รัฐบาลสั่งรับมือ 12 จังหวัด เสี่ยงขาด “น้ำกิน-น้ำใช้” ช่วงเดือนพ.ค.-ก.ค.นี้

รัฐบาลสั่งทุกหน่วยงานรับมือ 12 จังหวัด เสี่ยงขาดน้ำอุปโภคบริโภค เหตุขาดแคลนแหล่งน้ำสำรองผลิตน้ำประปา พร้อมเดินหน้าแผนจัดการน้ำรับฤดูฝน

เมื่อวันที่ 1 พ.ค. พล.อ.ฉัตรชัย สาริกัลยะ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการวิเคราะห์ติดตามสถานการณ์และการบริหารการจัดการทรัพยากรน้ำ โดยสำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ (สทนช.) รายงานที่ประชุมว่า จากการวิเคราะห์ข้อมูลน้ำฝนของกรมอุตุนิยมวิทยาในช่วงเดือน พ.ค.-ก.ค.2562 ร่วมกับปริมาณน้ำในแหล่งน้ำผิวดินต่างๆ คาดว่าจะมีพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำเพื่ออุปโภคบริโภค เนื่องจากขาดแคลนแหล่งน้ำสำรองสำหรับการผลิตน้ำประปา รวม 12 จังหวัด

ประกอบด้วย ภาคเหนือ 5 จังหวัด ได้แก่ พิจิตร กำแพงเพชร ลำพูน อุตรดิตถ์ และตาก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2 จังหวัด  ได้แก่ สุรินทร์ กาฬสินธุ์ ภาคกลาง 4 จังหวัด  ได้แก่ ปทุมธานี อยุธยา ชัยนาท อ่างทอง และภาคตะวันตก 1 จังหวัด  ได้แก่ เพชรบุรี

ทั้งนี้ พล.อ.ฉัตรชัยได้สั่งการให้ทุกหน่วยงานซักซ้อมแผนปฏิบัติการของหน่วยงานรับผิดชอบเป็นรายพื้นที่ ทั้งพื้นที่ที่ประกาศภัยแล้งแล้ว 5 จังหวัด รวมถึงพื้นที่เสี่ยงแล้งและขาดแคลนน้ำโดยเฉพาะเพื่อการอุปโภคเป็นเป้าหมายแรก ในขณะที่ สทนช. ได้จัดทำข้อมูลและแผนที่แสดงแหล่งน้ำบริเวณใกล้เคียงพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำ และส่งให้หน่วยงานใช้เป็นข้อมูลในการบริหารจัดการต้นทุน เพื่อใช้ในการวางแผนแก้ไขพื้นที่ขาดแคลนน้ำด้วย

นอกจากนี้ รองนายกฯยังขอให้ทุกหน่วยงานดำเนินการตามแผนงานการแก้ไขปัญหาประสบภัยแล้งและพื้นที่เสี่ยงขาดแคลนน้ำทั้งระยะสั้น โดยใช้งบประมาณของหน่วยงานในพื้นที่ ดำเนินการจัดหาน้ำแจกจ่ายในพื้นที่ประสบภัย โดยใช้รถบรรทุกน้ำ แจกจ่ายน้ำดื่ม จัดซื้อภาชนะบรรจุสำรองน้ำ ซ่อมแซมขุดบ่อบาดาล ซ่อมแซมถังเก็บน้ำ ขุดลอกแหล่งน้ำ ก่อสร้างและซ่อมแซมระบบกระจายน้ำ

ส่วนการดำเนินการในระยะกลาง ซึ่งเป็นการพัฒนาแหล่งน้ำโดยการเพิ่มความจุ แหล่งน้ำธรรมชาติ อ่างเก็บน้ำ และแหล่งน้ำอื่นๆนั้น ปัจจุบันมีโครงการที่มีความพร้อมในการดำเนินการทั้งสิ้น 144 โครงการ งบประมาณ 1,200 ล้านบาท โดยสามารถเพิ่มแหล่งเก็บกักได้ 28.12 ล้านลูกบาศก์เมตร

นายสมเกียรติ ประจำวงษ์ เลขาธิการ สทนช. กล่าวว่า ที่ประชุมได้มอบหมายให้กระทรวงมหาดไทย เป็นเจ้าภาพในการตรวจสอบแหล่งน้ำธรรมชาติที่มีปริมาณน้ำอยู่ในเกณฑ์วิกฤติ และให้จังหวัดเป็นเจ้าภาพในการบริหารจัดการให้ความช่วยเหลือพื้นที่ประกาศภัยแล้ง โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) เป็นศูนย์กลางการอำนวยการ ซึ่งแต่ละจังหวัดจะต้องจัดหมวดหมู่การช่วยเหลือ รวมทั้งให้กระทรวงมหาดไทยและการประปาภูมิภาคพิจารณาหาแหล่งน้ำสำรองในการผลิตน้ำประปาเพื่อการอุปโภค-บริโภค

นอกจากนี้ ที่ประชุมให้หน่วยงานพิจารณาโครงการที่จะสามารถช่วยเหลือบรรเทาปัญหาด้านภัยแล้ง ทั้งในระยะเร่งด่วนระยะกลางและระยะยาวต่อไป โดยให้ สทนช. นำสภาพปัญหาการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำช่วงฤดูแล้ง ปี 2561/62  มาวางแผนปรับปรุงร่วมกับหน่วยงานรับผิดชอบ ทั้งการวางแผนการเพาะปลูกที่ไม่มีการระบุพื้นที่ด้านการเกษตร ขอบเขตที่ชัดเจน โดยให้ประกาศพื้นที่การเพาะปลูกให้ชัดเจนในระดับตำบล

นายสมเกียรติ ยังกล่าวว่า ที่ประชุมได้พิจารณามาตรการเตรียมการบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูฝน ปี 2562 ตามปฏิทินการบริหารจัดการน้ำฤดูฝน ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ค.-31 ต.ค.62 โดยกำหนดมาตรการเป็นรายพื้นที่และสอดคล้องกับปริมาณน้ำต้นทุนที่มีอยู่ ซึ่งการบริหารจัดการน้ำในเขื่อนและแหล่งน้ำธรรมชาติต่างๆ จะนำเกณฑ์ปฏิบัติการอ่างเก็บน้ำ (Rule Curve) ที่ปรับปรุงใหม่สำหรับอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่และขนาดกลาง ให้ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับทราบตั้งแต่กลางเดือนนี้เป็นต้นไป เพื่อใช้ในการบริหารจัดการน้ำในฤดูฝนตามที่ได้มีการจัดทำฐานข้อมูลแหล่งน้ำไว้แล้ว

“ในการบริหารจัดการน้ำในช่วงฤดูฝนจากข้อมูลย้อนหลังที่ผ่านมา และกำหนดแนวทางบริหารจัดการน้ำเชิงป้องกัน รวมถึงสถานการณ์น้ำระหว่างประเทศ คือ แม่น้ำโขงที่ได้มีการประสานงานภายใต้กรอบทวิภาคีและพหุภาคีในเรื่องการแลกเปลี่ยนข้อมูลน้ำกับจีนและ สปป.ลาว ในช่วงฤดูฝน”นายสมเกียรติกล่าว

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า