“สุดารัตน์” คะแนนนำ “ประยุทธ์” เฉียดฉิว ปชช.อยากให้เป็นนายกฯคนต่อไป

“นิด้าโพล” เปิดผลสำรวจครั้งที่ 5 “สุดารัตน์” คะแนนนำ “บิ๊กตู่” เฉียดฉิว ปชช.หนุนเป็นนายกฯคนต่อไป จี้ เร่งแก้ไขปัญหาปากท้อง-หนี้สิน 50 % ไม่เชื่อมีเลือกตั้งก.พ.62

ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจความคิดเห็นของประชาชน เรื่อง “ประชาชนอยากได้ใครเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป ตามกฎหมายการเลือกตั้งปัจจุบัน (ครั้งที่ 5)” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 20 – 22 พฤศจิกายน 2561 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา และอาชีพทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,260 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับประชาชนอยากได้ใครเป็นนายกรัฐมนตรีคนต่อไป ตามกฎหมายการเลือกตั้งปัจจุบัน

จากการสำรวจเมื่อถามถึงพรรคการเมืองที่ประชาชนอยากให้เข้ามาเป็นรัฐบาลในการเลือกตั้งครั้งต่อไป พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 61.67 ระบุว่า พรรคการเมืองพรรคใหม่ ๆ เพราะ อยากเห็นการเปลี่ยนแปลง มีคนใหม่ ๆ นโยบายใหม่ ๆ แนวคิดใหม่ ๆ เข้ามาบริหารและพัฒนาประเทศ ขณะที่บางส่วนระบุว่า เบื่อการบริหารงานของพรรคการเมืองพรรคเก่า และร้อยละ 38.33 ระบุว่า พรรคการเมืองพรรคเก่า เพราะ มีความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ ชอบการบริหารงานแบบเก่า ๆ บริหารงานดีอยู่แล้ว การทำงานมีระบบ เคยเห็นผลงานมาแล้ว มั่นใจในผลงาน รู้จักและคุ้นเคยกับประชาชนเป็นอย่างดี มีความเข้าใจและสามารถแก้ไขปัญหาได้ดีกว่าพรรคการเมืองพรรคใหม่

ด้านบุคคลที่ประชาชนอยากให้เป็นนายกรัฐมนตรี ตามกฎหมายการเลือกตั้งปัจจุบัน (10 อันดับแรก) พบว่า ส่วนใหญ่ อันดับ 1 ร้อยละ 25.16 ระบุว่าเป็น คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (พรรคเพื่อไทย) รองลงมา อันดับ 2 ร้อยละ 24.05 ระบุว่าเป็น พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา (นายกรัฐมนตรี) อันดับ 3 ร้อยละ 14.52 ระบุว่าเป็น นายธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ (หัวหน้าพรรคอนาคตใหม่) อันดับ 4 ร้อยละ 11.67 ระบุว่าเป็น นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์) อันดับ 5 ร้อยละ 6.90 ระบุว่าเป็น พล.ต.อ. เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส (หัวหน้าพรรค เสรีรวมไทย) อันดับ 6 ร้อยละ 5.32 ระบุว่าเป็น พล.ต.ท.วิโรจน์ เปาอินทร์ (หัวหน้าพรรคเพื่อไทย) อันดับ 7 ร้อยละ 4.29 ระบุว่าเป็น นายชวน หลีกภัย (อดีตนายกรัฐมนตรี) อันดับ 8 ร้อยละ 1.35 ระบุว่าเป็น หม่อมราชวงศ์จัตุมงคล โสณกุล (หัวหน้าพรรครวมพลังประชา ชาติไทย) อันดับ 9 ร้อยละ 1.19 ระบุว่าเป็น นายอุตตม สาวนายน (หัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ) และอันดับ 10 ร้อยละ 1.11 ระบุว่าเป็น นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ (รองนายกรัฐมนตรี)

เมื่อถามถึงพรรคการเมืองที่ประชาชนอยากให้ได้คะแนนเสียงมากที่สุด และเป็นแกนนำในการจัดตั้งรัฐบาล (10 อันดับแรก) พบว่า ส่วนใหญ่ อันดับ 1 ร้อยละ 31.75 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย อันดับ 2 ร้อยละ 19.92 ระบุว่าเป็น พรรคพลังประชารัฐ อันดับ 3 ร้อยละ 16.98 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์ อันดับ 4 ร้อยละ 15.63 ระบุว่าเป็น พรรคอนาคตใหม่ อันดับ 5 ร้อยละ 5.32 ระบุว่าเป็น พรรคเสรีรวมไทย อันดับ 6 ร้อยละ 2.14 ระบุว่าเป็น พรรคชาติไทยพัฒนา อันดับ 7 ร้อยละ 1.83 ระบุว่าเป็น พรรคไทยรักษาชาติ อันดับ 8 ร้อยละ 1.67 ระบุว่าเป็น พรรครวมพลังประชาชาติไทย อันดับ 9 ร้อยละ 1.35 ระบุว่าเป็น พรรคภูมิใจไทย และอันดับ 10 ร้อยละ 0.79 ระบุว่าเป็น พรรคพลังชาติไทย

ส่วนปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่ใช้ในการตัดสินใจลงคะแนนเสียงเลือกตั้งให้ผู้สมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) พบว่า ประชาชน ส่วนใหญ่ ร้อยละ 44.21 ระบุว่า เป็นบุคคลที่มีผลงานประจักษ์ ทำประโยชน์ในพื้นที่หรือต่อประเทศไทย รองลงมา ร้อยละ 33.33 ระบุว่า ชอบพรรค/นโยบายของพรรค ที่ผู้สมัครสังกัด ร้อยละ 10.24 ระบุว่า ต้องการได้ ส.ส. หน้าใหม่ ร้อยละ 7.94 ระบุว่า ชื่นชอบเป็นการส่วนตัว (เช่น บุคลิก หน้าตา ท่าทาง มีแนวคิดคล้ายตนเอง เป็นคนบ้านเดียวกัน เป็นต้น) ร้อยละ 1.75 ระบุว่า ต้องการได้นายกรัฐมนตรี ตามมติของพรรคที่ผู้สมัครสังกัด ร้อยละ 1.35 ระบุว่า เป็นอดีต ส.ส. หรือ นักการเมืองในพื้นที่ หรือ เป็นญาตินักการเมืองเดิมในพื้นที่ ร้อยละ 0.63 ระบุว่า ผู้สมัครสังกัดพรรคที่อยู่ตรงข้ามกับพรรคที่ตนเองไม่ชอบ และร้อยละ 0.55 ระบุว่า ผู้สมัครสังกัดพรรคที่จะได้เป็นรัฐบาลแน่นอน

สำหรับปัญหาที่อยากให้นายกคนต่อไปเข้ามาแก้ไขมากที่สุด พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 44.13 ระบุว่า ปัญหาปากท้องและหนี้สินของประชาชน รองลงมา ร้อยละ 28.81 ระบุว่า ปัญหาราคาพืชผลตกต่ำ ร้อยละ 9.21 ระบุว่า ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชัน การใช้อำนาจโดยมิชอบ ผู้มีอิทธิพล ร้อยละ 5.08 ระบุว่า ปัญหายาเสพติด อาชญากรรม มิจฉาชีพ ร้อยละ 5.00 ระบุว่า ปัญหาการควบคุมราคาสินค้า ร้อยละ 2.62 ระบุว่า ปัญหาการว่างงานและแรงงานนอกระบบ และปัญหาด้านคุณภาพการศึกษาของเด็กไทยในปัจจุบัน ในสัดส่วนที่เท่ากัน ร้อยละ 1.11 ระบุว่า ปัญหาด้านสุขภาพการรักษาพยาบาล และการคุ้มครองความเสี่ยงของผู้บริโภค และร้อยละ 1.42 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ ปัญหาด้าน การคมนาคม ความสามัคคีปรองดองของคนในชาติ ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางสังคม ปัญหาด้านการบังคับใช้กฎหมาย และระบบงานราชการ

ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงความเชื่อมั่นว่าจะมีการเลือกตั้ง ภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2562 โดยไม่มีการเลื่อนออกไปอีก พบว่า ประชาชน ส่วนใหญ่ ร้อยละ 50.71 ระบุว่า ไม่เชื่อมั่น เพราะหลายพรรคการเมืองยังไม่พร้อม ไม่ชัดเจนในหลาย ๆ เรื่อง มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ขณะที่บางส่วนระบุว่า เลื่อนการเลือกตั้งมาแล้วหลายครั้งเลยทำให้ขาดความเชื่อมั่น รองลงมา ร้อยละ 48.81 ระบุว่า เชื่อมั่น เพราะ สถานการณ์ทางการเมืองเริ่มเข้าสู่สภาวะปกติ เป็นไปตามโรดแมปที่รัฐบาลวางไว้ มีการประกาศให้ทราบโดยทั่วกันแล้วถึงกำหนดการเลือกตั้ง และเชื่อมั่นในความสามารถและความพร้อมของรัฐบาล และร้อยละ 0.48 ไม่ระบุ/ไม่แน่ใจ

ข่าวล่าสุด

ดูทั้งหมด

เปิดคลิป! นาทีผู้โดยสาร รถไฟฟ้าสายสีเหลือง เดินลงบนราง หลังเกิดเหตุขัดข้อง

นาทีระทึก รถไฟฟ้าสายสีเหลืองเกิดเหตุขัดข้อง อะไหล่หลุดตกเกลื่อนถนน จนผู้โดยสารต้องลงเดินบนรางเพื่อไปที่สถานที

“อาจารย์เบิร์ด” ชี้ 4 วันเกิด การงาน – การเงิน รุ่งเรือง สำเร็จผล

อาจารย์เบิร์ด ธีรพงศ์ เผย ดวงเมษายน 2567 : 4 วันเกิด เป็นคนขยัน การเงินจะไม่ติดขัด มีเกณฑ์มีเงินก้อน มีโชคลาภเข้ามา

ปังเกิน! aespa เตรียมปล่อยเพลง ‘Get Goin’ สำหรับซีรีย์ ‘Fraggle Rock’ ของ Apple TV+

aespa ฮอตสุด ๆ จนหยุดไม่อยู่ เตรียมปล่อยเพลงประกอบซีรีส์เรื่อง ‘Fraggle Rock: Back to the Rock 2’ ของทาง Apple TV+

เจนี่ เทียนโพธิ์สุวรรณ โพสต์ครั้งแรก หลังถูกโยงข่าวลือ นางเอกหย่าสามี ?!

เจนี่ เทียนโพธิ์สุวรรณ เคลื่อนไหวโพสต์อินสตาแกรมครั้งแรก หลังถูกโยงข่าวลือ นางเอกเบอร์ใหญ่ย่องเซ็นใบหย่ากับสามี

ว๊ายตายแล้ว! ผญบ.ฟินแลนด์ ปาช็อตคู่ เบสท์ รักษ์วนีย์ งานนี้ FC จับจิ้นสนั่น

อุ๊ย! ผู้ใหญ่บ้านฟินแลนด์ ปาโมเมนต์น่ารักคู่ เบสท์ รักษ์วนีย์ ขณะถ่ายทำรายการ รถรับผู้ งานนี้แฟนคลับแห่จับจิ้นสนั่น

จักรภพ เปิดใจ! หลังได้รับการประกันตัว ยอมรับคุยกับทักษิณ 1 ครั้ง

จักรภพ เปิดใจ หลังได้รับการประกันตัว 2 คดี พร้อมกลับมารับใช้ชาติ หากรัฐบาลทาบทาม ยอมรับคุยกับทักษิณครั้งนึงแล้ว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า