“บิ๊กตู่” นำทีมลงพื้นที่ติดตามการช่วยเหลือภัยแล้งบุรีรัมย์

บ่ายวันนี้(19ส.ค.62) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พร้อมคณะ ลงพื้นที่ติดตามสถานการณ์น้ำและการแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ โดยมี ดร.ทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน นายสัญญา แสงพุ่มพงษ์ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านวิศวกรรมชลประทาน(ด้านบำรุงรักษา) นายเกียรติศักดิ์ หนูแก้ว ผู้อำนวยการสำนักงานชลประทานที่8 และนายเทิดพงศ์ ไทยอุดม ผู้อำนวยการโครงการชลประทานบุรีรัมย์ ตลอดจนประชาชนในพื้นที่ ร่วมให้การต้อนรับ ณ โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยจระเข้มาก จังหวัดบุรีรัมย์      

 

ทั้งนี้ พื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์เผชิญกับปัญหาภัยแล้ง เนื่องจากปริมาณฝนตกน้อยเป็นเวลานานตั้งแต่ช่วงฤดูแล้งปี 2561 จนถึงปัจจุบัน ส่งผลให้ขาดแคลนน้ำด้านการเกษตร และอุปโภคบริโภค เกือบทั้งจังหวัด โดยปัญหาหลักคือการขาดแคลนน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค ซึ่งหลายหน่วยงานได้ร่วมบูรณาการ เพื่อช่วยเหลือแก้ไขปัญหาบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนอย่างเต็มที่

ดร.ทองเปลว กองจันทร์ อธิบดีกรมชลประทาน เปิดเผยว่า กรมชลประทาน ได้เฝ้าติดตามและร่วมบูรณาการกับหน่วยงานทุกภาคส่วนเร่งให้การช่วยเหลือสถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์มาอย่างต่อเนื่อง โดยปัจจุบันสถานการณ์น้ำภาพรวมของอ่างเก็บน้ำในเขตจังหวัดบุรีรัมย์ จำนวน 29 แห่ง มีปริมาณน้ำรวมกันประมาณ 40 ล้านลูกบาศก์เมตร หรือร้อยละ 13 ของความจุอ่างฯทั้งหมด  เป็นน้ำใช้การได้เพียง 24 ล้านลูกบาศก์เมตร  เบื้องต้นกรมชลประทาน ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาในระยะเร่งด่วน ด้วยการระบายน้ำจากอ่างเก็บน้ำลำปลายมาศ มาที่สถานีสูบน้ำลำปลายมาศ  มาตั้งแต่เดือน ก.ย. 61 ปริมาตรน้ำรวม 14 ล้าน ลบ.ม. และสูบน้ำจากสถานีสูบน้ำลำปลายมาศไปยังอ่างเก็บน้ำห้วยจระเข้มาก ปริมาตรน้ำรวม 10.68 ล้าน ลบ.ม.  เพื่อสนับสนุนการผลิตน้ำประปาของการประปาส่วนภูมภาคสาขาบุรีรัมย์ รวมทั้งขุดร่องชักน้ำเข้าสู่หัวสูบของการประปาส่วนภูมิภาค(กปภ.) และสูบน้ำบริเวณรอบอ่างเก็บน้ำห้วยตลาดและอ่างเก็บน้ำห้วยจระเข้มาก ได้ปริมาณน้ำประมาณ 426,000 ลูกบาศก์เมตร เข้าจุดสูบน้ำของ กปภ. เพื่อไม่ให้ขาดแคลนน้ำดิบในการผลิตประปาหล่อเลี้ยงชาวเมืองบุรีรัมย์ 

นอกจากนี้ ยังได้ผันน้ำจากเหมืองหินกลุ่ม A มายังอ่างเก็บน้ำห้วยตลาด ระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร พร้อมติดตั้งเครื่องสูบน้ำตามจุดต่างๆ รวม 10 เครื่อง ได้แก่ บริเวณบ่อเหมืองหิน 2 เครื่อง คลองสายใหญ่ฝั่งซ้ายอ่างเก็บน้ำห้วยตลาด ก.ม.9+300 จำนวน 4 เครื่อง ก.ม. 6+000 จำนวน 3 เครื่อง และบริเวณปากคลองส่งน้ำสายใหญ่ เพื่อสูบน้ำส่งไปรวมหน้าสถานีสูบน้ำของการประปาส่วนภูมิภาคอีก 1 เครื่อง ส่วนการช่วยเหลือด้านอื่นๆ อาทิ ติดตั้งท่อระบายน้ำจากบ่อเหมืองหิน ขุดคลองผันน้ำชั่วคราวพร้อมติดตั้งผ้ายางรองพื้น ขุดลอกห้วยตะขาบ ขุดลอกตะกอนคลองสายใหญ่ฝั่งซ้าย เพื่อให้การระบายน้ำเป็นไปอย่างสะดวกมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม สถานการณ์การขาดแคลนน้ำจากฝนที่ตกน้อยกว่าค่าปกติ อาจส่งผลไปจนถึงฤดูแล้งปี 2562 โครงการชลประทานบุรีรัมย์ ได้ปรับแผนการบริหารจัดการน้ำ โดยกำหนดมาตรการการใช้น้ำจากเหมืองหิน ซึ่งเป็นแหล่งน้ำสำรองสุดท้าย ด้วยการอาศัยข้อมูลน้ำที่เหลืออยู่ในอ่างเก็บน้ำมาประเมินสถานการณ์ เพื่อกำหนดมาตรการลดการใช้น้ำของภาคประชาชน รวมทั้งได้ขอความร่วมมือจากการประปาส่วนภูมิภาคลดแรงดันการจ่ายน้ำลง เพื่อเป็นการประหยัดน้ำ  ซึ่งขณะนี้อัตราการใช้น้ำลดลงเหลือ ประมาณ 36,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน ประกอบกับปัจจุบันมีฝนตกลงมาในพื้นที่บ้างแล้ว ทำให้มีปริมาณน้ำไหลเข้าอ่างฯเพิ่มขึ้น สามารถชดเชยการใช้น้ำประจำวันได้ จึงชะลอการสูบน้ำจากบ่อเหมืองหินในช่วงฝนตก เพื่อเป็นการเก็บรักษาแหล่งน้ำสำรองไว้ใช้ยามจำเป็น  โดยจะทำการสูบน้ำจากบ่อหินมาใช้ในกรณีที่น้ำในอ่างฯ ลดลงเหลือเพียง 800,000 ลูกบาศก์เมตร เท่านั้น

สำหรับแผนการแก้ไขปัญหาภัยแล้งระยะยาว นั้น จะเร่งดำเนินการซ่อมแซมเครื่องสูบน้ำบริเวณสถานีสูบน้ำลำปลายมาศซึ่งผ่านการใช้งานมานาน ให้อยู่ในสภาพที่พร้อมใช้งาน รวมทั้ง การขุดลอกอ่างเก็บน้ำห้วยตลาดและอ่างเก็บน้ำห้วยจระเข้มาก ให้สามารถรับน้ำได้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกรมการทหารช่าง โดยจะเริ่มดำเนินการภายในกลางปี 2562 และในปี 2563 ยังมีแผนดำเนินงานขุดลอกอ่างห้วยจระเข้มาก และขุดลอกอ่างเก็บน้ำห้วยตลาด เพิ่มเติมอีกด้วย รวมไปถึงการดำเนินโครงการผันน้ำลำปะเทีย มายังอ่างเก็บน้ำห้วยตลาด ปริมาณน้ำประมาณ 20,000,000 ลูกบาศก์เมตรต่อปี  ซึ่งปัจจุบันได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาที่ดินแนวคลองผันน้ำเรียบร้อยแล้ว และจะดำเนินการออกแบบพร้อมเสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณในปี 2563 อีกทั้งยังมีโครงการขุดลอกเพิ่มความจุบริเวณพื้นที่เหนือฝายบ้านยาง ซึ่งเป็นที่ตั้งของสถานีสูบน้ำลำปลายมาศ สำหรับใช้เป็นแหล่งสำรองน้ำดิบสูบน้ำมาเติมให้กับอ่างเก็บน้ำห้วยจระเข้มาก พร้อมกันนี้ได้ประสานไปยังการประปาส่วนภูมิภาค ให้พิจารณาตั้งสถานีผลิตน้ำ
บริเวณอำเภอโนนดินแดง เพื่อเสริมความมั่นคงทางด้านการใช้น้ำประปาในพื้นที่อำเภอโนนดินแดง อำเภอประคำ อำเภอนางรอง และ อำเภอเมืองบุรีรัมย์ และอีกโครงการฯคือ โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการเก็บกักอ่างเก็บน้ำห้วยสวาย เพื่อให้สามารถใช้เป็นแหล่งน้ำสำรองได้อีกแห่งหนึ่งด้วย

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า