นอนเท่าไรก็ไม่พอ อาจเสี่ยงเป็นโรคร้ายโดยไม่รู้ตัว

“นอนเท่าไรก็ไม่พอ” ใครเคยรู้สึกว่าตัวเองกำลังเป็นแบบนี้อยู่บ้าง ? ไม่ว่าจะนอนไปกี่ชั่วโมง ก็ยังมีความรู้สึกง่วง หงาว หาว นอน อยู่ตลอดเวลา นั่งตรงไหนก็จะหลับ ทั้ง ๆ ที่ตอนกลางคืนก็นอนอย่างเต็มอิ่มมาแล้ว หรือมีความรู้สึกว่า ตอนตื่นขึ้นมาก็ยังมีความรู้สึกอยากจะนอนต่อ รู้สึกไม่สดชื่น ไม่แจ่มใส ถ้าคุณกำลังมีอาการแบบนี้อยู่ละก็ อาจจะเข้าข่ายโรคร้ายต่าง ๆ ได้

ก่อนอื่นเรามาเช็กกันดีกว่าว่าในแต่ละช่วงอายุ ควรนอนกันกี่ชั่วโมง

– เด็กแรกเกิด (อายุ 0-3 เดือน) ควรนอน 14-17 ชั่วโมง

– เด็กทารก (อายุ 4-11เดือน) ควรนอน 12-15 ชั่วโมง

– เด็ก (อายุ 1-2 ปปี) ควรนอน 11-14 ชั่วโมง

– วัยอนุบาล (3-5 ปี) ควรนอน 10-13 ชั่วโมง

– วัยประถม (6-13 ปี) ควรนอน 9-11 ชั่วโมง

– วัยมัธยม (14-17 ปี) ควรนอน 8-10 ชั่วโมง

– วัยรุ่น (18-25 ปี): ควรนอน 7-9 ชั่วโมง

– วัยทำงาน (26-64 ปี): ควรนอน 7-9 ชั่วโมง

– วัยชรา (65 ปีขึ้นไป) ควรนอน 7-8 ชั่วโมง

แต่ทั้งนี้เราสามารถปรับเวลาการนอนโดยการบวกลบได้ 1 ชั่วโมงนะคะ ไม่จำเป็นว่าจะต้องนอนตามแบบนี้ทุกครั้ง

สำหรับคนที่นอนครบชั่วโมงตามนี้แล้ว แต่ยังกลับรู้สึกว่าง่วงนอนอยู่นั้น จากการวิจัยพบว่าสาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้คุณนอนเท่าไรก็ไม่พอนั้น อาจเกิดขึ้นได้จากพันธุกรรมที่ถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น ซึ่งจากพันธุกรรมจะพบยีนตัวหนึ่งที่คอยควบคุมเวลาการนอน และการตื่นนอน ซึ่งยีนตัวนี้เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้บางคนนั้นต้องการเวลานอนที่แตกต่างจากคนทั่วไป แม้จะควบคุมเรื่องยีนไม่ได้แต่เราก็สามารถควบคุมปัจจัยอื่น ๆ เพื่อปรับสภาพการนอนของเราได้

เรามาดูกันต่อดีกว่าว่า ถ้าเรารู้สึกนอนไม่เท่าไรก็ไม่พอ จะมีโรคอะไรตามมาได้บ้าง

  1. โรคความผิดปกติด้านการนอนหลับ

หากคุณง่วงนอนทั้ง ๆ ที่นอนอย่างเพียงพอแล้ว อาจทำให้เกิดอาการหยุดหายใจระหว่างนอนหลับได้ แล้วด้วยสาเหตุนี้จะทำให้เราต้องสะดุ้งตื่นในตอนกลางคืน ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ร่างกายไม่ได้รับการพักผ่อนอย่างเต็มที่ ถึงแม้ว่าจะเรานอนครบชั่วโมงก็ตาม

  1. โรคเบาหวาน

คนที่เป็นโรคเบาหวานส่วนใหญ่มักมีความรู้สึกง่วงนอนอยู่ตลอดเวลา นั่นเป็นเพราะเลือดของเรากำลังมีปริมาณน้ำตาลอยู่ในภาวะที่สูง ส่งผลให้เราเกิดอาการง่วงนอน ถือเป็นการเตือนให้ร่างกายรู้ว่า ขณะนี้กำลังอยู่ในภาวะน้ำตาลในเลือดสูง และในอนาคตอาจจะเกิดภาวะร่างกายดื้ออินซูลินจากการนอนไม่พออีกด้วย

  1. โรคโลหิตจาง

ส่วนใหญ่แล้วโรคนี้จะเกิดขึ้นกับผู้หญิงเป็นส่วนใหญ่ เพราะผู้หญิงต้องสูญเสียเลือดจากการมีประจำเดือน ซึ่งอาจเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย รู้สึกง่วงนอน และต้องการนอนอยู่ตลอดเวลา แต่อาการเหล่านี้จะหมดไปหลังจากหมดประจำเดือนนั่นเอง

  1. โรคนอนเกิน

สำหรับโรคนี้จะเกิดได้ในคนที่ขี้เซา เพราะคนกลุ่มนี้จะรักการนอนเป็นอย่างมาก ยิ่งนอนเท่าไรก็จะยิ่งรู้สึกไม่พอ แล้วอยากนอนต่อไปเรื่อย ๆ เมื่อเป็นเช่นนี้เป็นประจำก็จะทำให้คนเหล่านี้ดูเฉื่อยชา ไร้ชีวิตชีวา เสพติดการนอน ไม่ค่อยอยากอาหาร และหมดกำลังใจที่จะทำอะไรต่อไป

  1. โรคซึมเศร้า

การที่เรานอนมากเกินไปจะทำให้ฮอร์โมนในร่างกายหลั่งสารเคมีที่ชื่อว่า “ซีโรโทนิน” และ “เอนดอร์ฟิน” (สารแห่งความสุข) ลดน้อยลง จนทำให้ร่างกายรู้สึกอ่อนเพลีย และทำให้ร่างกายต้องการนอนอยู่ตลอดเวลา จนเป็นสาเหตุทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าตามมา

ถ้าใครกำลังมีอาการแบบนี้อยู่ละก็ ไบรท์ออนไลน์ ก็มีวิธีแก้ไขดี ๆ มาฝากกันค่ะ

  1. ปรับเวลาการนอนและการตื่นนอนให้ตรงเวลา โดยปกติแล้วคนเราควรจะนอนก่อน 4 ทุ่ม แล้วตื่นประมาณ 6 โมงเช้า ถ้าทำตามนี้ได้ ร่างกายก็จะค่อย ๆ ฟื้นฟูตัวเองขึ้นมา จนทำให้คุณรู้สึกได้ถึงความสดชื่น และกระปรี้กระเปร่า
  2. ก่อนนอนทุกครั้งอย่าลืมอาบน้ำ ล้างหน้า แปรงฟันก่อนนอน ไม่ว่าคุณจะทำงานหนักมากแค่ไหน หรือขี้เกียจมากเพียงใด ก็อย่าลืมที่จะอาบน้ำก่อนนอน เพราะการที่เรานอนหลับทั้ง ๆ ที่ยังไม่ได้อาบน้ำ อาจส่งผลให้รู้สึกไม่สบายตัว และนอนไม่หลับได้
  3. ไม่ควรนอนในตอนกลางวัน เพราะจะทำให้ตอนกลางคืนนอนไม่หลับ ซึ่งอาจเป็นสาเหตุทำให้นาฬิกาชีวิตเราแปรปรวน จนทำให้ระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม จนเกิดอาการนอนเท่าไรก็ไม่พอตามมา

สำหรับใครที่มีอาการตามที่กล่าวมาข้างต้น ไบรท์ออนไลน์ อยากให้ลองปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการนอนดูนะคะ เผื่อว่าอาการเหล่านี้จะหายไป ถ้าหากไม่ได้ผลอย่างไรทางออกที่ดีที่สุดคือการไปพบแพทย์ค่ะ


เรื่องอื่น ๆ ที่น่าสนใจ

ทำไมรู้สึก เหนื่อยตลอดเวลา เกิดจากสาเหตุอะไร ?

เคล็ดลับฉีดน้ำหอม ให้ตัวหอมฟุ้งตลอดทั้งวัน

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า