ชาวบ้านตื่นตระหนก หลังพบคนในหมู่บ้านป่วยโรค“ชิคุนกุนยา” กว่าครึ่งหมู่บ้านเสียชีวิตแล้ว 1ราย

วันนี้ (2 ม.ค.62) ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งว่า ชาวบ้านในพื้นที่บ้านเกาะกลาง ต.คลองประสงค์ อ.เมือง จ.กระบี่ ตื่นตระหนกอย่างหนักหลังพบคนในหมู่บ้านป่วยด้วยโรคชิคุนกุนยา กว่าครึ่งหมู่บ้าน จึงเดินทางไปตรวจสอบข้อเท็จจริง

นายวิโชค โนทัย ชาวบ้านที่ป่วยด้วยโรคชิคุนกุนยา กล่าวว่า ขณะนี้โรคนี้เป็นที่หวั่นเกรงของชาวบ้านเป็นอย่างมากกลัวติดเชื้อ และไม่เข้าใจในสถานการณ์ของโรคที่กำลังระบาดอยู่ เนื่องจากไม่มีเจ้าหน้าที่ของรัฐลงมาให้ความรู้ชาวบ้าน และวิธีป้องกัน โดยเบื้องต้นพบว่า มีผู้ป่วยช๊อคเสียชีวิต ไป 1 ราย แต่ไม่ยืนยันว่าเกิดจากการป่วยด้วยโรคชิคุนกุนยาโดยตรง หรือมีโรคอื่นแทรกซ้อน สำหรับพื้นที่บ้านเกาะกลาง พบว่าขณะนี้มีผู้ป่วยด้วยโรคชิคุนกุนยา แล้วประมาณ 80% ของจำนวนคนที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้าน ประมาณ 2,000 คน ซึ่งป่วยกันเกือบทุกครัวเรือน

ด้านนายเจริญสุข ช่วยการ อายุ 41 ปี ชาวบ้านอีกราย กล่าวว่า สำหรับโรคชิคุนกุนยา มีการระบาดในพื้นที่บ้านเกาะกลางเป็นครั้งแรก ที่ผ่านมาไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ชาวบ้านส่วนใหญ่ จึงยังไม่รู้วิธีรักษา และการป้องกัน ทราบเพียงแต่ว่าโรคดังกล่าวมียุงลายเป็นพาหนะ เหมือนกับไข้เลือดออก เมื่อชาวบ้านเจ็บป่วยส่วนใหญ่ก็จะไปรักษาที่โรงพยาบาลประจำจังหวัด เนื่องจากอยู่ใกล้ นั่งเรือข้ามไปเพียง 10 นาที ก็ถึง สำหรับคนในครอบครัวของตน ป่วยด้วยโรคชิคุนกุนยา เกือบยกครัว เบื้องต้นยังไม่มีเจ้าหน้าที่สาธารณะสุขออกมารณรงค์ให้คำแนะนำ และบางพื้นที่ที่มีการแพร่ระบาดยังไม่มีการพ่นหมอกควันแต่อย่างใด

ขณะที่ทางเจ้าหน้าที่สาธารณะสุขประจำโรงพยาบาลชุมชนรายหนึ่งในพื้นที่ เปิดเผยว่า เบื้องต้นทางโรงพยาบาลชุมชน ได้รับรายงานจากโรงพยาบาลกระบี่ เพียง 1 ราย ที่ป่วยเป็นโรค
“ชิคุนกุนยา” ที่ผ่านมาไม่มีผู้ป่วย “ชิคุนกุนยา” ในพื้นที่เข้ารักษาและรับการตรวจ ซึ่งส่วนใหญ่เมื่อป่วยก็จะหายารับประทานเอง หาแพทย์ตามคลินิก หรือโรงพยาบาลกระบี่ จึงยากต่อการสำรวจ ในการระบาดของ


สำหรับโรค “โรคชิคุนกุนยา” เป็นโรคติดเชื้อไวรัสชิคุนกุนยาที่มียุงลายเป็นพาหะนำโรค มีอาการคล้ายไข้เดงกี แต่ต่างกันที่ไม่มีการรั่วของพลาสมาออกนอกเส้นเลือด จึงไม่พบผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงมากจนถึงมีการช็อก… ไม่มีการรักษาจำเพาะ ใช้การรักษาตามอาการ โดยเฉพาะอาการปวดข้อ

โรคชิคุนกุนยา หรือที่ชาวบ้านทางจังหวัดภาคใต้มักเรียกว่า โรคไข้ญี่ปุ่น หรือ โรคไข้คุณย่า จัดเป็นโรคที่กลับมาระบาดซ้ำ (re-emerging disease) โรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัสชิคุนกุนยา (Chikungunya virus, Buggy Creek หรือ CHIKV) ซึ่งเป็น RNA Virus สายบวก ชนิด single strand โดยจัดอยู่ใน genus alphavirus และ family Togaviridae ไวรัสดังกล่าวนี้มีความใกล้ชิดกับ O’nyong’nyong virus และ Ross River virus รวมทั้งไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคไข้สมองอักเสบ eastern equine encephalitis และ western equine encephalitis

เชื้อไวรัสนี้เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถทำงานได้ อันเนื่องมาจากอาการปวดข้อ มีไข้ และมีการออกผื่นบ้าง โดยโรคดังกล่าวได้มีการระบาดอย่างรุนแรงทางตอนใต้ของประเทศไทย ประเทศในแถบมหาสมุทรอินเดีย รวมถึงประเทศในแถบแอฟริกา

ข่าวล่าสุด

ดูทั้งหมด

นอล์ รี่ ควงฝ่ายชายแจงปม บุกตบคู่กรณี ยืนยันไม่ได้เป็นมือที่สาม

นอล์ รี่ มิสแกรนด์ ตรัง ควงฝ่ายชาย ไลฟ์ชี้แจงขอความเป็นธรรม หลังเกิดเหตุการณ์บุกตบคู่กรณีกลางงานสงกรานต์ ยืนยันไม่ใช่มือที่ 3

ชาวบ้านผงะ! เดินหาผัก แต่เจอซากทารก ถูกฝังกลบดิน ส่งกลิ่นเหม็นไปทั่ว

ชาวบ้านช็อก! เจอซากทารก อายุครรภ์ 5 เดือน ถูกฝั่งในหลุม ส่งกลิ่นเหม็นคลุ้งทั่ว ตร.เร่งหาตามตัวพ่อแม่ คาดเด็กเสียชีวิตไม่น้อยกว่า 48 ชั่วโมง

น้องไนซ์ เคลื่อนไหวแล้ว หลังสำนักพุทธจ่อสอบ ลั่น พร้อมคุยทุกข้อเท็จจริง

อาจารย์น้องไนซ์ นิรมิตเทวาจุติ เคลื่อนไหวแล้ว หลังสำนักพุทธ จ่อตรวจสอบ ลั่น วันนั้นจะไม่อยู่บ้าน แต่ขึ้นมา กทม. ให้ติดต่อมาได้เลยพร้อมคุย

ออกหมายจับ! ‘แก๊งยากูซ่า’ ฆ่าหั่นศพ ทางการญี่ปุ่น เผย มีประวัติอาญชากร

แก๊งยากุซ่า ถูกออกหมายจับแล้ว! หลังปิดโกดัง “ฆ่าหั่นศพ” เพื่อนร่วมชาติ นำไปทิ้งน้ำ ก่อนหลบหนี คาดไม่พอใจกันเรื่องส่วนตัว

ส่องความเคลื่อนไหว เบลล่า ราณี หลังมีข่าวลือ เดตหวาน หนุ่มไฮโซ CP

เบลล่า ราณี ออกมาเคลื่อนไหว ในสตอรี่อินสตาแกรมส่วนตัว หลังมีข่าวลือแพร่สะพัด ออกมาเดตหวานกับหนุ่มโฮโซทายาทซีพี
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า