น้ำมันดิบร่วงเกือบ 1% หลังสต็อกสหรัฐพุ่งเกินคาด-จับตาผลเจรจาการค้า

สัญญาน้ำมันดิบ WTI ลบเกือบ 1% ปิดที่  59.41 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล หลังสต็อกน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐเพิ่ม 2.8 ล้านบาร์เรล นักลงทุนจับตาการเจรจาการค้า “สหรัฐ-จีน” ที่จะเริ่มขึ้นอีกครั้งวันนี้

เมื่อคืนวันพุธ (27 มี.ค.) สัญญาน้ำมันดิบเวสต์เท็กซัส (WTI) งวดส่งมอบเดือนพ.ค. ปิดที่ 59.41 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ลดลง 0.53 เหรียญสหรัฐ หรือลดลงเกือบ 1% และสัญญาน้ำมันดิบเบรนท์ งวดส่งมอบเดือนพ.ค. ปิดที่ 67.83 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ลดลง 0.14 เหรียญสหรัฐ หรือลดลง 0.2%

สัญญาซื้อขายน้ำมันดิบล่วงหน้า WTI ปรับตัวลดลง หลังสำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐ (EIA) รายงานสต็อกน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐปรับตัวเพิ่มขึ้น 2.8 ล้านบาร์เรลในสัปดาห์ที่สิ้นสุดวันที่ 22 มี.ค. สวนทางนักวิเคราะห์ที่คาดว่าจะลดลง 1.2 ล้านบาร์เรล

ส่วนสต็อกน้ำมันเบนซินลดลง 2.9 ล้านบาร์เรล และสต็อกน้ำมันกลั่น ซึ่งรวมถึงฮีตติ้งออยล์และน้ำมันดีเซล ลดลง 2.1 ล้านบาร์เรล ซึ่งลดลงมากกว่าที่นักวิเคราะห์คาดไว้ นอกจากนี้ EIA ยังระบุด้วยว่า การส่งออกน้ำมันดิบของสหรัฐลดลง 506,000 บาร์เรล/วัน ในรอบสัปดาห์ดังกล่าว

อย่างไรก็ตาม สัญญาน้ำมันดิบได้รับแรงหนุนระหว่างวัน เนื่องจากมีรายงานว่าท่าเรือโฮเซ ซึ่งเป็นท่าส่งออกน้ำมันหลักของเวเนซุเอลายังไม่สามารถเปิดให้บริการได้ในขณะนี้ หลังจากเกิดเหตุการณ์ไฟดับครั้งใหญ่เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ซึ่งนับเป็นวิกฤติไฟฟ้าดับครั้งที่ 2 ในรอบ 1 เดือน

นอกจากนี้ สัญญาน้ำมันยังคงขานรับปัจจัยบวก จากมาตรการคว่ำบาตรของสหรัฐต่อการส่งออกน้ำมันดิบจากอิหร่านและเวเนซุเอลา ซึ่งล่าสุดกระทรวงการคลังสหรัฐได้คว่ำบาตรบุคลากรและองค์กร 25 รายที่เกี่ยวข้องกับอิหร่าน ขณะเดียวกัน นักลงทุนยังคงติดตามการเจรจาการค้าระหว่างสหรัฐและจีน ซึ่งจะเริ่มขึ้นอีกครั้งในวันพฤหัสนี้ (28 มี.ค.)

นักวิเคราะห์จาก PVM Oil Associates  ประเมินว่า ราคาน้ำมันดิบเบรนต์มีการซื้อขายในกรอบค่อนข้างแคบที่ระหว่าง 64-69 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรลตลอดทั้งเดือนมี.ค. สะท้อนให้เห็นถึงความตึงเครียดระหว่างอุปทานที่กำลังตึงตัวและความกังวลต่ออุปสงค์น้ำมันทั่วโลก

ด้าน บมจ.ไทยออยล์รายงานสถานการณ์ราคาน้ำมันประจำวันที่ 28 มี.ค. ว่า ราคาน้ำมันดิบเมื่อคืนวานนี้ (27 มี.ค.) ปรับตัวลดลง หลังปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐปรับตัวเพิ่มสูงขึ้นมากกว่าคาดการณ์ เนื่องจากปริมาณส่งออกน้ำมันดิบลดลง จากเหตุการณ์ไฟไหม้ถังผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีและสารเคมีรั่วไหลเมื่อสัปดาห์ก่อนบริเวณท่าเรือ Houston

ทั้งนี้ สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐ (EIA) รายงานปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐประจำสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 22 มี.ค. ปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่า 2.8 ล้านบาร์เรลจากสัปดาห์ก่อน สวนทางกับนักวิเคราะห์ที่คาดการณ์ว่าปริมาณน้ำมันดิบคงคลังสหรัฐจะปรับตัวลดลงราว 1.2 ล้านบาร์เรล ส่งผลกดดันต่อราคาน้ำมันดิบ

อย่างไรก็ตาม จากสถานการณ์ไฟฟ้าขัดข้องของเวเนซุเอลาเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา ส่งผลให้ปริมาณการส่งออกน้ำมันดิบปรับตัวลดลง เป็นหนึ่งปัจจัยที่ทำให้ราคาน้ำมันดิบปรับลดลงไม่มากนัก

ขณะที่ปริมาณการผลิตน้ำมันดิบของรัสเซียปรับตัวลดลงจากระดับ 11.34 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในเดือน ก.พ.2562 มาอยู่ที่ 11.3 ล้านบาร์เรล/วัน ในเดือน มี.ค.2562 และจะเร่งปรับลดกำลังการผลิตลง เพื่อบรรลุเป้าหมายที่ได้ตกลงกันว่ารัสเซียจะปรับลดกำลังการผลิตลงราว 0.2 ล้านบาร์เรล/วัน จากปริมาณการผลิตในเดือน ต.ค.2561

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า