กรมการแพทย์ จัดทำเสนอผู้ป่วย โรคลมชักขับขี่บนถนนได้อย่างปลอดภัย

กรมการแพทย์ โดยสถาบันประสาทวิทยา ร่วมกับหน่วยงานภาคีเครือข่ายจัดทำข้อเสนอให้ผู้ป่วย โรคลมชัก ที่ดูแลตนเองเป็นอย่างดีและสามารถคุมอาการชักโดยไม่ชักอย่างน้อย 1 ปีสามารถขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคลได้ และอย่างน้อย 10 ปี ในการขับขี่รถยนต์สาธารณะ เพื่อให้ผู้ป่วยโรคลมชักและเพื่อนร่วมทางขับขี่บนท้องถนนได้อย่างปลอดภัย

นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า หลายหน่วยงานได้ให้ความสำคัญกับการมีกฎหมายเพื่อการควบคุมการขับขี่รถยนต์บนท้องถนน ผู้ขับขี่ต้องมีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง หากมีโรคประจำตัว อาทิ โรคลมชักต้องสามารถควบคุมอาการได้ เพื่อความปลอดภัยบนท้องถนน หลายหน่วยงานได้ให้ความสำคัญกับการมีกฎหมายเพื่อการควบคุมการขับขี่รถยนต์ของผู้ป่วยโรคลมชัก เพื่อความปลอดภัยในท้องถนนทั้งต่อตนเองและเพื่อนร่วมทาง ดังนั้น กรมการแพทย์ โดยศูนย์ความเป็นเลิศโรคลมชัก สถาบันประสาทวิทยา ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการดูแลตนเองของผู้ป่วยโรคลมชัก และสิทธิของผู้ป่วยโรคลมชักที่ควรจะได้ขับขี่รถยนต์อย่างปลอดภัย จึงได้จัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายโดยร่วมมือกับภาคส่วนต่าง ๆ ได้แก่ กรมขนส่งทางบก กรมควบคุมโรค แพทยสภา มูลนิธิถนนปลอดภัย ชมรมโรคลมชักเพื่อประชาชน เป็นต้น เพื่อให้ได้ความคิดเห็นที่เป็นประโยชน์ในการจัดทำนโยบายนี้ เพื่อให้ประเทศไทยมีกฎหมายในการควบคุมการขับขี่รถยนต์อย่างปลอดภัยของผู้ป่วยโรคลมชัก โดยเสนอให้ผู้ป่วยโรคลมชักที่ดูแลตนเองเป็นอย่างดีและสามารถคุมอาการชักโดยไม่ชักอย่างน้อย 1 ปีสามารถขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคลได้ และอย่างน้อย 10 ปี ในการขับขี่รถยนต์สาธารณะ

นายแพทย์ธนินทร์ เวชชาภินันท์ ผู้อำนวยการสถาบันประสาทวิทยา เปิดเผยว่า โรคลมชักเป็นภาวะที่มีโอกาสเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุจากการขับขี่บนท้องถนนหากมีอาการชักขณะกำลังขับขี่ โดยในช่วงหลายปีที่ผ่านมาจะมีข่าวเกี่ยวกับการเกิดอุบัติเหตุจากการขับขี่รถในผู้ป่วยโรคลมชักอย่างต่อเนื่อง โดยผู้ป่วยโรคลมชักมีอัตราเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุจากการขับรถได้มากกว่าคนทั่วไปถึง 1.8 เท่า สำหรับประเทศไทยมีความชุกโรคลมชักประมาณ 7.2 ต่อประชากร 1,000 คน (ประมาณ 500,0000) คน ประมาณอุบัติการณ์อุบัติเหตุของผู้ป่วยโรคลมชักจากการขับขี่รถ 361 คนต่อ 100,000 ประชากรผู้ป่วยโรคลมชักในประเทศไทย จากการศึกษาในประเทศไทยของมหาวิทยาลัยขอนแก่นและสถาบันประสาทวิทยา พบว่า 75-90% ของผู้ป่วยโรคลมชักยังคงขับรถอยู่ ประมาณ 30% เคยเกิดอาการชักขณะขับรถและเกิดอุบัติเหตุ ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่จะทำให้เกิดอาการชัก คือ การขาดหรือลืมกินยากันชัก อีกปัจจัยสำคัญที่จะลดความเสี่ยงที่จะชักซ้ำ คือ ระยะเวลาที่หยุดชัก ระยะเวลาที่หยุดชักยิ่งนานจะยิ่งลดความเสี่ยงของการเกิดอุบัติเหตุได้ ความเสี่ยงของการเกิดอุบัติเหตุลดลงไป 85% ในผู้ป่วยที่หยุดชักนานมากกว่า 6 เดือน และ ลดลงไปถึง 93% ในผู้ป่วยที่หยุดชักนานมากกว่า 1 ปี สำหรับการดูแลรักษาตนเองให้หยุดชักอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ การกินยากันชักอย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงภาวะที่อาจจะกระตุ้นชัก เช่น การดื่มแอลกอฮอล์ นอนดึก การปฏิบัติตัวอย่างถูกต้อง เป็นต้น ซึ่งจะนำไปสู่การได้มีสิทธิ์ที่ได้ขับขี่รถเหมือนคนทั่วไปอย่างปลอดภัย

ข่าวล่าสุด

ดูทั้งหมด

กัมพูชา เคลมอีก! ลาบูบู้ LABUBU แท้จริงมาจากตำนานของพี่เขา

ชาวเน็ตกัมพูชา ไม่ตกกระแส! แห่ตามเคลม “ลาบูบู้ LABUBU” มาจากรูปแกะสลักปีศาจ “หน้ากาล” วัฒนธรรมของกัมพูชา ไม่เชื่อ! เจอได้ตามทางเข้าวัด

สคบ.เตือนภัย ‘พัดลมคล้องคอ’ อันตราย ใช้ไปนาน ๆ เสี่ยงโรคมะเร็ง

หยุดใช้ดีที่สุด! สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เตือน ‘พัดลมคล้องคอ’ มีตะกั่วเข้มข้นเป็นอันตรายต่อผิวหนังเสี่ยงเป็นมะเร็งสูง

ครั้งนี้ไม่ยอม! เจนนี่ รัชนก ถูกคนใกล้ตัวในคราบโจร ขโมยเงินครึ่งล้าน

ไม่ยอม! เจนนี่ รัชนก ถูกคนใกล้ตัวในคราบโจร ขโมยเงินในบ้านจำนวนครึ่งล้าน ลั่น ถ้ายังไม่คืนรู้เรื่องแน่

ป่วยนับสิบ! คนสุพรรณ ติดเชื้อไวรัสโรต้า หลังร่วมปาร์ตี้โฟมสงกรานต์

ปาร์ตี้โฟมสงกรานต์ เป็นเหตุ! ทำคนสุพรรณ ติดเชื้อไวรัสโรต้า หามตัวส่ง รพ. กว่า 50 ชีวิต พบมีอาการ มีไข้ ปวดท้อง อาเจียน และท้องเสีย

เซอร์ไพร์ส! Thailand Music Countdown บุกวงการ T-POP พบกันเร็วๆ นี้

เซอร์ไพร์สกันสุด ๆ เมื่อตอนนี้ทาง True CJ Creations ได้กำลังเตรียมรายการ Thailand Music Countdown มาให้ศิลปิน T-POP โชว์ของกันตอนนี้แล้ว!

หนุ่มโปแลนด์ คลุ้มคลั่ง ปีนสาเสาสัญาณ ดิ่งลงความสูง 62 เมตร ดับคาที่

เหตุระทึก! หนุ่มโปแลนด์ คลุ้มคลั่ง ปีนสาเสาสัญาณ ใช้เวลาเกลี้ยกล่อมกว่า 2 ชั่วโมง อาศัยจังหวะเจ้าหน้าที่เผลอ ดิ่งลงความสูง 62 เมตร ดับคาที่
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า