สธ.ตั้งศูนย์ฉุกเฉิน-ขยายคลินิกมลพิษรับมือปัญหาฝุ่นละออง

สธ.สั่งตั้งศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุขรับมือปัญหาฝุ่นพิษ พร้อมพัฒนาคลินิกมลพิษทุกภูมิภาคเพื่อดูแลผู้ป่วยจากมลพิษ ระบุ 8 จังหวัดภาคเหนือ พบผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจทุกชนิดสูงสุด

นพ.สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวภายหลังการประชุมระบบวิดีโอคอนเฟอเรนซ์ร่วมกับนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด (นพ.สสจ.) เตรียมความพร้อมด้านสาธารณสุขกรณีฝุ่นละออง ว่า ขณะนี้ได้เตรียมพร้อมรับมือเรื่องฝุ่นละอองทั้งประเทศ ไม่ใช่แค่ภาคเหนือหรืออีสาน โดยได้ตั้งศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุขกรณีฝุ่นละอองขนาดเล็กในจังหวัดที่มีปัญหา เพื่อเฝ้าระวังอย่างเข้มข้น โดยเฉพาะพื้นที่สีเหลือง สีส้ม และสีแดงที่ต้องเฝ้าระวัง โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง นอกจากนี้ สธ.จะพัฒนาคลินิกมลพิษขึ้น เพื่อดูแลผู้ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหามลพิษเป็นพิเศษ โดยมีกรมการแพทย์เป็นผู้แนะนำ ซึ่งปัจจุบันคลินิกมลพิษมีอยู่ในโรงพยาบาลนพรัตนราชธานี จะกระจายไปยังโรงพยาบาลทั่วไป เบื้องต้นจะเป็นพื้นที่ที่มีปัญหาฝุ่นก่อน คือ ภาคเหนือ และอีสาน คาดว่าปีนี้จะดำเนินการได้ ซึ่งขณะนี้กรมการแพทย์จัดทำคู่มือจัดตั้งคลินิกมลพิษเพื่อให้โรงพยาบาลต่าง ๆ ไปเป็นแบบอย่างในการดำเนินการ สำหรับกลุ่มเสี่ยงหรือกลุ่มที่ต้องดูแลเป็นพิเศษ คือ ผู้ที่มีอาชีพอยู่กลางแจ้ง เด็กเล็ก หญิงตั้งครรภ์ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ และโรคระบบทางเดินหายใจ ทางสธ.ได้มอบหมายให้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) หรือทีมหมอครอบครัวจัดหน่วยออกไปเยี่ยมถึงบ้านเฉพาะกลุ่มเสี่ยงเหล่านี้อย่างเดียว

นพ.ขจรศักดิ์ แก้วจรัส รองอธิบดีกรมควบคุมโรค (คร.) กล่าวว่า จากการเฝ้าระวังสุขภาพผู้ป่วยที่เข้ามารับบริการที่โรงพยาบาลเครือข่ายการเฝ้าระวังโรคช่วงที่มีค่าฝุ่นละอองขนาดเล็กสูงขึ้นนั้น จากการเฝ้าระวังเขตสุขภาพที่ 1 ทางภาคเหนือ ประกอบด้วย 8 จังหวัด คือ เชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน พะเยา แพร่ น่าน ลำพูน และ ลำปาง ระหว่างวันที่ 3-9 มี.ค. 2562 โดยมีข้อมูลการเฝ้าระวังสุขภาพใน 4 กลุ่มโรค คือ โรคทางเดินหายใจทุกชนิด โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคตาอักเสบ และโรคผิวหนัง พบผู้ป่วยรวม 4 กลุ่มโรคจำนวน 22,000 ราย คิดเป็นอัตราป่วย 580 รายต่อแสนประชากร กลุ่มโรคที่พบมากสุด คือ โรคทางเดินหายใจทุกชนิดอัตราป่วย 285 รายต่อแสนประชากร โรคหัวใจและหลอดเลือดทุกชนิด อัตราป่วย 246 รายต่อแสนประชากร โรคตาอักเสบอัตราป่วย 24 รายต่อแสนประชากร และโรคผิวหนังอักเสบ 24 รายต่อแสนประชากร โดยกลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป มีรายงานป่วยในกลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือดหัวใจจำนวน 6,756 ราย และทางเดินหายใจทุกชนิด 2,766 ราย ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม จำนวนผู้ป่วยที่กำหนดเป็นจำนวนผู้ป่วยในกลุ่มโรคที่เฝ้าระวังทั้งหมด แต่ไม่ได้หมายความโรคทั้งหมดเกิดจากฝุ่นละออง เพราะถึงแม้จะไม่มีฝุ่นละอองก็ยังพบกลุ่มโรคเหล่านี้มาพบแพทย์อยู่ดี

พญ.พรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า สำหรับการแยกสีของพื้นที่ที่มีปัญหาจะมีเกณฑ์การเฝ้าระวังอยู่ ซึ่งหาก สีเหลือง ต้องเริ่มเฝ้าระวังในกลุ่มเสี่ยง สีส้ม ต้องเฝ้าระวังด้านสุขภาพในประชาชนทุกกลุ่ม และ สีแดง เป็นสีที่มีผลต่อสุขภาพทุกกลุ่ม อย่างไรก็ตาม สำหรับการดูแลตัวเองที่ดีที่สุด คือ ติดตามสถานการณ์ว่า ค่าฝุ่นมากน้อยแค่ไหน และเราอยู่ในกลุ่มไหน เป็นกลุ่มเสี่ยงหรือไม่ เพื่อจะได้ปฏิบัติตัวถูก และลดกิจกรรมการสัมผัสฝุ่นน้อยที่สุด ดูแลบ้านให้สะอาด และหากต้องออกจากบ้านให้สวมหน้ากากอนามัย แต่ถ้ามีอาการผิดปกติให้ปรึกษาแพทย์ทันที

ข่าวล่าสุด

ดูทั้งหมด

“เมษามหาโชค” เปิดดวง “ราศีพฤษภ” สาส์นจากไพ่พระพิฆเนศ

หมออาร์ต คเณชาพยากรณ์ เปิดไพ่รับสาส์นจากพระพิฆเนศ ทำนายดวง ราศีพฤษภ ประจำเดือนเมษายน 2567

ในที่สุด! จัดอันดับชื่อเสียงของแบรนด์ Idol Group ประจำเดือนเมษายน

ไม่ต้องกันนาน! กับประกาศอันดับชื่อเสียงของแบรนด์ Idol Group ประจำเดือนเมษายนนี้! ทำเอาลุ้นไปพร้อมกันว่าใครจะครองอันดับ 1 ในเดือนนี้!

Pick a card แนวโน้มของความสัมพันธ์นี้..? – DiSaurDecks

DiSaur Decks – ดิซอเดค เผย Pick a card แนวโน้มของความสัมพันธ์นี้..? อธิฐานแล้วเลือก 1 ใบที่ดึงดูดคุณมากที่สุด อ่านคำทำนายได้เลย!

จั๊กกะบุ๋ม เชิญยิ้ม พร้อมกราบขอขมา แม่ปูนา เผย ไม่เคยลืมบุญคุณคน!

จั๊กกะบุ๋ม เชิญยิ้ม เผย ไม่เคยลืมบุณคุณคน ถ้ามีโอกาสพร้อมกราบขอขมา แม่ปูนา ยินดีขอโทษกับสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมด 

“เมษามหาโชค” เปิดดวง “ราศีเมษ” สาส์นจากไพ่พระพิฆเนศ

หมออาร์ต คเณชาพยากรณ์ เปิดไพ่รับสาส์นจากพระพิฆเนศ ทำนายดวง ราศีเมษ ประจำเดือนเมษายน 2567
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า