รัฐรีดภาษีดอกเบี้ยกองทุนรวมตราสารหนี้ 15%-คาดโกยรายได้เข้าคลังเกิน 2 พันล้าน/ปี

ราชกิจจาฯ แพร่ประกาศเก็บภาษี “กองทุนรวมตราสารหนี้” ในอัตรา 15% ของรายได้ดอกเบี้ย คาดรัฐเก็บภาษีได้มากกว่า 2,000 ล้านบาท/ปี

เมื่อวันที่ 24 พ.ค. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 22 พ.ค. ที่ผ่านมา เว็บไซด์ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 52) พ.ศ.2562 และให้พ.ร.บ.ฉบับนี้มีผลบังคับเมื่อพ้นกำหนด 90 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

สำหรับสาระสำคัญของพ.ร.บ.ฉบับนี้ กำหนดให้มีการจัดเก็บภาษีเงินได้ สำหรับผู้ที่ลงทุนในตราสารหนี้ผ่านกองทุนรวม ในอัตรา 15% ของรายได้ดอกเบี้ย จากเดิมที่ลงทุนกองทุนรวมตราสารหนี้ไม่ต้องเสียภาษี

ส่วนวิธีการจัดเก็บภาษีนั้น บริษัทผู้ออกตราสารหนี้จะหักภาษีดอกเบี้ย 15% จากกองทุนรวมที่เข้ามาลงทุน ก็ต่อเมื่อกองทุนมีผลตอบแทนจากรายได้จากดอกเบี้ยแล้ว และให้นำส่งกรมสรรพากร ส่วนนักลงทุนที่เป็นบุคคลธรรมดาที่ลงทุนในกองทุนตราสารหนี้ จะไม่ต้องเสียภาษีดอกเบี้ยในส่วนนี้อีก เนื่องจากผู้ลงทุนจะถูกหักภาษีไว้แล้ว

ส่วนเหตุที่ต้องประกาศใช้พ.ร.บ.ฉบับนี้ เนื่องจากปัจจุบันการลงทุนในตราสารหนี้โดยตรง มีภาระภาษีที่แตกต่างกับการลงทุนในตราสารหนี้ผ่านกองทุนรวม และเพื่อให้ภาระภาษีจากการลงทุนทั้ง 2 ประเภทดังกล่าวมีความสอดคล้องกัน จึงต้องปรับปรุงการจัดเก็บภาษีเงินได้จากกองทุนรวมที่ตั้งขึ้นตามกฎหมาย

ข้อมูลจากสมาคมบริษัทจัดการลงทุน (สมาคมบลจ.) ระบุว่า ณ สิ้นเดือนเม.ย. 2562 อุตสาหกรรมกองทุนรวมที่มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิอยู่ที่ 5.27 ล้านล้านบาท เฉพาะกองทุนรวมตราสารหนี้ มีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ (เอ็นเอวี) อยู่ที่ประมาณ 2.62 ล้านล้านบาท คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 50% ของทั้งอุตสาหกรรมกองทุนรวม

ดังนั้น การเก็บภาษีจากรายได้ดอกเบี้ยดังกล่าว คาดว่าจะทำให้ภาครัฐมีรายได้จากการจัดเก็บไม่ต่ำกว่า 2,000 ล้านบาทต่อปี โดยอยู่บนสมมุติฐานกองทุนรวมที่ลงทุนถือตราสารหนี้ระยะยาวได้รับอัตราดอกเบี้ยอยู่ที่ประมาณ 2% ต่อปี

รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาลแจ้งว่า ในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) 28 ส.ค.2561 ครม.มติเห็นชอบร่างพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (การจัดเก็บภาษีเงินได้จากการลงทุนในตราสารหนี้ผ่านกองทุนรวม)

โดยครั้งนั้นกระทรวงการคลังประเมินว่า ณ วันที่ 31 ต.ค.2560 มีกองทุนรวมถือครองตราสารหนี้ภาครัฐในประเทศรวม 553,712 ล้านบาท หากหากคำนวณจากอัตราดอกเบี้ยตราสารหนี้ภาครัฐในประเทศในปัจจุบันซึ่งอยู่ที่ประมาณ 2-3% บนสมมติฐานว่ากองหุนรวมต่าง ๆ มิได้เปลี่ยนแปลงนโยบายการลงทุน ภาครัฐจะมีรายได้ภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มขึ้นอย่างน้อยปีละ 1,600-2,500 ล้านบาท หากรวมดอกเบี้ยที่กองทุนรวมไต้รับจากตราสารหนี้ภาคเอกชนในประเทศและตราสารหนี้ต่างประเทศ จะมีรายได้ภาษีเงินได้นิติบุคคลเพิ่มขึ้นมากกว่าจำนวนดังกล่าว

อ่านเพิ่มเติม : http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2562/A/067/T_0103.PDF

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า