ไขข้อสงสัย! กรณี แสงและเสียงปริศนา ที่ภาคเหนือ สดร.คาดอาจเป็น ดาวตกชนิดระเบิด

สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติไขข้อสงสัย กรณี แสงและเสียงปริศนา ที่ภาคเหนือ คาดอาจเป็น ดาวตกชนิดระเบิด (Bolide)

จากกรณีที่เมื่อช่วงเย็นของวันที่ 22 มิถุนายน 2564 มีผู้พบเห็นแสงสว่างวาบบนท้องฟ้า สีฟ้าอมเขียว หลังจากนั้นได้ยินเสียงดังสนั่นพร้อมกันในหลายพื้นที่บริเวณภาคเหนือของไทย เขตจังหวัดเชียงใหม่ ลำพูน พะเยา แม่ฮ่องสอน ลำปาง ฯลฯ

โดยตอนนี้ยังไม่พบรายงานความเสียหายหรือได้รับบาดเจ็บแต่อย่างใด จากหลักฐานที่รวบรวมได้ อาทิ ข้อมูลการโพสต์จากหลายแหล่ง และภาพถ่าย เบื้องต้นคาดว่าอาจเกิดจาก ดาวตกชนิดระเบิด (Bolide) เป็นเหตุการณ์ที่สามารถอธิบายได้ตามหลักการทางวิทยาศาสตร์

ภาพจาก คุณอาสิสา เซยะ

นายศุภฤกษ์ คฤหานนท์ หัวหน้างานบริการวิชาการทางดาราศาสตร์ สดร. กล่าวว่า “ไม่มีหลักฐานและไม่มีรายงานความเสียหายจากหลักฐานภาพ และคลิปจากการโพสต์โดยคุณอาลิสา เซยะ ที่อำเภอพร้าว จังหวัดเชียงใหม่ เบื้องต้นคาดว่าเป็น ดาวตกชนิดระเบิด (Bolide)

โดยปกติแล้ว ดาวตกที่เข้ามาในชั้นบรรยากาศจะเริ่มเกิดความร้อนสูงจนเกิดการลุกไหม้ที่ความสูงประมาณ 80-120 กิโลเมตร จึงมักจะสูงเกินกว่าที่จะได้ยินเสียง อย่างไรก็ตาม ในบางครั้งดาวตกอาจจะแผ่คลื่นเสียงกระแทก (sonic boom) ในลักษณะเดียวกันกับเครื่องบินความเร็วเหนือเสียง ซึ่งสอดคล้องกับรายงานการพบเห็นที่ระบุว่าเห็นแสงวาบก่อนที่จะได้ยินเสียงตามมา

ซึ่งระยะเวลาระหว่างการพบเสียงและแสงนั้นจะขึ้นอยู่กับระยะห่างของดาวตกในขณะที่พบเห็นยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าวัตถุดังกล่าวนั้นจะตกลงมาถึงพื้นโลกเป็นอุกกาบาตหรือไม่ ดาวตกส่วนมากที่ตกลงมานั้นจะไหม้หมดไปในชั้นบรรยากาศ สำหรับอุกกาบาตที่ใหญ่พอจนตกลงมาถึงพื้นโลกได้นั้น มีการประมาณการกันว่ามีอยู่ประมาณ 6000 ดวงในทุกๆ ปี แต่ส่วนมากนั้นตกลงในมหาสมุทร หรือพื้นที่ห่างไกลที่ไม่มีผู้ใดพบเห็น

ภาพประกอบไม่เกี่ยวกับเนื้อหาข่าว

ในประวัติศาสตร์ของมนุษย์นั้น มีอุกกาบาตเพียงไม่กี่ชิ้นที่มนุษย์สามารถเก็บขึ้นมาได้หลังจากมีผู้พบเห็นเป็นดาวตกอยู่บนท้องฟ้า

ในแต่ละวันจะมีอุกกาบาตเข้ามาในชั้นบรรยากาศของโลกเป็นจำนวนมาก แต่โดยทั่วไปจะไหม้หมดไปตั้งแต่ความสูงนับร้อยกม. ในชั้นบรรยากาศ ในทางดาราศาสตร์ถือเป็นเรื่องปกติและสามารถอธิบายได้ ไม่ต้องตื่นตระหนกตกใจเพราะโอกาสที่จะเกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สินนั้นมีความเป็นไปได้น้อยมาก นายศุภฤกษ์ กล่าวปิดท้าย

ข้อมูลจาก : NARIT สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ
ภาพจาก : คุณอาสิสา เซยะ

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า