โควิด19 — 3 ต.ค.63 ศาสตราจารย์ นายแพทย์ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ศาสตราจารย์สาขาประสาทวิทยา ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์แสดงความคิดเห็นผ่านเฟซบุ๊ก ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha ระบุว่า

อันตรายถึงชีวิต! นายแพทย์ธีระวัฒน์ ย้อนประวัติศาสตร์ทดสอบวัคซีน

“การวิจัยและพัฒนาไปข้างหน้าสำหรับโรคติดเชื้ออุบัติใหม่จากสัตว์สู่คนโดยใช้โควิด-19 เป็นต้นแบบ

ตอนนี้ เราต้องมองไปข้างหน้า เรื่องการป้องกัน ไม่ให้เกิดตัวใหม่จากการผ่องถ่ายกลับไปกลับมาระหว่างสัตว์กับคน

การหาเชื้อใหม่ ในสัตว์ป่าอาจไม่ใช่เรื่องสำคัญนักในขณะนี้
แต่อาจจะต้องทบทวนกระบวนการแบบย้อนกลับ
คือต้องตอบให้ได้ว่าสัตว์ที่ป่วยและคนที่ป่วยเกิดจากเชื้ออะไรให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้และนำมาสู่การทราบว่ามีการแพร่กระจายด้วยกลวิธีใดและมียาอะไรที่สามารถยับยั้งได้
A การวิวัฒนาการของโคโรนาไวรัส

1- ทราบกันมาตั้งแต่ปี 2004 จากนักวิทยาศาสตร์ประเทศจีนที่ทำการสำรวจค้างคาว ในบริเวณเดียวกับที่มีการระบาดของซารส์ พบว่าในตัวค้างคาว มีโคโรนาไวรัส ที่ไม่ใช่ซารส อยู่มากกว่าหนึ่งชนิดในตัวเดียวกันและแสดงว่าโอกาสที่จะมีการ recombination มีสูงมาก

2- การสำรวจ 70 แห่ง ในตอนใต้ของเวียตนาม พบโคโรนาไวรัส ที่ไม่ใช่โควิด -19 ใน 58 แห่ง. ที่ขายหนูเป็นอาหาร ทั้ง 24แห่ง ที่เลี้ยง สัตว์ป่าประเภทสัตว์ฟันแทะ 17ใน 28 แห่ง และ 16 ใน 17 แห่ง ที่มีค้างคาวและเก็บมูลมาทำปุ๋ย
แม้จะไม่ใช่ โควิด19 แต่ไวรัสที่พบอยู่ในกลุ่มโคโรนาไวรัสจากค้างคาว และตอกย้ำการที่ต้องห้ามซื้อขาย เลี้ยง สัตว์ป่า ฆ่า ชำแหละ กิน ที่จะเป็นผลให้มีโอกาศสัมผัสและติดเชื้อไวรัส จากการประพฤติปฎิบัติเช่นนี้
รายงานในวารสาร Plos ONE 2020

3-รายงานจากการศึกษาค้างคาวมงกุฎ ในประเทศจีน (ในวารสาร current Biology) ระหว่างเดือน พค-ตค 2019

พบไวรัสในลักษณะใกล้เคียงมากกับ covid-19 คือ RmYN02 ที่ได้จากการสำรวจค้างคาว 227 ตัว ในพื้นที่ southwestern Chinese province of Yunnan โดยที่ มีกรดอมิโน ที่ junction of its spike protein’s subunits เหมือน แต่ไม่ตรงกันทีเดียวกับ โควิด 19 และเป็นหลักฐานการวิวัฒนาการตามธรรมชาติ มากกว่าที่เกิดจากมนุษย์ทำ แต่ไวรัสที่เจอในค้างคาวมงกุฎนี้ไม่ได้ทำให้เกิดโรคร้ายแรงดังโควิด19 โดยที่ไม่มีส่วนที่จับเกาะติดกับเซลล์มนุษย์

ลุ้นประวัติศาสตร์! หมอยง ชี้หาก วัคซีนโควิด 19 สามารถรู้ผลได้ภายในสิ้นปีนี้

4- หลักฐานชิ้นแรกที่เชื่อมโยงการผันแปรของรหัสพันธุกรรมเข้ากับ การปรับตัวให้เก่งขึ้นของไวรัสมีตั้งแต่ตั้นปี 2000

จากการทดสอบในหลอดทดลองโดยพบว่าไวรัสเจริญเติบโตเพิ่มพูนจำนวนได้มากกว่าเดิมหลาย 100 เท่ารวมทั้งเกิดการเปลี่ยนแปลงที่เห็นในสภาพเซลล์ได้ชัดเจนและกว้างขวางขึ้น จากการที่มีการผันแปรจำเพาะของรหัสพันธุกรรม

รายงานที่ผ่านมาของการ ผันแปรของรหัสพันธุกรรม ในตำแหน่งต่าง ๆ จะเทียบเคียงกับเวลาและพื้นที่ ที่เกิดโรคและที่มีข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ไวรัสในขณะนั้น และตั้งสมมติฐานว่าการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวไม่ว่าจะวิเคราะห์ จาก polymorphism หรือจากสายวิวัฒนาการ เป็น สาย หรือ lineage A B. C “น่าจะ” กำหนดความรุนแรงที่เห็นในผู้ที่ติดเชื้อ

รายงานชิ้นนี้เป็นการระบุการ ผันแปรของรหัสพันธุกรรม เพิ่มขึ้นจากเดิมเป็น33 ตำแหน่ง จากไวรัสที่ได้จากผู้ป่วย 11 ราย และเป็นการทดสอบ functional mutation จริง ๆ ไม่ใช่พิเคราะห์จาก ที่เรียกว่า สายพันธ์ ตามเวลาและภูมิศาสตร์

อย่างไรก็ตาม การดูในหลอดทดลอง กับความรุนแรงในคนเป็นอีกเรื่อง เพราะเกี่ยวกับ กระบวนการจำเพาะของเนื้อเยื่อ ของอวัยวะนั้น ๆ และการตอบสนองโดยรวมของผู้ที่ติดเชื้อ ลักษณะประจำตัวของคนป่วย และการรักษา

5- การศึกษากระบวนการเข้าเซลล์ และการใช้ตัวรับแบบต่าง ๆ มีมาตรฐานรูปแบบทั้งในโคโรนาไวรัสและโควิด-19 มีมาตั้งแต่ต้นปี 2020 และต่อเนื่องหลังจากนั้นจนกระทั่งถึงปัจจุบันในเดือนตุลาคม 2020

B. การแพร่กระจายไวรัสข้ามสายพันธุ์ในสิ่งมีชีวิตจากค้างคาว ด้วยกันเอง จาก species หนึ่ง ไปยังคนละชนิด ลงมายังสัตว์บก เข้ามนุษย์ และจากมนุษย์กลับเข้าสู่สัตว์บกและเริ่มมีหลักฐานกลับเข้าสู่ค้างคาว

เป็นเรื่องปกติของกำเนิดโรคอุบัติใหม่จากสัตว์สู่คน ทั้งนี้เป็นที่ศึกษากันดีในไวรัสอาร์เอ็นเอ ตระกูล lyssavirus ถึงความสามารถที่ไวรัสจากค้าวคาวจะลงไปยังสัตว์บก ได้แตกต่างกัน เช่น red fox skunk raccoon เป็นต้น ในไวรัส genotype 1

ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ co evolution ของ ไวรัส จากค้างคาว และสัตว์อีกชนิดที่จำเพาะหรือเรียกว่า การวิวัฒนาการร่วมกัน

ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับโคโรนาไวรัส ที่จะพิสูจน์ว่า สามารถเข้าไปตั้งตัวได้สัตว์อีกชนิดหนึ่งได้นั้น ในโควิด-19 สามารถที่จะเข้าร่างกายของ แมว เสือ จากมนุษย์ที่ติดเชื้อและจากนั้นมีการแพร่กระจายในพวกเดียวกัน สำหรับสุนัขนั้นมีหลักฐานชัดเจนว่าสามารถรับเชื้อและเกิดโรคได้แต่ไม่บ่อยเท่าแมวและตัว มิ้งค์ และอาการรุนแรงน้อยกว่าหรือไม่มีอาการเลย ยกเว้นสุนัขอายุมากกว่า 10 ปีขึ้นไปที่มีรายงานว่าเกิดโรครุนแรงได้

อย่างไรก็ตามถึงปัจจุบันยังไม่มีรายงานชัดเจนว่าสัตว์เลี้ยงเหล่านี้จะนำโรคกลับไปยังมนุษย์ได้มากน้อยเพียงใด แต่เป็นไปได้แน่นอน

สำหรับการศึกษาไวรัสโคโรนาที่เรียกว่า novel coronavirus โดยที่ยังไม่ทราบชื่อนั้น ว่าจะเข้ามนุษย์และเกิดโรคได้หรือไม่?

ไม่สามารถตอบได้จากการที่ไวรัสสามารถเกาะติดกับตัวรับreceptor เท่านั้น แต่ต้องสามารถพิสูจน์ได้ว่าไวรัสนั้นสามารถตั้งต้นกระบวนการ transcription translation และreplication ได้ เช่น การพิสูจน์ว่าในเซลล์มีการสร้าง subgenomic RNA ของยีนต่างๆ
และกระบวนการในการทำให้เกิดโรคได้ต้องสามารถแสดงให้เห็นได้ว่ามีUp หรือ Down regulation ของยีนในเซลล์นั้นๆและมีส่วนเกี่ยวพันกระทบกับการควบคุมการทำหน้าที่หรือการทำงานของเซลล์

รวมทั้งระบบในการป้องกันภัยของเซลล์ว่าถูกยับยั้งหรือถูกกระตุ้นให้ทำงานมากเกินไปในระยะหลัง จึงจะสามารถอธิบายความเสี่ยงของไวรัสที่ยังไม่ทราบชื่อว่าสามารถที่จะติดเชื้อในมนุษย์และสามารถก่อโรคในมนุษย์ได้หรือไม่

กล่าวโดยสรุป

แบบแผนการวิวัฒนาการของไวรัสในตระกูลโคโรนาเป็นที่ทราบและเป็นถึงกับมีการทำนายทางวิชาการมานานรวมกระทั่งถึงการพิสูจน์ว่าเกิดขึ้นจริง แล้วในไวรัสโควิด-19 และพิสูจน์ไวรัสที่เป็นปฐมบท ก่อนที่จะเป็นโควิด-19

สิ่งที่อาจหลีกเลี่ยงไม่ได้คือการผสมควบรวมเกิดเป็นตัวใหม่ที่ไม่ใช่โควิด-19 เดิม และเกิดโรคทั้งในสัตว์และในคนใหม่

หมอธีระ สะกิดรัฐบาลจับตาประเทศเพื่อนบ้าน ป้องกัน โควิด ระบาดซ้ำสอง

มาตรการที่ควรทำเลยโดยไม่ต้องทำวิจัยอีก ครอบคลุมทั้งโควิด-19 และโคโรนาไวรัสตัวอื่น
1- เพื่อหาว่าคนหรือสัตว์เช่นสัตว์เลี้ยง มีการติดโควิด-19 หรือไม่?

(ซึ่งสามารถกระทำได้เลยโดยไม่ต้องมีการวิจัยอีก)
แต่ในทางปฎิบัติจริงเมื่อทราบแล้วจะปฏิบัติอย่างไรต่อ?

คือการตรวจเลือดซึ่งต้องตรวจด้วยวิธีมาตรฐานดังที่ห้องปฏิบัติการโรคอุบัติใหม่สภากาชาดไทยใช้อยู่ และพิสูจน์แล้วว่ามีความไว 100% และความจำเพาะ 100% จากการตรวจสอบในผู้ป่วย 2313 รายจนกระทั่งถึงต้นเดือนตุลาคมและจากการตรวจสอบในผู้ป่วยที่รับการรักษาตัวในโรงพยาบาลและมีการตรวจเป็นระยะติดตามหลังจากนั้น

ทั้งนี้การตรวจดังกล่าวสามารถตรวจได้ทั้งในคนและในสัตว์โดยไม่ มีผลบวกต่อไวรัสโคโรนาอื่น ๆ ที่ไม่ใช่โควิด-19

2- มาตรการที่ต้องทำต่อ จากที่พบว่ามีการติดเชื้อโควิด 19 ในสัตว์เลี้ยงแล้ว คือการตรวจว่ามีการปล่อยเชื้อออกมา หรือไม่
เหมือนกับที่ปฏิบัติในคนทุกประการ

ทั้งนี้ในสัตว์เลี้ยงก็จะเป็นชนิดที่ไม่แสดงอาการแต่ปล่อยเชื้อได้ ซึ่งจะเป็นมาตรการปฏิบัติทางสัตวแพทย์และกรมปศุสัตว์ สถาบันสุขภาพสัตว์ของประเทศ

3- มาตรการในการป้องกันการนำเชื้อโควิด-19 และเชื้อโคโรนาอื่น ๆ ทั้งที่ทราบชื่อแล้วและไม่ทราบชื่อที่ติดในคนไม่ให้แพร่กลับไปที่สัตว์

มาตรการที่สำคัญอันดับแรกคือสัตว์ป่าโดยเฉพาะค้างคาว ทั้งนี้โดยที่การเข้าไปยังถ้ำค้างคาว คนที่เข้าไปต้องมีเครื่องป้องกันไม่ให้เชื้อจากมนุษย์แพร่กลับไปที่สัตว์ ไม่ว่าคนนั้นจะมีอาการหรือไม่มีอาการก็ตาม โดยอนุมานว่าอาจมีเชื้อโคโรนาอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่ในตัวอยู่แล้ว และเริ่มมีหลักฐานแล้วว่าเชื้อโคโรนาประจำถิ่นในคนกลับเข้าไปในค้างคาวได้

ที่ต้องให้ความสำคัญกับค้างคาว เป็นอันดับหนึ่งเพราะเป็นสัตว์ชนิดเดียวที่มีความสามารถในการเพาะบ่มไวรัสอาร์เอ็นเอได้ทุกตระกูลและสามารถสร้างไวรัสใหม่ที่มีความสามารถในการแพร่กระจายข้ามสายพันธุ์และในที่สุดไปถึงมนุษย์

สำหรับสัตว์เลี้ยงอื่นนั้นในทางปฏิบัติเช่นสุนัขและแมว การขัดขวางวงจรการติดเชื้อจากคนไปสู่สัตว์หรือสัตว์มาสู่คนนั้น นอกจากโควิด-19 ดังที่ได้กล่าวในข้อหนึ่งและข้อสอง สามารถกระทำได้โดยมีวิธีการตรวจหาแอนติบอดีต่อไวรัสโคโรนาอื่น ๆ ทั้งหมดที่เป็นไวรัสประจำหมาและแมวและที่เป็นไวรัสประจำของคน

แต่ในทางปฏิบัติที่จะต้องมีการตรวจสุนัขและแมวทุกตัวและตรวจเจ้าของทุกรายว่ามีการติดเชื้อและสามารถปล่อยเชื้อได้หรือไม่แทบจะเป็นไปไม่ได้

ดังนั้นการตรวจตราสุนัขและแมวและคนที่ติดเชื้อทั้งที่มีอาการหนักหรือไม่หนักก็ตามจนกระทั่งถึงเสียชีวิตจำเป็นต้องได้คำตอบว่าที่ติดเชื้อนั้นติดเชื้อจากไวรัสชื่ออะไร ไม่ใช่โควิด 19 อย่างเดียวที่ทราบอยู่แล้วว่าต้องมีอยู่แล้ว

ในกรณีของสุนัขและแมวที่ติดเชื้อโควิด-19 คงไม่ใช่เรื่องใหม่หรือเป็นเรื่องผิดปกติ แต่อยู่ที่จะทำอะไรต่อเพื่อเป็นการป้องกันการแพร่มาสู่คน

และที่สำคัญกว่านั้นคือ การที่ต้องพัฒนาการวินิจฉัยโรคติดเชื้อให้ได้ทราบชื่อทั้งในคนและในสัตว์ หรือจะเรียกว่า Disease X ทั้งนี้โดยที่ต้องตระหนักว่าโรคติดเชื้อในมนุษย์เองนั้นยังทราบได้เพียงไม่เกิน 50% เท่านั้น และเป็นปัจจัยสำคัญที่อาจมีการระบาดของโรคอุบัติใหม่ในอนาคตลุกลามขึ้นทั้งนี้โดยมีการเพาะบ่มอยู่อย่างเงียบๆแต่ไม่ลุกลามกระจายไปอยู่แล้วก็ได้”

ข่าวล่าสุด

ดูทั้งหมด

ตลกรุ่นใหญ่ ออกตัวโต้! ยืนยัน ไม่ได้โทรหา ป้าปูนา หลังถูกอ้างขอให้ช่วย

ตลกรุ่นใหญ่ชื่อดังเชิญยิ้ม ออกตัวโต้! พร้อมยืนยัน ไม่ได้โทรหา และไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง ป้าปูนา เผย หลังถูกอ้างขอให้ช่วย

โพสต์สุดท้าย สุดซึ้ง! เอ๋ ปารีณา ร่ายยาวถึงพ่อ ‘ทวี ไกรคุปต์’ ก่อนสิ้นอายุขัย

“เอ๋ ปารีณา” โพสต์ข้อความร่ายยาวถึงพ่อ “ทวี ไกรคุปต์” ก่อนจากไปอย่าสงบ เผยคำพูดสุดซึ้ง! ตอนนี้เอ๋เก่งและเข้มแข็งมาก จะไม่โทรไปกวนแล้วนะ

ธัญญ่า อาร์สยาม โผล่เมนต์ เจนนี่ ปมดรามาถูกขโมยเงิน แฟนคลับส่งกำลังใจรัวๆ!

ธัญญ่า อาร์สยาม โผล่คอมเมนต์ เจนนี่ รัชนก ปมดรามาถูกคนในทีมขโมยเงินครึ่งล้าน ด้านแฟนคลับแห่ส่งกำลังใจรัวๆ!

ปาร์ตี้โฟมสุพรรณ ทำเรื่อง! พบเด็กป่วย ติดเชื้อไวรัสโรต้า เพิ่ม 65 ราย

ผู้ปกครองลั่น! น้ำเหม็นมาก “ปาร์ตี้โฟมสุพรรณ” ทำเด็กป่วยเพิ่ม 65 ราย หลังตรวจอุจาระเด็ก พบติดเชื้อไวรัสโรต้า ล่าสุด! สั่งหยุดเล่นปาร์ตี้โฟม

เจนนี่ รัชนก โอดหนัก แx่งโคxรเหนื่อย! หลังคนในทีมขโมยเงินครึ่งล้าน

เจนนี่ รัชนก โอดหนัก ทั้งแค้นทั้งเสียใจ ลั่น แx่งโคxรเหนื่อย!ลังคนในทีมขโมยเงินจำนวนครึ่งล้าน เพื่อนำไปเล่นการพนัน

เจอชิ้นส่วนเพิ่มอีก 4 ถุง! หลังเด็ก 10 ขวบ พบมือมนุษย์ถูกทิ้งกลางลานดิน

เด็ก 10 ขวบ พบมือมนุษย์ถูกทิ้งกลางลานดิน ล่าสุด! เจอชิ้นส่วนมนุษย์เพิ่ม พบชิ้นเนื้อถูกหั่นหมกถุงดำ 4 ถุง ในบ่อน้ำ คาดเอามาทิ้งเพื่ออำพรางศพ
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า