บริษัทตระกูลดัง “เตชะอุบล” ได้สิทธิ์พัฒนาพื้นที่เขตศก.พิเศษ “นครพนม” 1.3 พันไร่

บอร์ดกนพ. เห็นชอบให้บริษัท “เจซีเค” ของตระกูลดัง “เตชะอุบล” คว้าสิทธิลงทุนพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ “นครพนม” 1.3 พันไร่ ใกล้สะพานมิตรภาพไทย-สปป.ลาว เป็น “Commercial Mix Use”

เมื่อวันที่ 17 พ.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ (กนพ.) ที่มีพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน มีมติเห็นชอบผลการคัดเลือกของคณะทำงานสรรหา คัดเลือก และเจรจาผู้ลงทุนในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ ให้บริษัท เจซีเค อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ได้รับสิทธิ์ลงทุนพัฒนาที่ราชพัสดุในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษนครพนม พื้นที่ประมาณ 1,335 ไร่

พร้อมทั้งมอบหมายกรมธนารักษ์พิจารณาดำเนินการจัดให้เช่าที่ดินราชพัสดุตามกฎระเบียบ และขั้นตอนของทางราชการต่อไป รวมทั้งเห็นชอบให้กันพื้นที่แนวก่อสร้างทางรถไฟในพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษนครพนม เพื่อให้การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) ก่อสร้างทางรถไฟสายบ้านไผ่-นครพนม เนื้อที่ประมาณ 28 ไร่

สำหรับการพัฒนาพื้นที่เขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษนครพนม พื้นที่ 1,335 ไร่ ซึ่งอยู่ใกล้กับสะพานมิตรภาพไทย-สปป.ลาวแห่งที่ 3 และด่านนครพนม บริษัทฯมีแผนจะพัฒนาพื้นที่ดังกล่าวให้เป็นพื้นที่พาณิชยกรรมแบบผสม (Commercial Mix Use) ซึ่งมีการพัฒนาโรงแรม โรงพยาบาล ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุ ศูนย์ประชุม/แสดงสินค้านานาชาติ ศูนย์กีฬา/สันทนาการ (sports complex) เขตอุตสาหกรรมทั่วไปและศูนย์กระจายสินค้า

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บริษัท เจซีเค อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) เดิมชื่อ บริษัท ไทยพัฒนาโรงงานอุตสาหกรรม จำกัด (มหาชน) ประกอบธุรกิจพัฒนาที่ดินประเภทนิคมอุตสาหกรรม และก่อสร้างโรงงานสำเร็จรูปมาตรฐาน ซึ่งมีคนในตระกูล “เตชะอุบล” เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ โดยผู้ถือหุ้นอันดับ 1 คือ นายอภิชัย เตชะอุบล อันดับ 2 นางชลิดา เตชะอุบล ถือหุ้นรวมกัน 43%

รายชื่อผู้ถือหุ้น บริษัท เจซีเค อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน)พร้อมกันนั้น ที่ประชุมกนพ. ยังมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการให้สิทธิประโยชน์ส่งเสริมการลงทุน และการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน พิจารณาแนวทางสนับสนุนเพื่อจูงใจภาคเอกชนให้ลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษชายแดนเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)

รายงานข่าวระบุว่า ที่ประชุมกนพ.รับทราบความก้าวหน้าการพัฒนาเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษที่สำคัญ ได้แก่ การลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตั้งแต่ปี 2558 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งมีการลงทุนรวม 20,500 ล้านบาท แบ่งเป็น การขอรับการส่งเสริมการลงทุนจาก BOI ประมาณ 10,600 ล้านบาท การจัดตั้งธุรกิจใหม่ 6,500 ล้านบาท และโครงการลงทุนของเอกชนในพื้นที่พัฒนาในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษตราดและกาญจนบุรี 3,400 ล้านบาท

ส่วนการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีของกรมสรรพากรเพื่อส่งเสริมการลงทุนในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษนั้น คณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเมื่อวันที่ 14 พ.ค. 2562 เห็นชอบให้ขยายระยะเวลาการให้สิทธิลดหย่อนอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลจาก 20% เหลือ 10% เป็นระยะเวลา 10 ปี จากเดิมสิ้นสุดไปแล้วตั้งแต่ 31 ธ.ค. 2560 โดยให้ขอใช้สิทธิได้ตั้งแต่ 1 ม.ค.2561-30 ธ.ค.2563

ขณะที่การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและด่านศุลกากร ซึ่งได้รับจัดสรรงบปี 2558 – 2562 นั้น ส่วนใหญ่ดำเนินการได้ตามแผน ซึ่งโครงการที่ดำเนินการแล้วเสร็จ อาทิ สะพานข้ามแม่น้ำเมย แห่งที่ 2  ลานจอดและอาคารผู้โดยสารใหม่ของท่าอากาศยานแม่สอด ทางหลวงแนวใหม่ 4 ช่องจราจรพร้อมสะพานข้ามแดนบริเวณชายแดนอรัญประเทศ (หนองเอี่ยน) ด่านศุลกากรหนองคายแห่งใหม่ ด่านศุลกากรนครพนมแห่งใหม่ เป็นต้น

นอกจากนี้ ในส่วนการบริหารจัดการแรงงาน มีแรงงานต่างด้าวเข้ามาทำงานในเขตพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษ รวมประมาณ 270,000 คน (ต.ค.2560 – เม.ย.2562) และมีการพัฒนาฝีมือแรงงานไทยประมาณ 10,000 คน รวมทั้งมีการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดต่อและโรคอุบัติใหม่ในพื้นที่ชายแดน

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า