ตอบทุกข้อสงสัย! เด็ก 12-18 ปี ฉีดวัคซีนไฟเซอร์ ได้หรือไม่ ผลข้างเคียงอันตรายแค่ไหน?

สำหรับในประเทศไทยตอนนี้วัคซีนโควิด19 ถือว่าเป็นอาวุธสำคัญ ในการดำรงชีวิต ช่วยลดอาการเจ็บป่วยรุนแรง และเสียชีวิตได้ โดยในปัจจุบัน วัคซีนโควิด19 ที่สามารถฉีดได้ในเด็ก 12-18 ปี มีเพียง 2 ตัว นั้นก็คือ ซิโนฟาร์ม ที่เป็นวัคซีน ชนิดเชื้อตาย และ ไฟเซอร์ ที่เป็นวัคซีน ชนิด mRNA 

ทั้งนี้ก็ยังมีผู้ปกครองหลาย ๆ ท่าน รวมถึงตัวเด็ก ๆ เอง เกิดคำถามและข้อสงสัยว่า การฉีดวัคซีนให้เด็ก มีความปลอดภัยมากแค่ไหน มีความเสี่ยง มากกว่าที่จะไม่ฉีดหรือไม่

จากการศึกษาข้อมูลพบว่า ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย ได้ออกประกาศฉบับล่าสุดเมื่อวันที่ 7 ก.ย.ที่ผ่านมา เกี่ยวกับคำแนะนำการฉีดวัคซีน COVID-19 สําหรับเด็กและวัยรุ่นอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป โดยระบุว่า

ข้อมูลการติดโควิด-19 ของเด็กอายุน้อยกว่า 18 ปี ในประเทศไทย แม้สัดส่วนการติดเชื้อจะมีสูงขึ้น แต่ผู้ป่วยเด็กส่วนใหญ่มักไม่รุนแรงและมีอัตราการเสียชีวิตน้อยมาก และพบการเสียชีวิตเกือบทั้งหมดในเด็กที่มีโรคประจําตัวเรื้อรัง ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทําให้เกิดโรคโควิด-19 ที่รุนแรงร่วมด้วย

ดังนั้น คําแนะนําเพิ่มเติมในการฉีดวัคซีนโควิด-19 สําหรับเด็กและวัยรุ่นอายุ ตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไป มีดังนี้

  • แนะนําให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ที่ได้รับการรับรองให้ใช้ในเด็กและวัยรุ่นอายุตั้งแต่ 12 ปีขึ้นไปโดยองค์การอาหารและยาเท่านั้น ซึ่งในขณะนี้ (ณ วันที่ 7 กันยายน 2564) มีเพียงชนิดเดียวคือ วัคซีนชนิด mRNA ของ Pfizer-BioNTech (ในปัจจุบันยังมี วัคซีนซิโนฟาร์ม ที่สามารถฉีดในเด็กได้)
  • แนะนําให้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ในเด็กและวัยรุ่นอายุตั้งแต่ 16 ปีจนถึงน้อยกว่า 18 ปีทุกราย หากไม่มีข้อห้ามในการฉีด ทั้งเด็กที่ปกติแข็งแรงดีและที่มีโรคประจําตัวเรื้อรังที่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทําให้เกิดโรคโควิด-19 ที่รุนแรง เพราะเป็นกลุ่มอายุที่กําลังเติบโตเป็นผู้ใหญ่ มีการดําเนินชีวิตใกล้เคียงกับผู้ใหญ่ และมีข้อมูลเรื่องประสิทธิภาพและความปลอดภัยของวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 มากเพียงพอ

เนื่องจากมีรายงานการเกิดผลข้างเคียง กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบภายหลังการฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด19 ชนิด mRNA ซึ่งพบในอัตราที่ต่ำมาก จึงแนะนําให้เด็กและวัยรุ่นทุกราย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเด็กและวัยรุ่นชายที่ได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด19 ทั้งโดสที่ 1 และ 2 ควรงดการออกกําลังกายหรือการทํากิจกรรมอย่างหนักเป็นเวลาหนึ่งสัปดาห์ภายหลังจากการฉีดวัคซีน

และในเวลาดังกล่าวนี้หากมีอาการเจ็บแน่นหน้าอก หายใจเหนื่อยหรือหายใจไม่อิ่ม ใจสั่นหน้ามืด เป็นลม ควรรีบไปพบแพทย์ โดยหากแพทย์สงสัยภาวะกล้ามเนื้อหัวใจหรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ ควรพิจารณาทําการตรวจค้นเพิ่มเติม

ทั้งนี้แม้ว่าจะมีข้อกังวลเกี่ยวกับผลข้างเคียงการฉีดวัคซีนที่จะทำให้กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบนั้น ในประเทศไทยพบว่า หลังจากฉีดไปแล้วเกือบ 9 แสนราย มีรายงานเพียง 1 ราย ในเด็กอายุ 13 ปี รักษาหายแล้ว ถือว่าวัคซีนมีความปลอดภัย แม้ข้อมูลทั่วโลกพบว่าเกิดในระดับต่ำ ขณะที่การเกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบจากการติดเชื้อพบสูงกว่าถึง 6 เท่า ในภูมิภาคเอเชียพบเพียง 2-3 รายต่อแสนประชากร

ขอบคุณข้อมูลจาก

นายแพทย์เฉวตสรร นามวาท ผู้อำนวยการกองควบคุมโรคและภัยสุขภาพในภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค

ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทยและสมาคมกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า