คนไร้บ้านในกรุงมีปัญหาจิตเวช-อันตรายต่อสังคม เร่งวางระบบดูแล

สสส.เผยคนไทย 3 หมื่นราย เป็นคนไร้บ้าน  30% ของคนไร้บ้านในเมืองหลวง มีปัญหาสุขภาพจิตรุนแรง เป็นอันตรายต่อสังคม 50% เข้าไม่ถึงบริการสาธารณสุข จับมือ 6 หน่วยงานภาครัฐ-ประชาสังคม จัดระบบดูแลผู้ป่วยจิตเวชไร้บ้าน แนะวิธีสังเกต “รุงรัง-ติดเหล้า-ตาขวาง-หวาดระแวง” แจ้ง 191 หรือ 1300 

ศ.นพ. รณชัย คงสกนธ์ รองประธานคณะกรรมการบริหารแผนคณะที่ 2 กองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) กล่าวในการลงนามความร่วมมือ(MOU) ระบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชไร้บ้านในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร  ร่วมกับ 6 หน่วยงานภาคีเครือข่ายว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีคนไร้บ้านทั่วประเทศ 30,000 คน โดยในกรุงเทพฯ มีคนไร้บ้าน 1,300 คน ซึ่งจากการสำรวจคนไร้บ้านใน กทม.พบว่า ร้อยละ 30 มีปัญหาด้านสุขภาพจิตที่รุนแรงและเป็นอันตรายต่อสังคม ร้อยละ 50 เข้าไม่ถึงบริการสาธารณสุข เนื่องจากไม่มีบัตรประชาชน ขาดความสามารถในการดูแลตนเอง และการขาดความรู้ในเรื่องสิทธิในการรักษาพยาบาล ทำให้กลุ่มคนไร้บ้านที่มีปัญหาด้านสุขภาพจิต ขาดโอกาสในการได้รับสวัสดิการในการช่วยเหลือรักษาพยาบาลจากทางภาครัฐอย่างเหมาะสม สสส.จึงผลักดันประเด็นดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการ สสส.เพื่อทำการพิจารณาให้ความช่วยเหลือ โดยพัฒนาระบบการดูแลผู้ป่วยจิตเวชไร้บ้านในเขตพื้นที่ กทม. ให้มีประสิทธิภาพและมีแนวทางปฏิบัติที่ชัดเจน เพื่อประโยชน์ในการนำส่ง การรักษาพยาบาล การฟื้นฟูในสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งหรือบ้านพักชั่วคราว และการให้ความคุ้มครองช่วยเหลือผู้ป่วยจิตเวชไร้บ้านเพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นต่อไป

นางภรณี ภู่ประเสริฐ ผอ.สำนักสนับสนุนสุขภาวะประชากรกลุ่มเฉพาะ (สำนัก 9) สสส. กล่าวว่า การลงนามความร่วมมือในครั้งนี้จะทำให้เกิดการบูรณาการความรู้และความร่วมมือระหว่างหน่วยงานและเครือข่ายภาคประชาชนในการจัดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างและฟื้นฟูสมรรถภาพ รวมทั้งการฝึกอาชีพและการหางานให้กับผู้ป่วยจิตเวชอาการทุเลาที่เสร็จสิ้นการบำบัดรักษาจากโรงพยาบาล เพื่อเตรียมความพร้อมในการกลับไปใช้ชีวิตในสังคม และเพื่อให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ โดย สสส.สนับสนุนโครงการวิจัยการพัฒนาระบบการดูแลให้บริการด้านสุขภาพจิตแก่ผู้ป่วยไร้บ้าน โดยความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และมหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งได้ศึกษาพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือและดำเนินโครงการนำร่องร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายทั้ง 3 ระบบซึ่งได้แก่ ระบบนำเข้า ระบบรักษา และระบบจำหน่ายหรือส่งต่อ

“สำหรับประชาชนทั่วไปก็สามารถมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือคนไร้บ้านที่มีปัญหาด้านสุขภาพจิต โดยการสังเกตง่ายๆ คือ แต่งกายไม่สะอาด ผมเผ้ารุงรัง มีกลิ่นเหล้าหรือสารเสพติด ตาขวางไม่เป็นมิตร พูดคนเดียวหรือถามตอบไม่ตรงเรื่อง และมีท่าทีหวาดระแวง โดยแจ้งไปยังเจ้าหน้าที่ตำรวจ 191 และศูนย์ช่วยเหลือสังคม 1300 เพื่อให้การช่วยเหลือตามระบบต่อไป ซึ่ง สสส.ยังสนับสนุนให้จัดทำคู่มือการนำส่งผู้ป่วยไร้บ้านที่มีปัญหาทางด้านสุขภาพจิตสำหรับตำรวจ คู่มือระบบการดูแลให้บริการด้านสุขภาพจิตแก่ผู้ป่วยไร้บ้านในสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งชายธัญบุรี ด้วย”นางภรณีกล่าว

ด้าน ดร.นิฤมน รัตนะรัต ผู้อำนวยการหลักสูตร ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขานโยบายสังคม คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ผู้จัดการโครงการวิจัย กล่าวว่า จากการวิจัยพบระบบการช่วยเหลือผู้ป่วยจิตเวชไร้บ้านมีปัญหาอุปสรรคหลายประการทำให้ขาดประสิทธิภาพการดำเนินการโดยเฉพาะการเชื่อมต่อของหน่วยงานต่าง สามารถสรุปขั้นตอนข้อเสนอที่ควรดำเนินการในการพัฒนาระบบดูแลผู้ป่วยจิตเวชไร้บ้านในพื้นที่กรุงเทพมหานครได้ 6 จุด คือ 1 ตั้งศูนย์รับแจ้งข้อมูลคนไร้บ้านกลางทางโทรศัพท์ (Hot line หรือ call center) ซึ่งประกอบด้วยเจ้าหน้าที่ตำรวจ 191 และศูนย์ช่วยเหลือสังคม 1300 2 ตั้งศูนย์บริหารจัดการคนไร้บ้านกลาง (Case manager center) 3 ตั้งศูนย์ข้อมูลคนไร้บ้านกลาง (Data base center)

4 ทำบันทึกข้อตกลงร่วมกัน (MOU) หรือจัดทำแนวทางการปฏิบัติร่วมกันระหว่างโรงพยาบาลทั่วไปของรัฐที่รักษาโรคทางกายกับโรงพยาบาลจิตเวชในประสานงานร่วมกันในการส่งตัวและการรับตัวผู้ป่วยไร้บ้านเพื่อเข้ารับการรักษาพยาบาล 5 กำหนดให้มีการประชุมให้ความช่วยเหลือร่วมกัน (Case conference)  ระหว่างทีมสหวิชาชีพ และ 6 ให้มีการพัฒนาระบบการฟื้นฟูผู้ป่วยในสถานคุ้มครองคนไร้ที่พึ่งและสถานคุ้มครองและพัฒนาคนพิการบ้านกึ่งวิถีโดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐในด้านงบประมาณ บุคลากรและองค์ความรู้ให้กับเจ้าหน้าที่ภายในสถานคุ้มครอง นอกจากนี้ ยังดำเนิน “โครงการขับเคลื่อนเชิงนโยบายระบบการดูแลให้บริการด้านสุขภาพจิตแก่ผู้ป่วยจิตเวชไร้บ้าน” โครงการวิจัยระยะที่ 2 ซึ่งพัฒนาต่อยอดจากโครงการวิจัยแรกเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานอีกด้วย

ทั้งนี้ หน่วยงานภาคีเครือข่ายทั้ง 6 ประกอบด้วย กองบัญชาการตำรวจนครบาล สำนักงานตำรวจแห่งชาติ, กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์, กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข, มูลนิธิพัฒนาที่อยู่อาศัย และ มูลนิธิกระจกเงา

ข่าวล่าสุด

ดูทั้งหมด

ผิดแค่ไหน! พ่อค้าร้านขาหมูประกาศหยุดขาย หลังถูกร้องเรียนเสียงดัง

พ่อค้าร้านข้าวประกาศ หยุดขายขาหมู หลังเพื่อนบ้านร้องเรียน สับหมูรบกวนเสียงดัง ล่าสุดเทศบาลนัด 2 ฝ่ายไกล่เกลี่ยพรุ่งนี้

สพฐ. แจงปม ผอ.โรงเรียนหวงเก้าอี้ ที่ร้อยเอ็ด ชี้! ผิดวินัยไม่ร้ายแรง

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน เผยผลสรุป ผอ.โรงเรียนหวงเก้าอี้ พบผิดวินัยไม่ร้ายแรง เตรียมลงดาบทางวินัย แต่ให้โอกาสปรับปรุงตัว

ณเดชน์ ใจวูบ! หลังเห็นกระแสข่าว เลื่อนงานแต่ง พร้อมขอโทษ ญาญ่า

ณเดชน์ คูกิมิยะ ถึงกับใจวูบ! หลังเห็นกระแสข่าว เลื่อนงานแต่ง บานปลายสร้างความเข้าใจผิด พร้อมขอโทษ ญาญ่า อุรัสยา

แชร์สนั่น! “ซีอิ๊วขาวแบบเม็ด” นวัฒกรรมใหม่เด็กสมบูรณ์ พกง่าย ละลายเร็ว

ชาวเน็ตอึ้ง! เด็กสมบูรณ์เปิดตัว “ซีอิ๊วขาวแบบเม็ด” นวัฒกรรมใหม่ ของซีอิ๊วขาว มาพร้อมกับสโลแกน พกสะดวก ละลายไวใน 5 วินาที

ป๊ายปาย โอริโอ้ โพสต์ยินดี สมรสเท่าเทียมผ่าน เผยเป็นวันที่รอคอยมานาน

ป๊ายปาย โอริโอ้ โพสต์ข้อความร่วมยินดี เมื่อสมรสเท่าเทียมผ่านครม. พร้อมเผยเป็นวันที่รอคอยมานานมาก โลกเปิดกว้าง ไม่จำกัดเพศ
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า