กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งจัดแถลงข่าวเรื่องสถานการณ์การกัดเซาะชายฝั่งของไทย ปี 2560 เผยแผนงานโครงการป้องกันปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง ผุด 4 แนวทาง 3 มาตรการ 8 รูปแบบ ลดผลกระทบปัญหากัดเซาะชายฝั่งอย่างยั่งยืน

เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2561 กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเป็นเจ้าภาพจัดแถลงข่าวเรื่องสถานการณ์การกัดเซาะชายฝั่งของไทย ปี 2560 โดยมีนายจตุพร บุรุษพัฒน์ อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งเป็นประธาน พร้อมด้วยผู้ทรงคุณวุฒิด้านการกัดเซาะชายฝั่งและนักวิชาการด้านทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งของไทย ประกอบด้วย อาจารย์ศศิน เฉลิมลาภ,อาจารย์ศักดิ์อนันต์ ปลาทอง, อาจารย์กิตติพจน์ เพิ่มพูน และนายอดิศักดิ์ ทองไข่มุกต์ พร้อมผู้บริหารข้าราชการเข้าร่วม ณ ห้องประชุมลำแพน ชั้น 9 กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง แจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานคร

นายจตุพร บุรุษพัฒน์ อธิบดีกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กล่าวว่า ตลอดระยะที่ผ่านมากว่า 50 ปี ประเทศไทยต้องประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งมาอย่างยาวนาน จากการรวบรวมข้อมูลการกัดเซาะชายฝั่งตั้งแต่ปี 2495-2551 พบว่ามีพื้นที่ชายฝั่งที่ประสบปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งประมาณ 800 กิโลเมตร จากความยาวชายฝั่งทั้งสิ้น 3,151 กิโลเมตร คิดเป็น 25% ของความยาวชายฝั่งประเทศไทย ซึ่งประเทศไทยได้พยายามแก้ไขปัญหาการกัดเซาะมาเป็นเวลาหลายสิบปี โดยการแก้ไขปัญหาในสมัยก่อนนั้นเน้นการแก้ไขปัญหาเฉพาะจุด หรือเฉพาะพื้นที่ที่มีการกัดเซาะ โดยใช้โครงสร้างทางวิศวกรรม ซึ่งการแก้ไขปัญหาโดยวิธีดังกล่าว จะส่งผลให้ชายฝั่งที่อยู่ใกล้เคียงกับโครงสร้าง หรืออยู่ท้ายโครงสร้างเกิดการกัดเซาะรุกลามกลายเป็นปัญหาที่รุนแรงมากขึ้น

จากการสำรวจแนวชายฝั่งประเทศไทยปี 2560 โดยกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง พบพื้นที่กัดเซาะชายฝั่งได้ดำเนินการแก้ไขแล้วเป็นระยะทางประมาณ 559 กิโลเมตร คิดเป็นประมาณ 18% ของแนวชายฝั่ง คงเหลือพื้นที่กัดเซาะที่ยังไม่รับการแก้ไขเป็นระยะทางประมาณ 145 กิโลเมตร คิดเป็นประมาณ 5% ของความยาวชายฝั่ง และพื้นที่ที่ไม่มีปัญหาการกัดเซาะระยะทาง 2,447 กิโลเมตร คิดเป็นประมาณ 77% ของแนวชายฝั่ง

กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งได้มีการแบ่งขอบเขตพื้นที่ชายฝั่ง แบบระบบกลุ่มหาด ซึ่งพิจารณาจากลักษณะทางธรณีสัณฐาน ลักษณะทางธรณีวิทยา ลักษณะทางกายภาพของหาด และสมดุลตะกอนที่เคลื่อนที่ในบริเวณชายฝั่ง ทำให้สามารถแบ่งเป็นหน่วยย่อย ทั้งสิ้น 282 ระบบหาดย่อย และนำไปเป็นฐานข้อมูลที่ใช้ในการกำหนดแนวทางหรือมาตรการในจัดการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งในแต่พื้นที่เพื่อไม่ส่งผลกระทบต่อพื้นที่ข้างเคียงเหมือนเช่นเดิม

จากอดีตจนมาสู่รัฐบาล พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา ได้มีข้อสั่งการให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดำเนินการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะอย่างเร่งด่วน ดังนั้น กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งในฐานะกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการนโยบายและแผนการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งชาติ ได้จัดทำแนวทางการจัดทำแผนงาน,โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งโดยบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายใต้คณะทำงานบูรณาการแนวทาง แผนงานโครงการและงบประมาณการจัดการป้องกันแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง โดยผ่านกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของภาคประชาชน หน่วยงานในท้องถิ่นพื้นที่ชายฝั่งทะเล 23 จังหวัด

ทั้งนี้แนวทางดังกล่าวได้ผ่านความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายและแผนการบริหารจัดการทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งแห่งชาติ และผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้ว เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2561 โดยแนวทางดังกล่าวเป็นการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง โดยมุ่งเน้นความสอดคล้องกับธรรมชาติไม่ส่งผลต่อเนื่องไปยังพื้นที่ข้างเคียงเป็นหลักซึ่งแบ่งได้เป็น 4 แนวทาง 3 มาตรการ 8 รูปแบบ คือแนวทางการปรับสมดุลชายฝั่งโดยธรรมชาติ แนวทางการป้องกันปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง แนวทางการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง แนวทางการฟื้นฟูเสถียรภาพชายฝั่ง ด้านมาตรการการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง อีก 3 มาตรการ 8 รูปแบบ คือ มาตรการสีขาว หมายถึงการดำเนินการ เพื่อลดผลกระทบต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน ที่อาจเกิดขึ้นจากการกัดเซาะชายฝั่ง ซึ่งดำเนินการในรูปแบบการกำหนดพื้นที่ถอยร่น ห้ามก่อสร้างหรือกระทำกิจกรรมที่เปลี่ยนแปลงสภาพสัณฐานชายหาดและเนินทราย เพื่อให้ธรรมชาติปรับสมดุล  มาตรการสีเขียว คือการดำเนินการที่จะไม่ก่อให้เกิดผลกระทบกับพื้นที่ข้างเคียง เหมาะกับบริเวณชายฝั่งทะเลแบบปิดขนาดเล็ก ชายฝั่งที่มีความลาดชันต่ำ มี 3 รูปแบบ การดำเนินการ คือ การปลูกป่า การฟื้นฟูชายหาด และการปักเสาดักตะกอน เพื่อปลูกป่าชายเลน มาตรการสีเทา การดำเนินงานโดยใช้โครงการทางวิศวกรรม เพื่อให้เหมาะสมกับชายฝั่งที่มีคลื่นขนาดใหญ่ชายฝั่งมีความลาดชันสูง มีมาตรการดำเนินการทั้งหมด 4 รูปแบบ คือ การสร้างเขื่อนกันคลื่นนอกชายฝั่ง รอดักทราย เขื่อนป้องกันตลิ่งริมทะเล และกำแพงป้องกันคลื่นริมชายหาด

นอกจากนี้ในช่วงระยะเวลากว่า 10 ปีที่ผ่านมากรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งมีการศึกษาวิจัย พัฒนานวัตกรรมด้านต่าง ๆ และได้ดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งทั้งในพื้นที่หาดโคลนและหาดทราย เช่น การปักไม้ไผ่ชะลอความรุนแรงของคลื่น การฟื้นฟูป่าชายเลน การถ่ายเททราย พร้อมทั้งเผยแพร่องค์ความรู้ด้านการกัดเซาะชายฝั่งให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ได้ตระหนักถึงสาเหตุของปัญหา และแนวทางการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง รวมถึงการบูรณาการการทำงานร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และประชาชนผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อให้เกิดการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ และยั่งยืน

ปัจจุบันกรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งได้วางแนวทางในการแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งเชิงรุกทั้งในพื้นที่ชายฝั่งทะเล 23 จังหวัด โดยเบื้องต้นจะดำเนินการกำหนดเขตพื้นที่และมาตรการในการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง บริหารจัดการพื้นที่ชายฝั่งตามระบบกลุ่มหาด แก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งในพื้นที่หาดโคลนและหาดทราย ส่วนในพื้นที่เกาะที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจกว่า 70 เกาะ ในปี 2561 จะดำเนินการสำรวจสภาพปัญหาการกัดเซาะชายฝั่ง เพื่อจัดลำดับความสำคัญและกำหนดมาตรการในการป้องกันการกัดเซาะชายฝั่ง เพื่อให้ประชาชนมั่นใจว่าปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งจะได้รับการแก้ไขปัญหาอย่างถูกต้อง เหมาะสมตามหลักวิชาการและสอดคล้องกับแนวทางการจัดทำแผนงาน โครงการป้องกันและแก้ไขปัญหาการกัดเซาะชายฝั่งต่อไป

 

ข่าวล่าสุด

ดูทั้งหมด

ร้านรับซ่อมมือถือ คิวยาว โกยรายเป็นกอบเป็นกำ หลังเทศกาลสงกรานต์

เมื่อซองกันน้ำเอาไม่อยู่ ต้องถึงมือ “ร้านซ่อมมือถือ” ซะแล้ว! อาชีพที่รายได้ดี – ลูกค้าต่อคิวยาวหลังจบเทศกาลสงกรานต์

ไม่คิดชีวิต! หนุ่มใหญ่โดดสะพานแม่น้ำแม่กลอง 20 เมตร ลงไปช่วยวัยรุ่น รอดตายหวุดหวิด

เปิดใจ หนุ่มใหญ่วัย 45 ปี ตัดสินใจกระโดดลงจากสะพานข้ามแม่น้ำแม่กลองสูงเกือบ 20 เมตร ช่วยชีวิตวัยรุ่นกำลังจะจมน้ำรอดตายหวุดหวิด

ชาวบ้านเกือบ 30 คน แค้นใจ! ปิดล้อมกุฏิ จับพระลวงเด็ก 13 มาข่มขืน

วงการสงฆ์! พระวัย 50 ปี ลวงเด็ก 13 ปี มาล่วงละเมิดทางเพศถึง 4 ครั้ง พากันบุกวัดปิดล้อมกุฎิ ตำรวจตรวจพบฉี่ม่วง

ระทึก!! ไฟไหม้เรือร้านอาหาร ในแม่น้ำเจ้าพระยา นักท่องเที่ยวหนีตายวุ่น

ระทึก! ไฟไหม้ร้านอาหารริมแม่น้ำเจ้าพระยา นักท่องเที่ยวกว่า 24 ชีวิตหนีตายวุ่น ล่าสุดควบคุมเพลิงได้แล้ว ไม่มีผู้ได้รับบาดเจ็บ

นายกฯ เศรษฐา เข้ารดน้ำไหว้ขอพร “ทักษิณ” ณ บ้านส่องหล้า

นายกฯ เศรษฐา เข้ารดน้ำไหว้ขอพร “ทักษิณ” เนื่องในวันสงกรานต์ พร้อมตอบคำถาม กระแสเขย่าปรับครม.เศรษฐา 2

อุทาหรณ์ผู้ปกครอง! เช็คให้ดีก่อนจะสตาร์ต หรือออกรถ อย่าเผลอลืมลูกไว้ที่ปั้ม

อุทาหรณ์! หนุ่มน้อยนั่งร้องไห้อยู่กลางปั้ม หลังลงจากรถตามพ่อไปเข้าห้องน้ำ ออกมาอีกที่ไม่เจอรถ สุดท้ายชาวบ้านช่วยติดต่อให้ จนได้เจอพ่อแม่
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า