญ่ที่สุดของโลก และกำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้น ทำให้สหรัฐมีการส่งออกน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นเป็น 3 ล้านบาร์เรล/วันในปีที่แล้ว

ด้านบมจ.ไทยออยล์รายสถานการณ์ราคาน้ำมันประจำวันที่ 22 มี.ค. ว่า ราคาน้ำมันดิบ WTI และเบรนท์ ปรับตัวลดลงเมื่อวานนี้ (21 มี.ค.) เนื่องจากนักลงทุนยังคงมีความกังวลต่อสถานการณ์สงครามการค้าระหว่างสหรัฐและจีน ซึ่งดำเนินต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน

อย่างไรก็ตาม ราคายังคงมีแรงสนับสนุนจากการปรับลดกำลังการผลิตของผู้ผลิตกลุ่มโอเปก รวมถึงกำลังการผลิตน้ำมันดิบที่ลดลงจากการคว่ำบาตรอิหร่านและเวเนซุเอลาโดยสหรัฐ ส่งผลให้ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังของโลกปรับตัวลดลงถึง 40 ล้านบาร์เรลตั้งแต่กลางเดือน ม.ค.ที่ผ่านมา

ขณะที่ปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐปรับตัวลดลง 10 ล้านบาร์เรล ซึ่งเป็นการปรับลดลงมากที่สุดตั้งแต่เดือน ก.ค.2561 เนื่องจากมีปริมาณการส่งออกน้ำมันดิบที่สูงขึ้น ประกอบกับมีความต้องการใช้น้ำมันภายในประเทศมากขึ้น

ทั้งนี้ สหรัฐต้องการให้ปริมาณน้ำมันดิบที่ส่งออกจากอิหร่านปรับตัวลดลงประมาณ 20% มาสู่ระดับต่ำกว่า 1 ล้านบาร์เรล/วันตั้งแต่เดือน พ.ค.2562 เป็นต้นไป โดยให้ประเทศที่เคยนำเข้าน้ำมันดิบจากอิหร่านลดปริมาณการนำเข้าลง

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า