เพราะคำว่า อะไรก็ได้ อันตรายมากกว่าที่คุณคิด

บ่อยครั้งที่โดนเพื่อนร่วมงานขอให้ช่วยนั่น โดนเจ้านายบอกให้ทำนี่ คนนั้นคนนี้มาขอให้ทำอะไรให้หน่อย แทบทุกครั้งที่คำว่า ก็ได้ มักเป็นคำที่หลุดปากออกไป ทั้งที่ในใจอยากตะโกนดัง ๆ ว่า “ไม่อยากทำ!”

สำหรับบางคนเป็นเรื่องยากที่จะปฏิเสธให้กับอะไรสักอย่างเพราะไม่สะดวกใจจะทำ จนเกิดเป็นประโยคปลอบใจที่ว่า ‘บางครั้งเราก็ต้องยอมทำในสิ่งที่ไม่อยากทำ หรือไม่สะดวกใจเพื่ออยู่ในสังคมให้ได้’ และคำพูดพวกนี้ทำให้หลายคนจนมุม จนคำว่า ‘อะไรก็ได้’ กำลังคุกคามชีวิต

นักจิตวิทยาเตือนว่า ความที่ต้องการเอาใจทุกคน (People-Pleasing) จนกลายเป็นคนอะไรก็ได้จริงๆ แล้วจัดเป็นอาการทางจิตอย่างหนึ่ง ซึ่งส่งผลร้ายต่อสุขภาพจิตของคน ๆ นั้น แน่นอนว่า ตามทฤษฎีของมาสโลว์แล้ว หลายคนปรารถนาจะเป็นที่รัก ที่ชื่นชม และที่ยอมรับของคนอื่นๆ แต่สำหรับคนที่มีอาการอะไรก็ได้ความปรารถนานั้นจะส่งผลเสียต่อตนเอง จนบั่นทอนสุขภาพ ความคิด บุคลิกภาพ ดังนั้นคนเหล่านี้จึงอนุญาตให้ผู้อื่นใช้ประโยชน์จากตัวเอง

นักจิตวิทยาจำแนกบุคลิกของคนที่มีอาการ ‘อะไรก็ได้’ ว่าจะมีสัญญาณบ่งบอก ดังนี้

1.ทำเป็นเห็นด้วยกับคนอื่นบ่อยๆ (ทั้งที่บางทีในใจก็ไม่)

การฟังความคิดเห็นของผู้อื่นอย่างสุภาพ แม้จะไม่เห็นด้วย เป็นทักษะทางสังคมที่ดี แต่การแกล้งทำเป็นว่าคุณชอบเรื่องเหล่านั้น จะทำให้คุณมีพฤติกรรมที่ขัดแย้งกับค่านิยมของตัวเอง

2.เห็นใจและแคร์ความรู้สึกคนอื่นจนเป็นทุกข์เอง

การรับรู้ว่าพฤติกรรมของคุณมีอิทธิพลต่อคนอื่น ส่งผลให้คิดว่าคุณมีอำนาจที่จะทำให้คนอื่นรู้สึกไม่ดี แต่ในความจริงแล้วเรื่องเหล่านี้ขึ้นอยู่กับการรับผิดชอบในอารมณ์ของแต่ละคน

3.ใช้คำขอโทษบ่อย เพราะแบกเอาความรู้สึกคนอื่นมาด้วย

การขอโทษคนอื่นบ่อย ๆ ไม่ว่าปัญหาหรือเรื่องอะไรก็ตาม คุณมักจะตำหนิตัวเองก่อน หรือกลัวว่าคนอื่นจะโทษคุณ อาจส่งผลให้เกิดปัญหาต่อตัวเอง เพราะฉะนั้นคุณไม่ต้องเสียใจที่ได้เป็นคุณ

4.ใช้ความพยายามมากในการตอบ ‘ไม่!’ กับอะไรที่ไม่อยากทำ

ที่จริงแล้วการรับผิดชอบงานของคุณก็ค่อนข้างยุ่งยากอยู่แล้ว แต่มักใจดีกับคนอื่นเวลาถูกขอร้องให้ช่วย เพียงเพราะคิดว่าคนอื่นต้องการให้ทำให้

5.ไม่ค่อยยอมรับว่าตัวเองเจ็บปวด โกรธ เศร้า หรือผิดหวัง เพราะกลัวทำให้คนอื่นรู้สึกแย่

บ่อยครั้งเรื่องเหล่านี้จะทำให้คุณรู้สึกเหมือนไม่มีมิตรแท้ เพราะคุณคิดว่าไม่สามารถเล่าความรู้สึกในใจให้ใครฟังได้ กลัวว่าจะทำให้คนอื่นรู้สึกไม่ดีไปด้วย

6.ไม่ชอบการปะทะ แม้ในเรื่องที่จำเป็น เพราะกลัวภาวะอารมณ์เสีย

หลายครั้งที่คุณเลี่ยงความขัดแย้ง เพราะกลัวภาวะอารมณ์เสียทั้งจากตัวเองและคนอื่น ทำให้บางครั้งคุณเลือกที่จะยอมแพ้ดื้อ ๆ แต่ไม่ได้หมายความอย่างนั้นเสมอไป ถ้าเป็นสิ่งที่มั่นใจคุณจะสู้เต็มที่

 

นักจิตวิทยายังบอกอีกว่า ผลที่ตามมาจากความอยากจะเป็นที่รักที่ชื่นชอบของทุกคน คือ

  • อาจกลายเป็นโรควิตกกังวลและซึมเศร้าได้ เนื่องจากเก็บอารมณ์ร้ายไว้มากเกินไป เพราะไม่สามารถแสดงอารมณ์ออกมา กลัวว่าคนอื่นจะรู้สึกแย่กับเรา
  • อาจเป็นโรคเครียดเรื้อรัง จากการต้อง ‘Keep look’ อยู่ตลอดเวลา เพราะต้องการให้คนอื่นเห็นแต่ด้านดี
  • จะทำให้เรามีความเคารพในตัวเองต่ำและเปิดโอกาสให้คนอื่นใช้เป็นเครื่องมือ ทั้งที่บางครั้งก็รู้แหละว่าเขาหลอกใช้แต่ก็ยอม เพราะต้องการเป็นคนเข้ากับคนอื่นง่าย และอยากรู้สึกว่าเป็นที่ต้องการ
  • จะรู้สึกเหนื่อยล้ากับการรักษาสถานะนี้ไว้ เพราะที่จริงแล้วลึก ๆ ต้องการควบคุมคนอื่น แต่รู้สึกว่าตัวเองไร้อำนาจ ไร้ค่า เลยพยายามทำตัวเป็นคนที่นึกถึงคนอื่น
  • สูญเสียความเป็นตัวของตัวเอง รู้สึกไร้ตัวตน เหงา และโดดเดี่ยว เพราะทั้งหมดที่ทำเพื่อเอาใจคนอื่น ส่งผลให้ไม่มีใครรู้จักตัวตนจริงๆ จะเห็นก็เฉพาะด้านที่เราเปิดให้เห็นเท่านั้น

ไม่ได้บอกว่าการเป็นที่รัก ด้วยการเป็นคน ‘อะไรก็ได้’ และยอมตามใจคนอื่นเป็นเรื่องไม่ดี แต่ถ้าเราเป็นมากจนเกินไป แปลว่าเรากำลังทำร้ายตัวเองอยู่ เริ่มจากบางอย่างที่ ‘ช่างมัน’ บ้างก็ได้ ยืนยันในความเชื่อของตัวเอง และเลือกที่จะพูดออกคำว่า ‘ไม่’ ออกไปบ้าง ลองถามตัวเองละกันว่า การเป็นคนอะไรก็ได้ของเรา ตอนนี้ทำให้เราว้าวุ่นหรือทุกข์ใจอยู่บ้างไหม

 

ที่มา:  www.psychologytoday.com


เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

จริงหรือไม่? นอนน้อย กว่า6ชม. ร่างกายขาดน้ำ

ข้อควรรู้…ก่อนตัดสินใจผ่าตัด รังไข่

ทำไมรู้สึก เหนื่อยตลอดเวลา เกิดจากสาเหตุอะไร ?

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า