เปิดศึกชิงเก้าอี้ “ประธานสภาฯ” เวทีเดิมพันอำนาจ “คสช.”

รายงานพิเศษ : ส่องยกแรกชิงเก้าอี้ “ปธ.สภา” วัดขุมกำลัง “พลังประชารัฐ-ประชาธิปัตย์-ภูมิใจไทย” เดิมพันท่ออำนาจ “คสช.”

กางปฏิทิน 24 พ.ค. นับหนึ่งสู่การเลือกประธานวุฒิสภา(ส.ว.) และรองประธาน ส.ว.อีก 2 คน จาก 250 รายชื่อที่ได้รับการโปรดเกล้าฯ โดยชื่อ “พรเพชร วิชิตชลชัย” อดีตประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ในฐานะหนึ่งในบุคคลที่ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกฯ และหัวหน้า คสช. ให้ความไว้ใจมากที่สุดคนหนึ่งในแม่น้ำทั้ง 5 สาย จะได้รับตำแหน่งประธาน ส.ว. ส่วนเก้าอี้รองประธาน ส.ว.ยังแข่งขันระหว่างชื่อ “สุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย” อดีตรองประธาน สนช. “พล.อ.สิงห์ศึก สิงห์ไพร” เพื่อนสนิทนายกฯ “พล.ต.อ.ชัชวาลย์ สุขสมจิตร์” และ “ศุภชัย สมเจริญ” อดีต กกต.

แต่ไฮไลท์สำคัญทางการเมืองยังโฟกัสไปที่การคัดเลือก “ประธานสภาผู้แทนราษฎร” ในวันที่ 25 พ.ค. ซึ่งขณะนี้ยังอยู่ในสถานการณ์ฝุ่นตลบ จากการเจรจาไม่ลงตัวจาก 3 ขั้วเพื่อตั้งรัฐบาล สะเทือนมาถึงการเลือกประธานสภาฯ ในฐานะประธานรัฐสภาโดยตำแหน่ง เพราะชื่ออย่าง “สุชาติ ตันเจริญ” ส.ส.ฉะเชิงเทรา หรือ “วิรัช รัตนเศรษฐ” ส.ส.บัญชีรายชื่อจากพลังประชารัฐ จนถึงนาทีนี้ยังไม่นิ่งมากพอจะสยบความเคลื่อนไหวทุกอย่างได้

“สุชาติ ตันเจริญ” ส.ส.ฉะเชิงเทรา พรรคพลังประชารัฐ

เมื่อการแก้เกมของฝั่ง “เพื่อไทย-อนาคตใหม่” ได้เปิดดีลพิเศษเพื่อดึง “ประชาธิปัตย์-ภูมิใจไทย” มาร่วมตั้งรัฐบาล โดยเปิดทางเก้าอี้ประธานรัฐสภา ท่ามกลางกระแสว่า บัญญัติ บรรทัดฐาน” อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ อยู่ในแคนดิเดทประธานรัฐสภา

เพราะ “เพื่อไทย” มองข้ามช็อตไปว่าเกมในสภาที่จะระอุเต็มพิกัดไม่ว่าขั้วอำนาจใดจะมาเป็นรัฐบาล สภาพการณ์ในรัฐสภาจะเป็นอีกหนึ่งเวที “ปะทะ” ทางการเมือง ดังนั้นหากขั้วอำนาจได้คว้าเก้าอี้ประธานสภาฯ ได้สำเร็จ ย่อมถือความได้เปรียบต่อการ “คุมเกม” สภาให้พรรคการเมือง จึงเป็นที่มาของกระแสที่ชัดเจนว่า “พลังประชารัฐ” ไม่อยากปล่อยให้ตำแหน่งประธานสภาฯ ตกเป็นของพรรคการเมืองอื่น

“บัญญัติ บรรทัดฐาน” อดีตหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์

หาก “พล.อ.ประยุทธ์” มีโอกาสกลับมาเป็นนายกฯอีกครั้ง เวทีในสภาต้องมีประธานสภาฯ เป็นคนของพลังประชารัฐ เพื่อคอย “ประคอง-ตัดเกม” โดยเฉพาะเวที “อภิรายไม่ไว้วางใจ” ที่ฝ่ายค้านจะดาหน้าตรวจสอบ พล.อ.ประยุทธ์อย่างดุเดือด ในบริบทที่หัวโขนหัวหน้า คสช.หายไป โดยไม่มี “ม.44” เหลือไว้คุ้มครอง

เชื่อได้ว่าการเลือกประธานสภาฯ วันที่ 25 พ.ค.จะเป็นสัญญาณแรกที่เห็นถึงสถานการณ์ “เสียงโหวต” ก่อนถึงเวทีเลือกนายกฯ เพราะการเลือกประธาน-รองประธานสภาฯ ยังอยู่ในอำนาจ ส.ส.ทั้ง 500 คน ไม่ได้เกี่ยวข้องกับเสียง ส.ว.ทั้ง 250 คน ดังนั้นเสียงจาก ส.ส.โดยตรงตั้งแต่ ขั้ว “พลังประชารัฐ-รวมพลังประชาชาติไทย-ประชาชนปฏิรูป–รักษ์ผืนป่าประเทศไทย-พลังท้องถิ่นไท และ 11 พรรคเล็ก” ที่ยังยืนอยู่ที่ 137 เสียง ยังไม่มากพอจะมั่นใจได้ว่า พลังประชารัฐจะส่งคนของตัวเองเข้าไปเป็นประธานสภาฯได้สำเร็จ

พรรคพลังประชารัฐ รวมเสียง 11 ส.ส.จาก 11 พรรคการเมือง

เพราะ “ตัวแปร” 116 เสียงในมือ “ประชาธิปัตย์-ภูมิใจไทย-ชาติไทยพัฒนา-ชาติพัฒนา” ยังดึงเกมเพื่อใช้ “ต่อรอง” ทางการเมืองในกระทรวงสำคัญ จนถึงโควต้าประธานสภาฯ หรือรองประธานสภาฯ แต่อย่าลืมว่า “245 เสียง” จาก 7 พรรคพันธมิตร ตั้งแต่ “เพื่อไทย-อนาคตใหม่-เสรีรวมไทย-ประชาชาติ-เศรษฐกิจใหม่-เพื่อชาติ-พลังปวงชนไทย” ยังมีน้ำหนักที่สุดจะเลือกโหวตให้พรรคใดได้เก้าอี้ประธานสภาฯ ไปด้วย

แน่นอนว่า “กำลังรบ” 245 เสียงไม่น่าจะเล็ดลอดไปถึง “พลังประชารัฐ” หากยัง “กุมสภาพ” กลุ่มงูเห่าไม่ให้ออกมาอาละวาดในสภาได้ ทำให้เห็น “ดีลเฉพาะกิจ” จาก “เพื่อไทย-อนาคตใหม่” ยอมแลกไปสนับสนุนตัวแทนจาก “ภูมิใจไทย-ประชาธิปัตย์” เพื่อมาคุมเกมในสภา มากกว่าจะเห็นชื่อตัวแทนจากพลังประชารัฐ เพื่อหยุดอำนาจ “คสช.” ผ่านระบบรัฐสภา

ที่สำคัญสเป็ค “ประมุขฝ่ายนิติบัญญัติ” ในชั่วโมงนี้ ต้องเป็น “กำแพงด่านแรก” ให้นายกฯ และส.ส.ภายในพรรคของตัวเอง เพื่อสกัดฝ่ายตรข้ามที่เตรียมทำหน้าที่ตรวจสอบฝ่ายบริหารอย่างเข้มข้น

พรรคเพื่อไทย ลงนามสัตยาบันรวมเสียง 6 พรรคการเมือง

แต่ในสถานการณ์ยุคนี้ “ประธานรัฐสภา” คนใหม่ ต้องแบกรับหน้าที่มากกว่าการปกป้องประโยชน์จากพรรค จากกระแสที่สังคมคาดหวังเห็นบทบาท ส.ส.แต่ละพรรคทำหน้าที่ตรงไปตรงมา เพื่อให้เวทีสภาฯ เป็นทางออกให้บ้านเมือง มากกว่าความขัดแย้งบนถนน จากเดิมที่เวที “รัฐสภา” ถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมือง เพื่อผลประโยชน์พวกพ้องจนนำประเทศกลับไปสู่ทางตันมาแล้ว

ยิ่งอีกช่วงใกล้การพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563 ซึ่งปกติจะเข้าสู่วาระแรกในช่วงต้นเดือน มิ.ย.ของทุกปี แต่ขณะนี้คาดว่ากระบวนการจะล่าช้าไปจากเดิม จนกว่า “สภาชุดใหม่” จะนัดประชุมเพื่อพิจารณาร่างพ.ร.บ.ฉบับนี้ ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้นจะได้เห็นบทบาทรัฐสภาทำหน้าที่เพื่อเป็นทางออกให้ประเทศ หรือกลับไปสู่วังวนความขัดแย้งที่ไม่รู้จักจบสิ้น

ข่าวล่าสุด

ดูทั้งหมด

Pick a card คนรอบข้างมองเราแบบไหน..? – DiSaurDecks

DiSaur Decks – ดิซอเดค เผย Pick a card คนรอบข้างมองเราแบบไหน…? อธิฐานแล้วเลือก 1 ใบที่ดึงดูดคุณมากที่สุด อ่านคำทำนายได้เลย!

ลุ้น! “กงยู”-“ซงฮเยคโย” พิจารณาซีรีส์ใหม่ ของผู้กำกับชื่อดัง Coffee Prince

นักแสดงซุปเปอร์สตาร์ “กงยู” และ “ซงฮเยคโย” กำลังพิจารณาซีรีส์เรื่องใหม่ โดยผู้กำกับ “Coffee Prince” และผู้เขียนบทมือทอง

เพลง รมิดา ตอบกลับ หลังถูกกล่าวหา เป็นเมียน้อย ครูไพบูลย์ ล่าสุดกระแสตีกลับ ?

ล่าสุด เพลง รมิดา ได้ออกมาตอบกลับคอมเมนต์ที่เธอถูกกล่าวหาว่า “เป็นเมียน้อย ครูไพบูลย์ แสงเดือน” แต่เจอกระแสตีกลับ ?!

มามุง! เพจดังเมาท์สนั่น ดาราสาวตัวย่อ ม. เตรียมลาวงการแล้ว ?

ขาเผือกมุงด่วน! เพจดังเมาท์สนั่น ดาราสาวตัวย่อ ม. มีข่าวลือเตรียมลาวงการ ? แถมหมอดูยังทัก มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่

Seventeen – Twice ขึ้นคอนเสิร์ต Nissan Stadium เวทีในฝันของศิลปินทุกคน

Seventeen และ Twice ได้ขึ้นแสดงคอนเสิร์ตที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น Nissan Stadium ด้วยเวทีในฝันของศิลปิน K-pop หลายคน

ดาราสาว ตัดพ้อไม่ชอบตัวเอง! หลังเกิดอาการป่วย จนต้องแอดมิท

ดาราสาวชื่อดัง ตัดพ้อกลางโซเชียล ไม่ชอบตัวเอง! หลังเกิดอาการป่วย จนต้องแอดมิทเข้าโรงพยาบาล
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า