ศูนย์วิจัยกสิกรฯ ห่วงปีหน้าค่าครองชีพพุ่ง-ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ

ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเผยดัชนี KR-ECI เดือนพ.ย. ดีขึ้นเป็นเดือนที่ 2 หลังราคาน้ำมันลดลง ได้แรงหนุนจากมาตรการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย ประเมินปีหน้าค่าครองชีพเพิ่มต่อเนื่อง จากการขึ้น “ค่าFt-ค่าโดยสารแท็กซี่” ขณะที่ราคาสินค้าเกษตรมีแนวโน้มลดลง  

เมื่อวันที่ 12 ธ.ค. ศูนย์วิจัยกสิกรไทย เปิดเผยว่า ดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนไทย (KR-ECI) ในเดือนพ.ย.2561 ปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 มาอยู่ที่ระดับ 45.7 จากเดิมที่ระดับ 45.3 ในเดือนต.ค.2561

ทั้งนี้ เนื่องจากครัวเรือนไทยทั้งในเขตกรุงเทพและปริมณฑล และต่างจังหวัด มีความกังวลต่อสถานการณ์ทางด้านราคาสินค้าและบริการภายในประเทศลดลง หลังจากราคาน้ำมันเชื้อเพลิงขายปลีกในประเทศปรับตัวลดลงมากถึง 6 ครั้งตลอดช่วงเดือนพ.ย.2561 ตามราคาน้ำมันดิบโลกที่ในช่วงเดือนต.ค.-พ.ย.2561 ที่ลดลงจาก 80-85 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล มาอยู่ที่ระดับต่ำกว่า 60 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล

ขณะที่มาตรการภาครัฐที่ทยอยออกมาในช่วงเดือนพ.ย.2561 แม้ว่าจะยังไม่มีผลบังคับใช้ภายในเดือนเดียวกัน แต่มีส่วนช่วยลดทอนความกังวลของครัวเรือนต่อภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพได้บ้าง ทั้งในส่วนของมาตรการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อยเพิ่มเติมผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ และมาตรการช่วยเหลือเกษตรกรสวนยางพาราและปาล์มน้ำมัน

สำหรับดัชนีภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนในอีก 3 เดือนข้างหน้า (3-month Expected KR-ECI) ปรับตัวดีขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 3 มาอยู่ที่ระดับ 47.4 ในการสำรวจช่วงเดือนพ.ย.2561 ส่วนหนึ่งได้อานิสงส์ต่อเนื่องมาจากมุมมองของครัวเรือนในปัจจุบันที่ลดความกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์ทางด้านราคาสินค้าและบริการภายในประเทศ

นอกจากนี้ ครัวเรือนยังมีมุมมองที่เป็นบวกมากขึ้นต่อรายได้และการจ้างงานในช่วง 3 เดือนข้างหน้า (ธ.ค.2561-ก.พ.2562) ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากเป็นช่วงฤดูกาลปรับขึ้นค่าจ้างและเงินเดือนประจำปี ประกอบกับครัวเรือนผู้มีรายได้น้อย จะได้รับการสนับสนุนค่าใช้จ่ายจากรัฐบาล คนละ 500 บาทในเดือนธ.ค.2561 แต่ยังคงต้องติดตามภาวะการครองชีพของครัวเรือนในเดือนถัดไปเมื่อผลดังกล่าวสิ้นสุดลง

อย่างไรก็ตาม ในปี 2562 ยังต้องติดตามประเด็นที่เกี่ยวเนื่องกับภาพรวมราคาสินค้าและบริการภายในประเทศ ซึ่งจะยังส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนไทย ไม่ว่าจะเป็น 1. การบังคับใช้ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 388 พ.ศ. 2561 เรื่องกำหนดห้ามผลิต นำเข้า หรือจำหน่ายอาหารที่มีกรดไขมันทรานส์ (Trans Fatty Acids)

2.การปรับขึ้นค่าไฟฟ้าผันแปร (Ft) อีก 4.30 สตางค์ต่อหน่วย สำหรับงวดเดือนม.ค.-เม.ย.62 ซึ่งจะทำให้ค่าไฟฟ้าต่อหน่วย (ที่ผู้ใช้ไฟฟ้าจ่ายจริงไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) เพิ่มขึ้นจาก 3.5966 บาท เป็น 3.6396 บาท และ3.ข่าวการปรับขึ้นค่าโดยสารรถประจำทางและรถแท็กซี่ในปี 2562 โดยสถานะล่าสุดยังอยู่ระหว่างการพิจารณาปรับเคาะค่าโดยสารอัตราใหม่ ซึ่งยังต้องติดตามรายละเอียดที่ชัดเจนในระยะข้างหน้า

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า ในช่วงเดือนสุดท้ายของปี 2561 คาดว่าภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนไทยจะยังปรับตัวดีขึ้นต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งได้แรงสนับสนุนจากมาตรการภาครัฐ ซึ่งสนับสนุนค่าใช้จ่ายช่วงปลายปี คนละ 500 บาท ประกอบกับอยู่ในช่วงฤดูกาลของการปรับขึ้นเงินเดือนและค่าจ้างของแต่ละองค์กร แต่ยังต้องติดตามเรื่องสถานการณ์ราคาสินค้าเกษตร โดยเฉพาะราคายางพาราและปาล์มน้ำมันที่ยังคงมีแนวโน้มปรับตัวลดลง แม้ภาครัฐจะออกมาตรการช่วยเหลือไปบ้างแล้ว

“ในช่วงต้นปี 2562 ยังต้องติดตามในประเด็นเรื่องสถานการณ์ราคาสินค้าและบริการภายในประเทศที่มีแนวโน้มจะปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงไตรมาสแรกของปี 2562 ซึ่งจะส่งผลให้ค่าครองชีพของผู้บริโภคปรับตัวเพิ่มขึ้น กระทบต่อภาวะเศรษฐกิจและการครองชีพของครัวเรือนไทยในระยะข้างหน้า”ศูนย์วิจัยกสิกรไทยระบุ

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า