ไทยชนะ วานนี้ (4 มิ.ย. 63) นาย ณัฐพงษ์ เรืองปัญญาวุฒิ พรรคก้าวไกล โพสต์เฟซบุ๊กหลังเข้าร่วมประชุมใน กมธ.สื่อสารและดิจิทัลฯ เพื่อสอบถามในประเด็นเกี่ยวกับแพลตฟอร์ม “ไทยชนะ” ที่ในวันนี้มีตัวแทนจากผู้พัฒนาระบบ และตัวแทนจากกระทรวงดิจิทัลฯ เข้าชี้แจง

โดย ระบุว่า “ผมได้ตั้งคำถามทั้งสิ้น 4 คำถาม ใน 2 กรอบหลัก ที่เป็นปัจจัยสำคัญต่อความสำเร็จในแพลตฟอร์มลักษณะนี้เพื่อรับมือกับการแพร่ระบาดของคลื่นลูกต่อ ๆ ไปหลังเริ่มเปิดเมือง นั่นก็คือ “ความเชื่อมั่น” ของประชาชน และ “การบูรณาการ” ใหัเกิดฐานผู้ใช้เดียวกัน

3คำถามแรก กับประเด็น ความเชื่อมั่น ต่อแพลตฟอร์มไทยชนะ

(คำถามเปิดที่ผมให้ไว้ในห้องประชุม กมธ.)

” จากกระแสข่าวที่เกิดขึ้น ว่าประชาชนยัง ‘ขาดความเชื่อมั่น’ ต่อแพลตฟอร์ม ‘ไทยชนะ’ เห็นได้จากทั้งกรณีที่มีคนไม่ยอมสแกน หรือไม่ยอมให้ข้อมูลจริงต่อรัฐบาลเป็นจำนวนมาก ทำให้สุดท้ายแล้วแพลตฟอร์มนี้ก็ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร

ซึ่งสิ่งเดียวที่จะทำให้ประชาชนเกิดความเชื่อมั่นได้ก็คือ ความโปร่งใส ทั้งในแง่ของการพัฒนาระบบและในแง่ของการนำข้อมูลไปใช้งาน ผมจึงอยากตั้ง 3 คำถามแรกเพื่อสอบถามทางผู้ชี้แจงก่อนดังนี้ครับ “

1) ทีมพัฒนามีส่วนเกี่ยวข้องใด ๆ กับการประชุมที่มีกระทรวงกลาโหมเป็นเจ้าภาพในการเรียกหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น DE, สธ., กสทช., และผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือ (TELCO) ต่าง ๆ เข้าร่วมประชุมเพื่อปรึกษาหารือเกี่ยวกับการจัดส่งข้อมูลประวัติการเดินทางของผู้ใช้บริการหมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่โดยอ้างอิงตามเสาสัญญาณของเครือข่าย ตามหนังสือเลขที่ กห0207/1589 ลงวันที่ 18 เม.ย. 63 หรือไม่?

2) แพลตฟอร์ม ‘ไทยชนะ’ มีการเปิดเผย “รหัสต้นฉบับ (source code)” เพื่อให้ประชาชนสามารถเข้าไปตรวจสอบได้หรือไม่ ว่าตัวระบบได้ถูกพัฒนาตามแนวทางการรักษาความปลอดภัยและการรักษาข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชนตามที่ท่านได้กล่าวอ้างไว้จริง?

3) ในส่วนของ ‘การนำข้อมูลไปใช้’ ท่านมีมาตรการอย่างไรเพื่อให้ความเชื่อมั่นกับประชาชนได้ว่า หน่วยงานของรัฐจะไม่นำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์อื่นใดจากที่ท่านได้ระบุไว้ใน “ข้อตกลงความเป็นส่วนตัวข้อมูลผู้ใช้ (User Data Privacy Agreement)” เช่น มีการตั้ง “คณะกรรมการธรรมาภิบาลข้อมูล (Data Governance Committee)” ที่ประกอบไปด้วยตัวแทนจากทุกภาคส่วนเพื่อกำกับดูแลการใช้ประโยชน์จากข้อมูลชุดนี้ให้เกิดความโปร่งใสหรือไม่ ฯลฯ ?

(คำตอบจากผู้ชี้แจงตามที่ผมสรุปความได้)

(1) ทางทีมพัฒนาไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใด ๆ กับการประชุมครั้งนี้

(2) ในส่วนการเปิดเผย รหัสต้นฉบับ (source code) ทางทีมพัฒนาได้เปิดให้มีการทำ “วิศวกรรมย้อนกลับ (reverse engineering)” อยู่แล้ว และคิดว่าบางครั้งการเปิดเผย source code อาจทำให้ระบบถูกตรวจพบช่องโหว่ได้ง่ายขึ้น อาจไม่มีความปลอดภัย ดังจะเห็นได้จากหลายกรณี เช่น ในแอปของธนาคารต่าง ๆ อย่าง mobile banking ที่มีความปลอดภัยค่อนข้างสูง ก็ไม่ได้มีการเปิดเผย source code แต่อย่างใด

(3) ในขณะนี้มีการตั้งคณะกรรมการชุดนี้ขึ้นมากำกับดูแลการใช้งานอยู่แล้ว ซึ่งกำลังประชุมปรึกษาหารือในเรื่องนี้อยู่ในวันนี้/ขณะนี้พร้อม ๆ กับที่ กมธ. ชุดนี้กำลังประชุมอยู่

(คำถามต่อเนื่องที่ผมซักถามต่อหลังจากได้รับคำตอบในชุดแรก)

” อยากให้ทราบตรงกันว่าสิ่งที่พวกเรากำลังตั้งคำถามกันอยู่ในห้องประชุมแห่งนี้ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ในการถกเถียงเพื่อการจับผิด แต่เรากำลังถาม-ตอบกันเพื่อหา solutions (ทางออก) ร่วมกันเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับพี่น้องประชาชนนะครับ “

(1) ดีแล้วครับที่พวกเราได้ทราบว่าท่านไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องใด ๆ ในที่ประชุมแห่งนี้

(2) ผมขออนุญาตให้ความเห็นเสริมในที่ประชุม กมธ. ว่าการเปิดเผย source code ไม่ได้เป็นการทำให้เกิดความ “ไม่ปลอดภัย” มากขึ้นแต่อย่างใด ยกตัวอย่างเช่น กรณีของระบบปฏิบัติการอย่าง Linux/Unix-based, MacOS หรือ Windows ก็เห็นได้ชัดที่สุดแล้วว่า Linux/Unix-based ที่เป็น Opensource OS นั้นมีความปลอดภัยสูงกว่า MacOS หรือ Windows เสียอีก หรือในกรณีอย่าง SSL Protocol ที่ตัว protocol นั้นไม่ได้เป็นความลับ

แต่วิธีการทำงานของ protocol ต่างหากที่ถูกพิสูจน์ด้วยหลักการทางคณิตศาสตร์ (mathematical proof) แล้วว่ามีความปลอดภัย หรือตัวอย่างสุดท้ายก็คือกรณีของ Bitcoin (cryptocurrency) ที่เป็น opensource แต่ก็มีความปลอดภัยสูง ที่ทำให้ทุกวันนี้ทุกคนยังต้องมาแข่งกันทำฟาร์มทำเหมืองเพื่อขุดหา coin กันอยู่เลย ฯลฯ เป็นต้น

(3) ดีแล้วที่ได้ยินว่ามีคณะกรรมการชุดนี้อยู่ แต่พวกเราหลายคนที่นั่งอยู่ในห้อง กมธ. นี้ (เช่น พรรคร่วมฝ่ายค้าน ฯลฯ) ยังไม่รับรู้หรือยังไม่มีสิทธิ์ในคณะกรรมการชุดนี้แต่อย่างใด อยากฝากให้หน่วยงานพิจารณาว่าทำอย่างไรเพื่อให้พวกเราหรือย่างน้อย ๆ กมธ. ชุดนี้สามารถเข้าไปตรวจสอบการใช้ประโยชน์จากข้อมูลชุดนี้ของประชาชน เพื่อให้ความเชื่อมั่นเกิดกับทุกฝ่ายได้ว่าไม่มีการละเมิดสิทธิและข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชนตามที่ท่านได้กล่าวไว้จริง

1คำถามสุดท้าย กับประเด็น การบูรณาการ ให้เกิดฐานผู้ใช้เดียว

” ตามที่ท่านได้กล่าวไว้ว่าก่อนหน้านี้ก็มีแอป #หมอชนะ ถูกพัฒนาไว้เสร็จก่อนหน้านี้แล้ว ซึ่งมีความสามารถต่าง ๆ ที่มากกว่า ‘ไทยชนะ’ เช่น การใช้ GPS หรือ Bluetooth ในการทำ contact tracing ฯลฯ รวมไปถึงการใช้ QR Code สแกนแบบที่ ‘ไทยชนะ’ ก็สามารถทำได้ไม่ต่างกัน “

” แต่ท่านได้ให้เหตุผลไว้ว่า จำเป็นต้องพัฒนาแพลตฟอร์ม/แอป ‘ไทยชนะ’ ขึ้นมาต่างหาก เพราะประชาชนค่อนข้างมีความกังวลในข้อมูลส่วนบุคคลค่อนข้างสูง จึงคิดว่าหากประชาชนรู้ว่าตัวแพลตฟอร์มมีการเก็บข้อมูลอื่น ๆ มากเกินจำเป็น ก็อาจเป็นอุปสรรคทำให้ประชาชนไม่ยอมหันมาใช้ได้ “

” จึงเป็นที่มาที่ท่านได้พัฒนา ‘ไทยชนะ’ ขึ้นมาใหม่ โดยทำให้ง่ายที่สุด และเก็บข้อมูลให้น้อยที่สุด ก็คือใช้แค่การสแกน QR Code เพื่อ check-in/check-out “

4) จะดีกว่าไหม ในฐานะหน่วยงานของรัฐเหมือนกัน ถ้าท่านหยิบจากสิ่งที่มีอยู่แล้วอย่าง ‘หมอชนะ’ ที่สามารถทำได้ทุกอย่างที่ ‘ไทยชนะ’ สามารถทำได้ในวันนี้ มาแก้ไขเล็ก ๆ น้อย ๆ เพื่อให้ประชาชนสามารถ “เลือกได้” ว่าเขายินยอมให้เก็บข้อมูล/ต้องการเปิดใช้ฟีเจอร์ใดบ้าง เช่น เขาสามารถเลือกเปิด/ปิดฟีเจอร์ GPS, Bluetooth ได้เองถ้าเขามีความกังวลในเรื่องความปลอดภัยของข้อมูลส่วนบุคคล ฯลฯ เหตุใดถึงต้องทำ ‘ไทยชนะ’ ขึ้นมา ซ้ำซ้อน อีกแพลตฟอร์มหนึ่ง ทั้ง ๆ ที่ปัจจัยสำคัญที่จะทำให้แพลตฟอร์มลักษณะนี้ประสบความสำเร็จก็คือการมี #ฐานข้อมูลเดียว จากฐานผู้ใช้เดียวกัน

(คำตอบจากผู้ชี้แจงเพิ่มเติมตามที่ผมสรุปความได้)

(4) ในหลาย ๆ ครั้งเราพบแล้วว่าการ opt-out นั้นไม่เกิดผลจริงในทางปฏิบัติ เพราะผู้ใช้มักจะกดผ่าน ๆ ข้าม ๆ ไป ทำให้สุดท้ายแล้วผู้ใช้ก็อาจถูกเก็บข้อมูลเข้ามาโดยที่ไม่รู้ตัวอยู่ดี

บทสรุป

เนื่องจากบรรยากาศในห้องประชุม กมธ. ดำเนินมาด้วยความเรียบร้อยดี และเพื่อไม่อยากให้เกิดบรรยากาศการโต้เถียงในห้องประชุม ผมจึงไม่ได้ตั้งคำถามใด ๆ ต่อครับ ที่เหลือยกให้เป็นวิจารณญาณของผู้อ่านในการวิเคราะห์เหตุและผลจากการถาม-ตอบในครั้งนี้ต่อเองครับ

ท่านผู้อ่านคิดว่า เหตุผลที่หน่วยงานผู้พัฒนา ‘ไทยชนะ’ ได้ให้ไว้ในห้องประชุม กมธ. ได้ตอบคำถามในใจของท่านหรือเปล่า?

พวกเราจะคอยเก็บตกเรื่องราวต่าง ๆ จากในที่ประชุม กมธ. และในที่ประชุมสภา มาเล่าให้ฟังว่าพวกเราได้ทำหน้าที่ #ผู้แทนราษฎร อย่างไรในคราวต่อ ๆ ไปนะครับผม

ข่าวล่าสุด

ดูทั้งหมด

ปารีณา น้ำตาซึม! คู่กัดในสภา เสรีพิศุทธ์ – เจี๊ยบ อมรัตน์ ร่วมอาลัยคุณพ่อทวี

ปารีณา ไกรคุปต์ น้ำตาซึมไม่คาดคิดว่าคู่กัดในรัฐสภา อย่าง เสรีพิศุทธ์ – เจี๊ยบ อมรัตน์ จะมางานศพ ร่วมอาลัย คุณพ่อทวี ไกรคุปต์

โคตรโหด! พ่อโมโห ลูกไม่ยอมบวชหน้าไฟ เตะอัดหน้าลูกจนสลบ

พ่อหัวร้อน โมโหลูกไม่ยอมบวชหน้าไฟ งานศพยาย เพราะใกล้เป็นเทอม เตะอัดหน้าลูกจนสลบคาเท้า ก่อนต่อยญาติเจ็บอีก 2 ราย

OMG! เน็ตไอดอล จัดซีทรูแซ่บ โชว์เรือนร่างเร่าร้อน แหวกเว้าบั้นท้ายเด็ดไม่ไหว

โอ้โห! เน็ตไอดอลชื่อดัง จัดซีทรูสุดแซ่บ โชว์เรือนร่างเร่าร้อนกลางชายหาด แหวกเว้าบั้นท้ายเด็ด จนทำใจระทวย

ผัวเก่าสุดโหด! บุกแทงแม่ลูกอ่อนสาหัส เพื่อนชายช่วยห้ามถูกแทงดับ

ผัวเก่าโหด! ไม่พอใจเมียบอกเลิก บุกใช้มีดแทงแม่ลูกอ่อน 2 แผล สาหัส เพื่อนชายอยู่ใกล้ ๆ ช่วยห้าม โดนลูกหลงถูกแทงดับ

อุ๊ย! แอฟ ทักษอร อวดลุคสวย แต่ FC กลับสงสัย แหวนวงนี้ของใครนะ ?

แอฟ ทักษอร โพสต์อวดลุคสวยหวานสุดจึ้ง แต่งานนี้ด้านแฟนคลับจับจ้องไปแหวนบนมือของเจ้าตัว พร้อมแห่เมนต์จนไอจีแตกแตน

นักร้อง “พอล คิม” ประกาศแต่งงานกับแฟนสาวนอกวงการที่คบกันมา 9 ปี

นักร้องบัลลาด “พอล คิม” ประกาศแต่งงานกะทันหัน ทำเอาแฟน ๆ เซอร์ไพร์สกันทั้งโซเชียล ทำเอาแฟนเพลงแห่อวยพรแสดงความยินดี!
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า