สหรัฐฯ แค่เตือน ไม่สั่งห้ามนำเข้า น้ำปลาไทย

กรมประมงแจงสหรัฐฯ ไม่ได้สั่งห้ามนำเข้า น้ำปลาไทย เป็นเพียงการกักกันสินค้าเฉพาะโรงงาน อยู่ระหว่างยื่นเอกสารชี้แจงเพิ่มเติม ซึ่งจะไม่นำไปสู่การสั่งห้ามนำเข้า ระบุการประกาศเตือนไม่เกี่ยวกับการสุ่มตรวจสารก่อมะเร็งอย่างที่เป็นข่าว วอนประชาชนอย่าตระหนก

จากกรณีที่สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศเปิดเผยว่า สหรัฐอเมริกาห้ามนำเข้า น้ำปลาไทย เนื่องจากเกรงว่าอาจมีสารก่อมะเร็งหรือเชื้อแบคทีเรียที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภคนั้น นายอดิศร พร้อมเทพ อธิบดีกรมประมง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบกำกับดูแลการตรวจสอบคุณภาพมาตรฐานสินค้าประมงก่อนส่งออกไปต่างประเทศ กรมประมงจึงได้ประสานข้อเท็จจริง พบว่าองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐ (USFDA) ได้ขึ้นบัญชี Import Alert เลขที่ 16-120 ประเภท Detention without Physical Exam (DWPE) โรงงานผู้ผลิตน้ำปลาจากประเทศไทยบางแห่งไว้ เนื่องจากตรวจพบกระบวนการควบคุมการผลิต (HACCP) ของโรงงาน ไม่เป็นไปตามข้อกำหนดการควบคุมความปลอดภัย HACCP (21 CFR 123.3) ของ USFDA ซึ่งอาจก่อให้เกิดสารโบลูทินัม และสารฮีสตามีนในผลิตภัณฑ์ ซึ่งหากพบในปริมาณที่เกินค่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ อาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคได้

นายอดิศร กล่าวอีกว่า  USFDA ได้เสนอแนวทางแก้ไขกรณีดังกล่าว 2 แนวทาง คือ 1. ให้โรงงานผู้ผลิตน้ำปลาของไทยปรับกระบวนการผลิตให้มีขั้นตอนการผ่านความร้อน หรือ 2. นำเสนอข้อมูลในเชิงวิทยาศาสตร์มายืนยันว่ากระบวนการผลิตน้ำปลามีการควบคุมที่เทียบเท่ากับข้อกำหนด HACCP ของ USFDA และสามารถป้องกันการเกิดสารพิษดังกล่าวได้ โดยทางโรงงานได้ส่งเอกสารชี้แจงตามข้อกำหนดดังกล่าวแล้ว เพียงแต่มีขอข้อมูลเพิ่มเติม ซึ่งอยู่ระหว่างทางโรงงานแก้ไขและจัดส่งเอกสารหลักฐานเพิ่มเติมให้เจ้าหน้าที่ USFDA พิจารณา

อธิบดีกรมประมง กล่าวอีกว่า ทางกรมประมงอยู่ระหว่างการจัดทำและรวบรวมข้อมูลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการควบคุมกระบวนการหมักน้ำปลาที่สามารถป้องกันการเกิดสารโบลูทินัม และฮีสตามีนในผลิตภัณฑ์ เพื่อใช้เป็นหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ในการนำเสนอแนวทางการป้องกันปัญหากับ USFDA ส่วนกระบวนการให้ความร้อน ซึ่งเป็นหนึ่งแนวทางที่ USFDA เสนอนั้น ผู้ผลิตส่วนใหญ่ของไทยไม่นิยมนำมาใช้ปฏิบัติ เนื่องจากจะทำให้กลิ่นและรสเฉพาะของน้ำปลาเปลี่ยนแปลงไป ประกอบกับกระบวนการผลิตน้ำปลามีการใช้เกลือในปริมาณสูงเพียงพอที่จะยับยั้งการเกิดเชื้อโรคและสารที่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค อีกทั้งกระบวนการผลิตน้ำปลาของไทย ซึ่งไม่ได้ใช้วิธีการต้ม แต่ก็เป็นการผลิตตามมาตรฐานการผลิตน้ำปลาของ CODEX ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันทั่วโลก

“การออกประกาศเตือน Import Alert น้ำปลาไทยในครั้งนี้ จึงไม่ได้มีเหตุเชื่อมโยงที่จะนำไปสู่การห้ามนำเข้า (Import Ban) น้ำปลาจากประเทศไทยทั้งหมดอย่างที่เป็นข่าว แต่เป็นการห้ามนำเข้าเฉพาะโรงงานที่อยู่ใน Import Alert เท่านั้น และไม่ได้มีประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการสุ่มตรวจสารก่อมะเร็งแต่อย่างใดทั้งสิ้น เพราะ USFDA ไม่ได้มีข้อกำหนดให้ตรวจสารก่อมะเร็งในผลิตภัณฑ์น้ำปลาตามที่เป็นข่าวแต่อย่างใด เนื่องจากไม่มีความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นในการผลิตน้ำปลา ประกอบกับประกาศ Import Alert เลขที่ 16-120 ก็ไม่กล่าวถึงการสุ่มตรวจสารก่อมะเร็งในน้ำปลาด้วย” นายอดิศรกล่าว

อธิบดีกรมประมง กล่าวต่อว่า สหรัฐฯ มีระบบการควบคุมการนำเข้าสินค้าอย่างเข้มงวด โดยมี USFDA เป็นหน่วยงานที่กำกับดูแล การประกาศ Import Alert เป็นวิธีการของ USFDA ในการแจ้งเจ้าหน้าที่ของตนที่ประจำอยู่ที่ด่านตรวจต่าง ๆ ให้ทราบว่าจะจัดการกับสินค้าดังกล่าวอย่างไร ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องปกติที่ USFDA จะเตือนและให้กักกันสินค้าจากผู้ส่งออก ผู้ผลิตของประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกที่มีสารอันตรายปนเปื้อนหรือไม่ได้มาตรฐานตามที่ FDA กำหนด ซึ่งไม่เชื่อมโยงที่จะนำไปสู่การประกาศ Import Ban ประเทศผู้ส่งออกแต่อย่างใด

เหตุผลหลักที่สินค้าจะถูก Import Alert แบ่งเป็น 2 ประเด็น ได้แก่ สินค้าไม่เป็นไปตามมาตรฐานคุณภาพและความปลอดภัยที่ USFDA กำหนด และระบบการควบคุมการผลิตของโรงงานไม่เป็นไปตามข้อกำหนดการควบคุมความปลอดภัยของกฎระเบียบ HACCP หลังจากถูกประกาศขึ้น List ผู้ผลิต ผู้ส่งออกต้องมีการพิสูจน์ตนเอง ในกรณีสินค้าไม่เป็นไปตามมาตรฐานฯ USFDA จะสุ่มตรวจสินค้าที่เข้ามาใหม่โดยต้องไม่มีปัญหาใด ๆ อีกอย่างน้อย 5 Shipments แล้วจึงทำการยื่นเรื่องต่อ USFDA ขอถอดถอนรายชื่อตนจาก List ปัจจุบันสหรัฐอเมริกาประกาศรายชื่อประเทศผู้ส่งออกใน Import Alert เลขที่ 16-120 กว่า 40 ประเทศ และมีโรงงานในรายชื่อดังกล่าวกว่า 200 โรงงาน ดังนั้น ผู้ส่งออกของไทยควรเคร่งครัดปฏิบัติตามกฎระเบียบของ USFDA เพื่อให้สินค้าของตนเป็นไปตามเกณฑ์ที่สหรัฐกำหนดและสามารถส่งออกไปขายในประเทศสหรัฐฯ ได้ และอย่าเพิ่งวิตกกังวลต่อกรณีดังกล่าว

ข่าวล่าสุด

ดูทั้งหมด

กัมพูชา เคลมอีก! ลาบูบู้ LABUBU แท้จริงมาจากตำนานของพี่เขา

ชาวเน็ตกัมพูชา ไม่ตกกระแส! แห่ตามเคลม “ลาบูบู้ LABUBU” มาจากรูปแกะสลักปีศาจ “หน้ากาล” วัฒนธรรมของกัมพูชา ไม่เชื่อ! เจอได้ตามทางเข้าวัด

สคบ.เตือนภัย ‘พัดลมคล้องคอ’ อันตราย ใช้ไปนาน ๆ เสี่ยงโรคมะเร็ง

หยุดใช้ดีที่สุด! สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เตือน ‘พัดลมคล้องคอ’ มีตะกั่วเข้มข้นเป็นอันตรายต่อผิวหนังเสี่ยงเป็นมะเร็งสูง

ครั้งนี้ไม่ยอม! เจนนี่ รัชนก ถูกคนใกล้ตัวในคราบโจร ขโมยเงินครึ่งล้าน

ไม่ยอม! เจนนี่ รัชนก ถูกคนใกล้ตัวในคราบโจร ขโมยเงินในบ้านจำนวนครึ่งล้าน ลั่น ถ้ายังไม่คืนรู้เรื่องแน่

ป่วยนับสิบ! คนสุพรรณ ติดเชื้อไวรัสโรต้า หลังร่วมปาร์ตี้โฟมสงกรานต์

ปาร์ตี้โฟมสงกรานต์ เป็นเหตุ! ทำคนสุพรรณ ติดเชื้อไวรัสโรต้า หามตัวส่ง รพ. กว่า 50 ชีวิต พบมีอาการ มีไข้ ปวดท้อง อาเจียน และท้องเสีย

เซอร์ไพร์ส! Thailand Music Countdown บุกวงการ T-POP พบกันเร็วๆ นี้

เซอร์ไพร์สกันสุด ๆ เมื่อตอนนี้ทาง True CJ Creations ได้กำลังเตรียมรายการ Thailand Music Countdown มาให้ศิลปิน T-POP โชว์ของกันตอนนี้แล้ว!

หนุ่มโปแลนด์ คลุ้มคลั่ง ปีนสาเสาสัญาณ ดิ่งลงความสูง 62 เมตร ดับคาที่

เหตุระทึก! หนุ่มโปแลนด์ คลุ้มคลั่ง ปีนสาเสาสัญาณ ใช้เวลาเกลี้ยกล่อมกว่า 2 ชั่วโมง อาศัยจังหวะเจ้าหน้าที่เผลอ ดิ่งลงความสูง 62 เมตร ดับคาที่
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า