ดราม่าบูรณะพระปรางค์วัดอรุณฯดูแล้วไม่ขลัง กรมศิลฯแจงไม่ได้ทำให้ขาวแค่ทำความสะอาด

ในการบูรณะพระปรางค์วัดอรุณราชวราราม ราชวรมหาวิหาร ครั้งใหญ่ในรอบหลายสิบปี ถูกพูดถึงอย่างมากโดยเฉพาะภาพที่ถูกแชร์ในโลกออนไลน์ โดยเฉพาะเรื่องของสีพระปรางค์ที่แบบเก่าดูเข้มขลังแต่หลังการบูรณะแล้วกลับกลายเป็นสีขาวจนถูกวิจารณ์ว่าลดทอนเอกลักษณ์ของเดิมจนหมดสิ้น ฯลฯ ทั้งหมดคือความเข้าใจผิดซึ่งกรมศิลปากรผู้ดูแลงานในครั้งนี้ได้ออกมาชี้แจงเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องทั่วกัน

บูรณะแบบไหน ถึงมาแปลงโฉม พระปรางค์ วัดอรุญเป็นโทนสีขาว แกะกระเบื้องสี หลากสี จากจานเคลือบสีโบราณล้ำค่าหายออกไปแล้ว ทำแบบนี้ ทำไม? ใครรู้ช่วยตอบด้วย

โพสต์โดย ต่อตระกูล ยมนาค เมื่อ วันจันทร์ที่ 14 สิงหาคม 2017

บรรดาบุคคลที่ห่วงใยในโบราณสถานชิ้นสำคัญของชาติต่างออกมาแสดงความคิดเห็นกันมากมายเริ่มจากเฟซบุ๊ก ต่อตระกูล ยมนาค เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรม อดีตนายกสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์

https://www.facebook.com/chulcherm.yugala/posts/10155173217918371

เช่นเดียวกับเฟซบุ๊ก Chulcherm Yugala ม.จ.จุลเจิม ยุคล ที่ตั้งคำถามเกี่ยวกับความเหมาะสมของการบูรณะพระปรางค์วัดอรุณฯครั้งใหญ่ในรอบหลายสิบปีถัดจากการบูรณะล่าสุดในรัชกาลที่ 5 โดยจั่วหัวด้วยข้อความร้อนแรง “ความอัปลักษณ์ มีที่ประเทศไทยทำได้ ประเทศเดียว….”

ฝากแชร์กันนะครับ ท่านเจ้าคุณฯฝากมาครับ?????? ตามที่มีผู้แสดงความห่วงใยการบูรณะพระปรางค์วัดอรุณราชวราราม…

โพสต์โดย Tod's Trakoolhirun เมื่อ วันอังคารที่ 15 สิงหาคม 2017

จากเรื่องราวข้างต้นทั้งหมดล้วนเป็นความเข้าใจผิดซึ่งข้อความจากเฟซบุ๊กของ Tod’s Trakoolhirun ระบุคำชี้จากจากกรมศิลปากรและวัดอรุณราชวราราม มีใจความสำคัญชี้ทุกขั้นตอนได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดบนพื้นฐานความถูกต้องตามหลักวิชาการและรักษาความเป็นของแท้ดั้งเดิมให้มากที่สุด ทั้งรูปแบบสถาปัตยกรรมและวัสดุ 

ส่วนขององค์ปรางค์ที่เห็นเป็นสีขาวนั้น เกิดจากการทำความสะอาดคราบตะไคร่น้ำและทาสีน้ำปูน ซึ่งเป็นสีดั้งเดิมขององค์พระปรางค์ ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ

โดยเฉพาะประเด็นการบูรณะพระปรางค์ของวันอรุณฯ จนไม่เหลือร่องรอยความสวยงานแบบสมัยก่อนนั้นทางกรมศิลปากรชี้แจงว่าเป็นการทำความสะอาดคราบตะไคร่ที่เกาะติดมาหลายสิบปี ก่อนทาสีน้ำปูนลงไป ยืนยันนี่คือสีเดิมแต่แรกเริ่มของพระปรางค์ที่อาจจะไม่คุ้นชินตาคนทั่วไปสักเท่าไหร่

แฟนเพจชื่อดัง น้ารู้น้าเรียนมา สรุปประเด็นดราม่าบูรณะพระปรางค์วัดอรุณฯที่น่าสนใจไว้เริ่มจากเรื่องแรกที่โลกออนไลน์ตั้งคำถามเกี่ยวกับ “รายละเอียดการประดับกระเบื้องของยักษ์แบกที่หายไป” ข้อนี้ถูกเปิดเผยว่าเป็นการนำรูปปั้นปรางค์ทิศกับปรางค์ประธานมาเทียบกันแน่นอนว่าองค์ประกอบย่อมแตกต่างกันอยู่แล้ว

เรื่องถัดมาคือเรื่องของความขาวที่ดูจะไม่ขลังน่าเกรงขามเหมือนเก่า ตรงนี้เพจดังให้ข้อมูลว่าสีขาวที่เห็นคือ “ปูนตำ” หรือ “ปูนหมัก” เป็นวัสดุก่อสร้างพื้นฐานของงานสถาปัตยกรรมแบบดั้งเดิม ซึ่งสอดคล้องกับคำชี้แจงของกรมศิลฯที่ระบุว่าได้ทาน้ำปูนเข้าไป

ส่วนสีดำของเดิมนอกจากจะเป็นคราบตะไคร่ที่เกาะติดแน่นยังเป็นสีของ “ปูนดำ” หรือที่เรารู้จักกันในนาม “ปูนซีเมนต์” เป็นวัสดุก่อสร้างสมัยใหม่ที่ถูกใช้ซ่อมแซมยิบย่อยในช่วงเวลาที่ผ่านมา ซึ่งจากการวิจัยพบว่าปูนซีเมนต์ระบายความชื้นได้ไม่ดีนักจึงไม่เหมาะกับโบราณสถานจึงกลับมาใช้ “ปูนตำ” ตามเดิม

ดราม่าพระปรางค์วัดอรุณ (2) : ขนมชั้นของการก่อสร้างและอนุรักษ์จุดเด่นของงานสถาปัตยกรรมพระราชนิยมในรัชกาลที่ 3…

โพสต์โดย น้ารู้น้าเรียนมา เมื่อ วันอังคารที่ 15 สิงหาคม 2017

สุดท้ายทางเพจยังให้ข้อมูลที่น่าสนใจว่าตัวพระปรางค์ที่เราคุ้นชินไม่ใช่รูปทรงและวัสดุดั้งเดิมตั้งแต่สมัยบรรพกาล และจากข้อมูลในวิกิพีเดียพบว่าพระปรางค์วัดอรุณราชวรารามถูกสร้างแทนขอเดิมที่สูง 16 เมตร ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 2 นู่นเลย อีกทั้งยังมีการบูรณปฏิสังขรณ์เรื่อยมาโดยเฉพาะครั้งใหญ่สุดในรัชกาลที่ 5 ที่มีการเปลี่ยนกระเบื้องเคลือบตกแต่งแทนกระเบื้องดินเผาที่ไม่แข็งแรงแทบจะทั้งหมด

 

 

Cr. Tod’s Trakoolhirun, Chulcherm Yugala,  ต่อตระกูล ยมนาค, OKnation, addsiripun, น้ารู้น้าเรียนมา

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า