แกลลัพ เผยผลสำรวจ “มนุษย์ออฟฟิศอเมริกัน” ฮิตทำงานนอกสถานที่เพิ่มขึ้น

บริษัท แกลลัพ จำกัด ผู้นำด้านการวิจัยตลาดและผู้ให้คำปรึกษาทางธุรกิจระดับโลกที่มีประสบการณ์มากกว่า 80 ปี เปิดเผยผลวิจัยครั้งล่าสุด เมื่อกลางเดือนกุมภาพันธ์ ปี 2560 ที่ผ่านมา พบว่า พนักงานชาวอเมริกันทำงานนอกสำนักงานเพิ่มมากขึ้น และยังเป็นระยะเวลานานขึ้นด้วย
 
ทั้งนี้ ผลสำรวจจากกลุ่มตัวอย่างวัยทำงานทั้งหมด 15,000 คน เมื่อปี 2559 ชี้ว่า 43 เปอร์เซ็นต์ของพนักงานชาวอเมริกัน บอกว่า พวกเขาทำงานนอกสำนักงานในบางครั้ง ตัวเลขนี้แสดงให้เห็นถึงอัตราส่วนของพนักงานที่ทำงานนอกสำนักงานเพิ่มขึ้น 4 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับงานวิจัยในปี 2555 ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงที่สะท้อนถึงความต้องการของผู้หางาน
 
“มีรายงานข้อมูลอย่างต่อเนื่องจากแกลลัพ ว่า ตารางเวลาที่มีความยืดหยุ่นและการให้โอกาสทำงานจากที่บ้าน เป็นปัจจัยสำคัญและมีผลต่อการตัดสินใจทำงานหรือลาออกของพนักงาน”
 
“พนักงานพยายามพลักดันให้บริษัทเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรรูปแบบเก่าที่ใช้กันมาอย่างยาวนานและ นโยบายต่างๆ ที่มีผลต่อวันทำงานหรือตารางเวลาทำงานของพวกเขา”
 
อย่างไรก็ตาม แกลลัพ ยังเผยผลรายงานบางส่วนอีกว่า พนักงานและหัวหน้างานบางคนเห็นด้วยกับระบบการทำงานที่มีความยืดหยุ่นในลักษณะนี้ โดยให้เหตุผลว่าพนักงานที่ทำงานนอกสถานที่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น และการทำงานที่มีความยืดหยุ่นในลักษณะนี้จะช่วยลดช่องว่างความแตกต่างทางเพศอีกด้วย
 
อย่างไรก็ตาม พนักงานส่วนที่บอกว่าพวกเขาใช้เวลาเพียงหนึ่งวันหรือน้อยกว่านั้นต่อสัปดาห์ในการทำงานนอกสำนักงาน มีจำนวนน้อยลงมาก จากเดิม 34 เปอร์เซ็นต์ในปี 2555 เหลือเพียง 25 เปอร์เซ็นต์ในปี 2559
 
ในขณะเดียวกัน พนักงานส่วนที่บอกว่าพวกเขาทำงานนอกสถานที่ สัปดาห์ละสี่ถึงห้าวันมีจำนวนเพิ่มขึ้นในอัตราส่วนที่เกือบจะเท่ากัน โดยเพิ่มจาก 24 เปอร์เซ็นต์ เป็น 31 เปอร์เซ็นต์

ไม่ใช่ทุกอุตสาหกรรมที่จะเปิดรับการทำงานนอกสถานที่
 
แม้ว่าการทำงานนอกสำนักงานจะมีความแพร่หลาย แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่า จะถูกนำมาใช้ปฏิบัติได้ในทุกวงการ การทำงานนอกสำนักงานถูกค้นพบว่า น้อยลงจากเดิมในปี 2555 สำหรับชาวอเมริกันที่ทำงานในกลุ่มธุรกิจ อาทิ การบริการชุมชนและสังคม วิทยาศาสตร์ วิศวกรรม สถาปัตยกรรม และธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา การฝึกอบรม และ ห้องสมุด
 
อุตสาหกรรมส่วนใหญ่เปิดรับการทำงานนอกสถานที่
 

พนักงานส่วนหนึ่งใช้เวลาทำงานนอกสถานที่เป็นบางครั้ง

 

อย่างไรก็ตาม ธุรกิจส่วนใหญ่ ยอมรับแนวคิดนี้ และมีธุรกิจประเภทหนึ่งที่แนวคิดนี้ได้เติบโตอย่างรวดเร็วก็ คือ ธุรกิจด้านการเงินและอสังหาริมทรัพย์ โดยพนักงานในธุรกิจประเภทนี้มีสัดส่วนของการทำงานนอกสำนักงานเพิ่มขึ้น 8 เปอร์เซ็นต์ รวมทั้งหมดสูงถึง 47 เปอร์เซ็นต์ ระหว่างปี 2555 ถึง 2559
 
ด้านธุรกิจขนส่ง คอมพิวเตอร์ ระบบฐานข้อมูล และคณิตศาสตร์ มีสัดส่วนพนักงานเกินครึ่งที่บางครั้งทำงานนอกสำนักงาน แม้แต่ในอุตสาหกรรมที่แนวคิดนี้จะได้รับความนิยม บริษัทก็ต้องเผชิญปัญหาในการจัดสรรเวลาที่เหมาะสมให้กับพนักงานในการทำงานนอกสำนักงาน ที่น่าสนใจคือ ในปี 2556 บริษัทชื่อดังอย่าง Yahoo ได้นำพนักงานกลับเข้ามาทำงานในสำนักงาน และเมื่อเดือนตุลาคม 2559 ที่ผ่านมา Aetna บริษัทประกันภัยยักษ์ใหญ่ที่ขึ้นชื่อเรื่องการสนับสนุนแนวคิดที่ให้พนักงานสามารถทำงานนอกสำนักงานได้ ก็ทำเช่นเดียวกับบริษัท Yahoo
 
จุดสมดุลของการทำงานนอกสำนักงานที่ให้ประสิทธิภาพสูงสุด
 

           ผลงานวิจัยในปี 2555 พบว่า พนักงานกลุ่มที่รู้สึกมีส่วนร่วมและมีความมุ่งมั่นที่จะเห็นความสำเร็จขององค์กรสูงที่สุดเป็นกลุ่มที่ใช้เวลาในการทำงานนอกสำนักงานน้อยสุด ในปี 2559 ผลงานวิจัยล่าสุดพบว่าแนวคิดนี้ไม่เป็นความจริงอีกต่อไป

 

     ในปี 2559 รายงานแจ้งว่า พนักงานที่ไม่เคยทำงานนอกสถานที่เลย หรือทำงานนอกสถานที่ตลอดเวลา มีความรู้สึกมีส่วนร่วมและมีความมุ่งมั่นที่จะเห็นความสำเร็จขององค์กรเท่ากัน พนักงานกลุ่มที่ใช้เวลาทำงานนอกสำนักงาน 60 ถึง 80 เปอร์เซ็นต์ต่อสัปดาห์เป็นกลุ่มที่รู้สึกมีส่วนร่วมและมีความมุ่งมั่นที่จะเห็นความสำเร็จขององค์กรสูงที่สุด ทั้งๆ ที่พนักงานกลุ่มที่ได้ทำงานนอกสถานที่เป็นกลุ่มที่ต้องใช้เวลาบางส่วนห่างจากผู้จัดการและเพื่อนร่วมงาน แต่พนักงานกลุ่มนี้กลับเป็นส่วนใหญ่ของพนักงานที่เห็นด้วยเป็นอย่างยิ่งว่า คนในที่ทำงานใส่ใจพวกเขาและมีคนที่สนับสนุนการพัฒนาศักยภาพของพวกเขาและได้พูดคุยกับพวกเขาถึงความเป็นไปในการทำงาน” นอกเหนือจากนี้ พนักงานกลุ่มที่ใช้เวลาสามถึงสี่วันต่อสัปดาห์ในการทำงานนอกสำนักงานเป็นกลุ่มที่มีแนวโน้มสูงที่สุดที่จะรู้สึกว่าพวกเขามีเพื่อนที่ดีที่สุดในองค์กรและมีโอกาสในการเติบโตในสายงานอีกด้วย แกลลัพรายงาน

ข่าวล่าสุด

ดูทั้งหมด

กัมพูชา เคลมอีก! ลาบูบู้ LABUBU แท้จริงมาจากตำนานของพี่เขา

ชาวเน็ตกัมพูชา ไม่ตกกระแส! แห่ตามเคลม “ลาบูบู้ LABUBU” มาจากรูปแกะสลักปีศาจ “หน้ากาล” วัฒนธรรมของกัมพูชา ไม่เชื่อ! เจอได้ตามทางเข้าวัด

สคบ.เตือนภัย ‘พัดลมคล้องคอ’ อันตราย ใช้ไปนาน ๆ เสี่ยงโรคมะเร็ง

หยุดใช้ดีที่สุด! สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค (สคบ.) เตือน ‘พัดลมคล้องคอ’ มีตะกั่วเข้มข้นเป็นอันตรายต่อผิวหนังเสี่ยงเป็นมะเร็งสูง

ครั้งนี้ไม่ยอม! เจนนี่ รัชนก ถูกคนใกล้ตัวในคราบโจร ขโมยเงินครึ่งล้าน

ไม่ยอม! เจนนี่ รัชนก ถูกคนใกล้ตัวในคราบโจร ขโมยเงินในบ้านจำนวนครึ่งล้าน ลั่น ถ้ายังไม่คืนรู้เรื่องแน่

ป่วยนับสิบ! คนสุพรรณ ติดเชื้อไวรัสโรต้า หลังร่วมปาร์ตี้โฟมสงกรานต์

ปาร์ตี้โฟมสงกรานต์ เป็นเหตุ! ทำคนสุพรรณ ติดเชื้อไวรัสโรต้า หามตัวส่ง รพ. กว่า 50 ชีวิต พบมีอาการ มีไข้ ปวดท้อง อาเจียน และท้องเสีย

เซอร์ไพร์ส! Thailand Music Countdown บุกวงการ T-POP พบกันเร็วๆ นี้

เซอร์ไพร์สกันสุด ๆ เมื่อตอนนี้ทาง True CJ Creations ได้กำลังเตรียมรายการ Thailand Music Countdown มาให้ศิลปิน T-POP โชว์ของกันตอนนี้แล้ว!

หนุ่มโปแลนด์ คลุ้มคลั่ง ปีนสาเสาสัญาณ ดิ่งลงความสูง 62 เมตร ดับคาที่

เหตุระทึก! หนุ่มโปแลนด์ คลุ้มคลั่ง ปีนสาเสาสัญาณ ใช้เวลาเกลี้ยกล่อมกว่า 2 ชั่วโมง อาศัยจังหวะเจ้าหน้าที่เผลอ ดิ่งลงความสูง 62 เมตร ดับคาที่
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า