ทิม พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ชี้ จะรวยหรือจนการบังคับใช้ที่ดินต้องมาตรฐานเดียวกัน

ทิม พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ในฐานะประธานกรรมาธิการที่ดิน โพสต์ร่ายยาวประเด็น จะรวยหรือจนการบังคับใช้ที่ดินต้องมาตรฐานเดียวกัน ปมที่ดิน ปารีณา

27 ธค. 62 นาย พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส.ส. พรรคอนาคตใหม่ โพสต์ผ่านเพจ Pita Limjaroenrat – พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ในหัวข้อ จะรวยหรือจนการบังคับใช้ที่ดินต้องมาตรฐานเดียวกัน ว่า

วันนี้ผมในฐานะประธานกรรมาธิการที่ดิน ได้ร่วมประชุมคณะกรรมาธิการการที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมสภาผู้แทนราษฎร ครั้งที่ 14 โดยมีวาระเรื่อง “พิจารณามาตรฐานในการพิจารณาการบังคับใช้กฎหมายกับผู้ที่เข้ายึดถือหรือครอบครองที่ดินของรัฐ” โดยท่านอธิบดีกรมป่าไม้และท่านเลขาธิการสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อการเกษตรกรรม (ส.ป.ก.) พร้อมทั้งเจ้าหน้าที่ผู้มีความเกี่ยวข้องของทั้งสองหน่วยงานให้เกียรติเข้าชี้แจงด้วยตนเอง

จากคำถาม คำตอบ และความคิดเห็นของทั้งผู้ชี้แจ้ง กรรมาธิการหลายท่าน มีความเห็นว่า ในกรณีที่ดินฟาร์มไก่ที่ตำบลรางบัว อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี ตามที่ปรากฎเป็นข่าวนั้น มีข้อสงสัยว่าทำไมกรมป่าไม้จึงต้องมีการสอบถามทางคณะกรรมการกฤษฎีกา เนื่องจากกรมป่าไม้ เคยถามประเด็นที่คล้อยกันไปตั้งแต่ปี 2536 โดยกฤษฎีกาได้ตอบกลับว่า “ผู้ซึ่งไม่ได้รับอนุญาตจากทางราชการให้เข้าทำประโยชน์ ตามกฎหมายว่าด้วยการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม กฎหมายว่าด้วยการจัดที่ดินเพื่อการครองชีพ หรือประมวลกฎหมายที่ดิน หากเข้ากระทำการใดๆ อันเป็นการแผ้วถางในเขตที่กล่าวไว้ข้างต้น ถือว่ากระทำการฝ่าฝืนมาตรา 54 และมีความผิดตามมาตรา 72 ตรี แห่งพระราชบัญญัติป่าไม้” นอกจากนี้ในกรณีคล้ายกันยังมีคำพิพากษาศาลฎีกาที่เปรียบเทียบกันได้หลายกรณี ซึ่งเป็นข้อสงสัยว่าถ้าเป็นการบังคับใช้กฎหมายกับคนยากไร้ คนจน จะมีโอกาสหรือได้รับการส่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความเช่นเดียวกันบ้างหรือไม่

นอกจากนี้ เรื่องมาตรการพิจารณาบังคับใช้กฎหมายกับผู้ที่ไม่มีสิทธิครอบครองโดยชอบด้วยกฎหมายในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม เลขาธิการ สปก. ชี้แจงว่าในระดับแผนปฏิบัติการนั้น กรณีที่ขาดคุณสมบัติหรือถือครองที่ดินเกินกว่าเนื้อที่ที่กฎหมายกำหนด ส.ป.ก. จะต้องเจรจาให้ส่งมอบพื้นที่ให้ ส.ป.ก. โดยที่หากไม่ดำเนินการส่งมอบที่ดิน ส.ป.ก. ก็จะมีการดำเนินการดังต่อไปนี้

• กรณีที่มีการถือครองที่ดินเกินกว่า 500 ไร่ ส.ป.ก. มีมาตรการดำเนินการตามคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 36/2559 เรื่อง มาตรการในการแก้ไขปัญหาการครอบครองที่ดินในเขตปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมโดยมิชอบกฎหมาย เช่น ไล่ผู้ครอบครองออกจากพื้นที่ สั่งรื้อถอนสิ่งปลูกสร้าง และกรณีที่มีการถือครองที่ดินไม่เกิน 500 ไร่ ส.ป.ก. จะใช้มาตรการทางแพ่งกล่าวคือ ฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายทางแพ่ง

• กรณีที่มีการใช้ที่ดินโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายมีลักษณะเพื่อประโยชน์ทางการค้า การกระทำนั้นย่อมเป็นความผิดมูลฐานตาม พ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน

• ดำเนินคดีตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 9 ที่กำหนดห้ามครอบครองที่ดินของรัฐโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งมีโทษปรับและจำคุกตามมาตรา 108 ทวิ และแต่เดิมในบางคดีพนักงานอัยการได้ฟ้องคดีตามมาตรา 365 แห่งประมวลกฎหมายอาญาอีกด้วย
เลขาธิการ ส.ป.ก. ให้ข้อมูลว่า มีพื้นที่ประกาศการดำเนินการตามคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 36/2559 จำนวน 443,000 ไร่ แบ่งเป็นสองกลุ่มคือ 1) กลุ่มที่นำมาจัดใหม่ไม่มีเกษตรกรอยู่ในพื้นที่ จำนวน 33,055 ไร่ และ 2) กลุ่มที่เป็นที่แปลงใหญ่ที่มีคนครอบครองอยู่ ประมาณ 260,000 กว่าไร่ ในอีกส่วนหนึ่งก็มีการกันให้เป็นป่า เป็นแหล่งน้ำ เป็นชุมชนอีก 142,000 ไร่ โดยสำนักงาน ส.ป.ก. ดำเนินการในลักษณะนี้อยู่ 33,000 กว่าไร่ และมีรายชื่อพื้นที่อยู่เป็นรายจังหวัด

สำหรับที่ดินในเขต ส.ป.ก จำนวน 682 ไร่ ที่อำเภอจอมบึง จังหวัดราชบุรี ที่กำลังเป็นข่าว นั้นอยู่ในกลุ่มเหล่านี้หรือไม่ เลขาฯ ส.ป.ก. กล่าวว่า จังหวัดราชบุรีทาง ส.ป.ก. ได้ดำเนินการตามคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 36/2559 มาแล้ว 9 แปลงโดยแปลงดังกล่าวกำลังเป็นแปลงที่ 10 ที่อยู่ในแผนที่จะดำเนินการต่อไป ซึ่งน่าแปลกใจเพราะคำสั่งหัวหน้า คสช.ที่ 36/2559 นั้นใช้บังคับมาเป็นระยะกว่า 3 ปีแล้ว “ทำให้เกิดคำถามว่าในระยะเวลาดังกล่าวทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตรวจไม่พบการเข้าใช้ประโยชน์ในที่ดินแปลงดังกล่าว และไม่ดำเนินการตามคำสั่งคสช.ที่ 36/2559 ได้อย่างไร”

ทั้งนี้ กมธ.ได้สอบถามถึงข้อกฎหมายว่าอะไรคือ มาตรฐานการแบ่งช่วงเวลาของอำนาจตามกฎหมายและขอบเขตความรับผิดชอบในกรอบเวลานั้นของกรมป่าไม้และ ส.ป.ก. แบ่งความรับผิดชอบกันอย่างไร เพราะหากประเด็นเหล่านี้ไม่ชัดเจนการบังคับใช้กฎหมายอย่างเท่าเทียมกันทั่วประเทศนั้นก็ไม่สามารถเป็นไปได้ จนนำไปสู่การโยนปัญหาไปให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความ

โดย เลขาฯ สปก. ชี้แจงว่า ตาม พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม มาตรา 26 (4) เมื่อได้มีพระราชกฤษฎีกากําหนดเขตปฏิรูปที่ดินใช้บังคับในท้องที่ใดแล้ว ถ้าเป็นที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ เมื่อคณะรัฐมนตรีมีมติให้ดําเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมในที่ดินเขตป่าสงวนแห่งชาติส่วนใดแล้ว เมื่อ ส.ป.ก. จะนําที่ดินแปลงใดในส่วนนั้นไปดําเนินการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ให้พระราชกฤษฎีกากําหนดเขตปฏิรูปที่ดินมีผลเป็นการเพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติในที่ดินแปลงนั้น และให้ ส.ป.ก. มีอํานาจนําที่ดินนั้นมาใช้ในการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมได้โดยไม่ต้องดําเนินการเพิกถอนตามกฎหมายป่าสงวนแห่งชาติ

ในการพิจารณาว่าเขตพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติในส่วนใดได้ส่งมอบและเพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติ ตามมาตรา 26 (4) สปก.จะใช้เงื่อนไขหลักในการพิจารณา 3 ข้อ คือ
1) มีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน
2) มีมติคณะรัฐมนตรีมอบให้ ส.ป.ก. ดำเนินการปฏิรูปที่ดินในเขตป่าสงวนแห่งชาติ
3) มติของคณะกรรมการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรมกำหนดแผนงาน โครงการ และงบประมาณในการเข้าดำเนินการปฏิรูปที่ดิน เมื่อเข้าเงื่อนไขทั้ง 3 ข้อครบถ้วน ณ จุดใดถือว่าเป็นการเพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติตาม พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ทันที เพราะฉะนั้นตราบใดที่ยังไม่มีมีพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินให้เป็นเขตปฏิรูปที่ดิน อำนาจก็ยังอยู่ที่กรมป่าไม้ ด้วยเหตุนี้ไม่ว่าจะไปส่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความอย่างไร ขั้นตอนตามเงื่อนไข พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม นี้ก็ไม่สามารถเป็นอื่นไปได้

ประเด็นสำคัญที่สุดของการพิจารณาครั้งนี้ คือ การบังคับใช้กฏหมาย เพราะที่ผ่านมาโดยส่วนใหญ่หากมีการทำผิดกฎหมายชาวบ้านจะถูกดำเนินคดีทันที แตกต่างกับนายทุนและผู้มีอิทธิพลซึ่งมักจะไม่ถูกดำเนินการ กลายเป็นว่า การบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับที่ดินของรัฐนั้นมีลักษณะการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมต่อคนที่มีความเปราะบางทางสังคม คนจน คนยากไร้ มีการปฏิบัติในลักษณะสองมาตรฐานในการดำเนินคดี ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากการอยู่ในโครงสร้างทางสังคมและกฎหมายที่มีลักษณะอุปถัมป์ ทำให้มีการเลือกปฏิบัติ คนจนต้องเสียค่าใช้จ่ายในการเข้าถึงกระบวนการยุติธรรรมและถูกดำเนินคดีตามฎหมายมากกว่าคนกลุ่มอื่น

กระบวนการยุติธรรมสำหรับชาวบ้านนั้น เป็นสิ่งที่ยากและมีต้นทุนสูง มีข้อจำกัดมากกว่าผู้ที่มีอำนาจ การเข้าถึงเอกสารหลักฐานมีอุปสรรค และทัศนคติของผู้บังคับไช้กฎหมายที่มองคนยากจนในมุมลบ ซึ่งแตกต่างจากนายทุนอย่างชัดเจน ถึงแม้ในกรณีที่เป็นประเด็นสาธารณะ ซึ่งหน่วยงานรัฐจะถูกจับตาจากสังคม แต่การชี้แจงและการปฏิบัติของรัฐเมื่อเกิดเหตุการณ์ก็มีแนวโน้มสุ่มเสี่ยงที่จะมีการเลือกปฏิบัติอย่างชัดเจน

นอกจากกระบวนการยุติธรรมที่เราต้องการมาตรฐานการปฏิบัติอย่างเท่าเทียมแล้ว ท้ายที่สุด ผมตกใจว่าทุกวันนี้มีประชาชนรอรับการจัดที่ดินปฏิรูปตาม พ.ร.บ.การปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม กว่า 400,000 ราย ดังนั้นเราจึงต้องทำงานให้หนักกว่านี้ เมื่อเห็นถึงปัญหาการเข้าถึงปัจจัยในการผลิต การกระจายความมั่งคั่ง และกระจายการถือครองที่ดินของประเทศไทย

ขอบคุณภาพและข้อมูลจากเพจ Pita Limjaroenrat – พิธา ลิ้มเจริญรัตน์

ข่าวล่าสุด

ดูทั้งหมด

ชาวบ้านผงะ! เดินหาผัก แต่เจอซากทารก ถูกฝังกลบดิน ส่งกลิ่นเหม็นไปทั่ว

ชาวบ้านช็อก! เจอซากทารก อายุครรภ์ 5 เดือน ถูกฝั่งในหลุม ส่งกลิ่นเหม็นคลุ้งทั่ว ตร.เร่งหาตามตัวพ่อแม่ คาดเด็กเสียชีวิตไม่น้อยกว่า 48 ชั่วโมง

น้องไนซ์ เคลื่อนไหวแล้ว หลังสำนักพุทธจ่อสอบ ลั่น พร้อมคุยทุกข้อเท็จจริง

อาจารย์น้องไนซ์ นิรมิตเทวาจุติ เคลื่อนไหวแล้ว หลังสำนักพุทธ จ่อตรวจสอบ ลั่น วันนั้นจะไม่อยู่บ้าน แต่ขึ้นมา กทม. ให้ติดต่อมาได้เลยพร้อมคุย

ออกหมายจับ! ‘แก๊งยากูซ่า’ ฆ่าหั่นศพ ทางการญี่ปุ่น เผย มีประวัติอาญชากร

แก๊งยากุซ่า ถูกออกหมายจับแล้ว! หลังปิดโกดัง “ฆ่าหั่นศพ” เพื่อนร่วมชาติ นำไปทิ้งน้ำ ก่อนหลบหนี คาดไม่พอใจกันเรื่องส่วนตัว

ส่องความเคลื่อนไหว เบลล่า ราณี หลังมีข่าวลือ เดตหวาน หนุ่มไฮโซ CP

เบลล่า ราณี ออกมาเคลื่อนไหว ในสตอรี่อินสตาแกรมส่วนตัว หลังมีข่าวลือแพร่สะพัด ออกมาเดตหวานกับหนุ่มโฮโซทายาทซีพี

ป๊ายปาย เตรียมพร้อมงานวันเกิด! อุบมีเซอร์ไพรส์จากวง นุ๊ก ธนดล

ป๊ายปาย โอริโอ้ เตรียมพร้อมจัดงานวันเกิด! อุบมีเซอร์ไพรส์จากวงคู่เฟื่อนรัก นุ๊ก ธนดล งานนี้บอกเลยแฟนๆ อดใจรอกันไม่ไหว
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า