“กรุงเทพโพลล์” เผยแรงงาน 61.7% หวังรัฐบาลใหม่ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ เริ่มต้นวันละ 400 บาท

“กรุงเทพโพลล์” เผยแรงงาน 61.7% คาดหวังรัฐบาลใหม่ปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ ส่วนใหญ่หวังได้ค่าแรงวันละ 400 บาท ทันที ขณะที่ 85.9% กังวลข้าวของราคาแพงขึ้น อยาให้รัฐบาลเข้ามาควบคุมราคาสินค้าอุปโภคบริโภค

เมื่อวันที่ 30 เม.ย. กรุงเทพโพลล์ โดยศูนย์วิจัยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ เผยผลสำรวจความคิดเห็นเรื่อง “ปรับค่าแรงขั้นต่ำกับความหวังของแรงงานไทย” โดยเก็บข้อมูลกับกลุ่มตัวอย่างผู้ใช้แรงงานในพื้นที่กรุงเทพฯและปริมณฑล จำนวน 1,160  คน พบว่า ผู้ใช้แรงงานร้อยละ 42.1 ระบุว่า ปัจจุบันค่าแรงขั้นต่ำที่ได้รับในแต่ละวันพอดีกับค่าใช้จ่ายจึงไม่มีเงินเหลือเพื่อเก็บออม

ขณะที่ร้อยละ 31.6 ระบุว่าไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย ต้องกู้ ต้องหยิบยืม ส่วนร้อยละ 26.3 ระบุว่าเพียงพอกับค่าใช้จ่ายและมีเงินเก็บออม

เมื่อถามว่านโยบายหาเสียงเลือกตั้งค่าแรงขั้นต่ำ 400-425 บาทจากพรรคการเมืองต่างๆ มีผลต่อการตัดสินใจเลือกมากน้อยเพียงใด ส่วนใหญ่ร้อยละ 50.5 เห็นว่า มีผลค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด ขณะที่ร้อยละ 49.5 เห็นว่ามีผลค่อนข้างมากถึงมากที่สุด

เมื่อถามต่อว่าหากได้รัฐบาลใหม่แล้ว คาดหวังกับการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำหรือไม่ ส่วนใหญ่ร้อยละ 61.7 ระบุว่าคาดหวัง โดยในจำนวนนี้ ร้อยละ 43.0 หวังว่าจะได้ค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาทเลยในทันที รองลงมาร้อยละ 15.3 หวังว่าจะเพิ่มขึ้นถึง 400 บาทภายใน 1-2 ปี และร้อยละ 3.4 หวังว่าไม่เกิน 3 ปี จะได้ค่าแรงถึง 400 บาท ขณะที่ร้อยละ 38.3 ไม่ได้คาดหวัง

ส่วนเรื่องที่กังวลมากที่สุดหากมีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 400-425 บาท คือ ข้าวของราคาแพงขึ้น คิดเป็นร้อยละ 85.9 รองลงมาคือ ค่าแรงขั้นต่ำจะไม่ขึ้นอีกหลายปี คิดเป็นร้อยละ 21.6 และตกงาน โดนเลิกจ้าง คิดเป็นร้อยละ 21.0

เมื่อถามว่าหากภาครัฐมีการพัฒนาทักษะแรงงาน สำหรับงานและอาชีพแต่ละระดับให้เป็นมาตรฐาน เพื่อเข้าสู่การพิจารณาปรับค่าแรงมาตรฐานให้สูงขึ้น ท่านสนใจจะเข้าร่วมมากน้อยเพียงใด ส่วนใหญ่ร้อยละ 62.0 สนใจค่อนข้างมากถึงมากที่สุด ขณะที่ร้อยละ38.0 สนใจค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด

สุดท้ายในฐานะแรงงานไทย อยากฝากความหวังอะไรกับรัฐบาลใหม่ที่จะเกิดขึ้นพบว่า ส่วนใหญ่ร้อยละ 79.0อยากให้ควบคุมราคาสินค้าอุปโภคบริโภคพื้นฐานไม่ให้ขึ้นราคา กระทบค่าครองชีพ รองลงมาร้อยละ 53.6 อยากให้ดูแลสวัสดิการความปลอดภัย ค่ารักษาพยาบาลแก่แรงงาน และร้อยละ 37.7  อยากให้รัฐบาลเร่งรัดการสร้างงาน สร้างอาชีพ ลดภาวการณ์ว่างงาน

 

โดยมีรายละเอียดตามประเด็นข้อคำถาม ดังต่อไปนี้

1.ข้อคำถาม “ปัจจุบันค่าแรงขั้นต่ำที่ได้รับในแต่ละวันเพียงพอกับค่าใช้จ่ายหรือไม่”

พอดีกับค่าใช้จ่ายจึงไม่มีเงินเหลือเพื่อเก็บออม   ร้อยละ    42.1

ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย ต้องกู้ ต้องหยิบยืม        ร้อยละ    31.6

เพียงพอกับค่าใช้จ่ายและมีเงินเก็บออม              ร้อยละ    26.3

 

2.นโยบายหาเสียงเลือกตั้งค่าแรงขั้นต่ำ 400-425 บาทจากพรรคการเมืองต่างๆ มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งมากน้อยเพียงใด

มีผลค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด

(โดยแบ่งเป็นค่อนข้างน้อยร้อยละ 37.9 และน้อยที่สุดร้อยละ 12.6)               ร้อยละ    50.5

มีผลค่อนข้างมากถึงมากที่สุด

(โดยแบ่งเป็นมากที่สุดร้อยละ 6.9   และค่อนข้างมากร้อยละ 42.6)                ร้อยละ    49.5

 

3.ข้อคำถาม “หากได้รัฐบาลใหม่แล้ว ท่านคาดหวังกับการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำอย่างไร”

คาดหวัง ร้อยละ    61.7

โดย         หวังว่าจะได้ค่าแรงขั้นต่ำ 400 บาทเลยในทันที  ร้อยละ 43.0

หวังว่าจะเพิ่มขึ้นถึง 400 บาทภายใน 1-2 ปี                       ร้อยละ 15.3

หวังว่าไม่เกิน 3 ปี จะได้ค่าแรงถึง 400 บาท                        ร้อยละ   3.4

ไม่ได้คาดหวัง      ร้อยละ    38.3

 

4.เรื่องที่กังวลหากมีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 400-425 บาท (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

ข้าวของราคาแพงขึ้น                             ร้อยละ     85.9

ค่าแรงขั้นต่ำจะไม่ขึ้นอีกหลายปี        ร้อยละ    21.6

ตกงาน โดนเลิกจ้าง                               ร้อยละ    21.0

ทำงานหนักขึ้น                                         ร้อยละ    18.3

แรงงานต่างด้าวเข้ามาแย่งงาน          ร้อยละ    18.3

สวัสดิการน้อยลง ได้โบนัสลดลง       ร้อยละ    12.8

 

5.ข้อคำถาม “หากภาครัฐมีการพัฒนาทักษะแรงงาน สำหรับงานและอาชีพแต่ละระดับให้เป็นมาตรฐาน เพื่อเข้าสู่การพิจารณาปรับค่าแรงมาตรฐานให้สูงขึ้น ท่านสนใจจะเข้าร่วมมากน้อยเพียงใด”

สนใจค่อนข้างมากถึงมากที่สุด

(โดยแบ่งเป็นมากที่สุดร้อยละ 9.0   และค่อนข้างมากร้อยละ 53.0)                ร้อยละ    62.0

สนใจค่อนข้างน้อยถึงน้อยที่สุด

(โดยแบ่งเป็นค่อนข้างน้อยร้อยละ 30.8 และน้อยที่สุดร้อยละ 7.2)  ร้อยละ    38.0

 

6.ข้อคำถาม “ในฐานะแรงงานไทย ท่านอยากฝากความหวังอะไรกับรัฐบาลใหม่ที่จะเกิดขึ้น” (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ)

อยากให้ควบคุมราคาสินค้าอุปโภคบริโภคพื้นฐานไม่ให้ขึ้นราคากระทบค่าครองชีพ  ร้อยละ    79.0

อยากให้ดูแลสวัสดิการความปลอดภัย ค่ารักษาพยาบาลแก่แรงงาน             ร้อยละ    53.6

อยากให้รัฐบาลเร่งรัดการสร้างงาน สร้างอาชีพ ลดภาวการณ์ว่างงาน          ร้อยละ    37.7

อยากให้มีสวัสดิการโบนัสแก่แรงงานในทุกๆปี                                                    ร้อยละ          36.2

อยากให้มีสวัสดิการเกี่ยวกับผู้เกษียณอายุ ผู้สูงอายุ                                           ร้อยละ        34.5

อยากให้มีสวัสดิการที่พัก ที่อยู่อาศัยแก่แรงงาน                                                     ร้อยละ    24.5

อยากให้มีกฎหมายแบ่งแยกแรงงานไทยกับแรงงานต่างด้าวให้ชัดเจน            ร้อยละ    23.7

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า