ทาสแมวต้องอ่าน ป้องกันเชื้อราแมวทั้ง “นาย” ทั้ง “บ่าว”

หลังจากมีข่าว “ทาสแมว” ติด เชื้อราแมว สร้างความกังวลใจให้กับคนเลี้ยงแมวหลายคน ไม่ใช่แค่ห่วงตัวเอง แต่ห่วงเจ้าเหมียวน้อยด้วย เกรงว่าจะติดเชื้อราเพราะช่วงนี้ฝนตกบ่อย อากาศค่อนข้างชื้น ซึ่งหากดูแลน้องเหมียวให้ดี เชื้อราจะไม่สามารถทำอันตรายได้ทั้งแมวทั้งคนนะคะ

ต้นเหตุเหมียวเป็นเชื้อรา

สาเหตุหลักที่ทำให้เกิดเชื้อรา คือ ความชื้น เชื้อราแมวจึงเกิดขึ้นได้จากสิ่งแวดล้อมบริเวณที่อยู่อาศัยของแมวอับชื้น เช่น เป็นห้องที่อากาศไม่ถ่ายเท แสงแดดส่องไม่ถึง หรือเจ้าเหมียวชอบนอนบนเบาะรองที่อับชื้น หรือแมวบางตัวชอบซุกตัวอยู่ใต้โต๊ะที่อับชื้น รวมไปถึงการใช้ทรายแมวที่หมดอายุแล้ว กลายเป็นแหล่งเก็บความชื้นไป

สำหรับแมวที่เป็นเชื้อราได้ง่าย ได้แก่แมวที่มีขนยาวและหนา เช่น แมวพันธุ์เปอร์เซีย นอกจากนี้อาจเกิดจากเจ้าของปล่อยให้เจ้าเหมียวสกปรกมอมแมม ไม่อาบน้ำ หลังอาบน้ำหรือเมื่อขนเปียกไม่เป่าขนให้แห้ง

อาการ

แมวที่ติดเชื้อราจะมีอาการคัน ขนร่วงเป็นกระจุก ผิวหนังเป็นสะเก็ดเหมือนรังแค บางตัวที่มีอาการรุนแรงอาจเป็นตุ่มพอง หรือขนร่วงเป็นสะเก็ดทั่วทั้งตัว ส่วนแมวบางตัวที่ติดเชื้อราก็อาจไม่แสดงอาการก็ได้

การรักษา            

หากสงสัยว่าแมวติดเชื้อรา ควรพาแมวไปพบสัตวแพทย์ เพื่อรับการรักษาที่เหมาะสม ซึ่งการรักษาเชื้อราทำได้หลายวิธี คุณหมออาจจะฉีดยาเพื่อระงับเชื้อรา ให้กินยาแก้เชื้อรา ลดการอักเสบของผิวหนัง หรือทายาซึ่งยาที่ใช้ส่วนมากเป็นยารักษาเชื้อราในคน เช่น ซีม่าโลชั่น โดยให้ทาบริเวณที่เป็นเชื้อราหลังอาบน้ำ แต่วิธีนี้อาจไม่เหมาะกับแมวที่ติดเชื้อราทั้งตัว และยังต้องระวังไม่ให้แมวเลียยาเข้าไปด้วย รวมถึงการอาบน้ำด้วยแชมพูยา ซึ่งการอาบน้ำด้วยแชมพูที่ผสมคีโตโคนาโซลก็ช่วยได้ แม้แต่กับแมวที่ต้องสงสัยว่าอาจติดเชื้อราแต่ไม่มีอาการก็ควรใช้แชมพูยากันไว้ก่อน ควรอาบน้ำให้แมวสัปดาห์ละ 2-3 ครั้ง และเป่าขนให้แห้งสนิททุกครั้งหลังอาบน้ำ

ป้องกันเชื้อราให้เหมียว

  • อาบน้ำอย่างน้อยสัปดาห์ละ 2 ครั้ง และใช้ไดร์เป่าขนให้แห้งสนิท
  • ตัดขนให้สั้นลงเพื่อดูแลได้ง่ายขึ้น หากเจ้าเหมียวมีขนยาวฟู และเสี่ยงต่อการติดเชื้อรา
  • รักษาสภาพแวดล้อมของแหล่งที่อยู่ในสะอาด ไม่อับชื้น ไม่มีฝุ่นละออง เปลี่ยนทรายแมวเป็นประจำ และนำเบาะรองหรือที่นอนเจ้าเหมียวไปซักตากแดดบ่อย ๆ
  • หากเลี้ยงแมวไว้หลายตัว และพบว่ามีตัวหนึ่งติดเชื้อรา ควรรีบแยกตัวที่ติดเชื้อออกมาไม่ให้ปะปนกัน และควรพาแมวที่เหลือไปเพาะเชื้อตรวจด้วย
  • เมื่อเจ้าเหมียวมีอายุครบ 2 เดือนขึ้นไป ควรพาไปฉีดวัคซีนป้องกัน และควรฉีดประจำทุกปีเพื่อกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามวัคซีนที่มีในปัจจุบันสามารถป้องกันได้เฉพาะเชื้อ Microsporium canis เท่านั้น

ดูแลให้ “นาย”ปลอดจากเชื้อรา “บ่าว” ก็จะปลอดจากเชื้อราด้วยนะเจ้าคะ

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า