รู้จักขั้นตอนการตรวจภายใน กับแพทย์หญิง ชัญวลี ศรีสุโข

ทีมข่าวมีโอกาสได้พูดคุย กับแพทย์หญิง ชัญวลี ศรีสุโข เลขาแพทย์สภา อธิบายการตรวจภายโดยทั่วไปแล้วจะใช้เวลาไม่นานประมาณ 5-10 นาที โดยการตรวจจะประกอบไปด้วย 3 ขั้นตอนการตรวจหลัก ๆ ได้แก่ การตรวจดูอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกด้วยตาเปล่า (External visual exam), การตรวจดูภายในช่องคลอดด้วยเครื่องมือสำหรับตรวจช่องคลอด (Internal visual exam) และการตรวจด้วยการใช้มือคลำที่หน้าท้องพร้อมกับการใช้นิ้วสอด (Bimanual examination) ซึ่งในระหว่างการตรวจแพทย์จะมีการแจ้งให้ผู้เข้ารับการตรวจทราบเป็นระยะ ๆ ว่ากำลังจะเกิดอะไรขึ้นในแต่ละขั้นตอน

ในขั้นแรก ผู้เข้ารับการตรวจจะต้องมีการถอดกางเกงชั้นในและเปลี่ยนเสื้อผ้าเป็นชุดที่ทางโรงพยาบาลเตรียมไว้ให้ (อาจเป็นกระโปรงหรือผ้าถุง) และปัสสาวะให้เรียบร้อยก่อนทำการตรวจ (เพราะการมีปัสสาวะสะสมในกระเพาะปัสสาวะจะส่งผลให้แพทย์ตรวจคลำอวัยวะต่าง ๆ ในอุ้งเชิงกรานได้ไม่ชัดเจน) จากนั้นเจ้าหน้าที่จะเชิญให้ขึ้นไปนอนหงายบนเตียงตรวจอวัยวะภายในซึ่งจะมีลักษณะเป็นขาหยั่งรองรับขาทั้งสองข้างเพื่อแยกขาออกจากกัน

แพทย์จะเป็นผู้แจ้งให้ผู้เข้ารับการตรวจทราบว่าควรจัดท่าทางให้อยู่ในลักษณะใด และผู้เข้ารับการตรวจจะต้องพยายามแยกหัวเข่าทั้ง 2 ข้างออกจากกันให้กว้างที่สุดในขณะที่พยายามวางก้นลงบนเตียง เพราะท่านี้จะช่วยลดอาการเกร็งของกล้ามเนื้อในช่องคลอดได้ ทำให้ไม่เจ็บ แพทย์ทำการตรวจได้สะดวก ใส่เครื่องมือได้ง่ายขึ้น เห็นอวัยวะได้ชัดเจน และไม่ถูกบังโดยขาของผู้ป่วย

 

แพทย์จะเริ่มตรวจดูบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอกด้วยตาเปล่าว่ามีสภาพปกติ หรือมีอาการผิดปกติหรือไม่ โดยจะดูรูปร่างของคลิตอริสและอวัยวะใกล้เคียง เช่น ท่อปัสสาวะ รูก้น ดูการกระจายของขน ดูก้อน รอยแดง แผล บวม ตุ่ม ฯลฯ ใช้นิ้วคลำต่อมน้ำเหลืองบริเวณขาหนีบ คลำก้อนผิดปกติบริเวณปากช่องคลอด

จากนั้นแพทย์จะเลือกใช้เครื่องมือถ่างขยายช่องคลอด (Speculum)หรือ ปากเป็ด ที่มีขนาดเหมาะสมกับขนาดของช่องคลอดของผู้รับการตรวจ (ขนาดเล็ก กลาง ใหญ่) ซึ่งเป็นเครื่องมือทรี่มีลักษณะคล้ายปากเป็ดที่ผ่านการอบฆ่าเชื้อแล้ว (จึงไม่ต้องกังวลว่าจะไม่สะอาดหรือทำให้เกิดการติดเชื้อ) สอดผ่านเข้าไปในช่องคลอดแล้วเปิดขยายช่องคลอดให้กว้างขึ้นเพื่อดูความผิดปกติ ตกขาว รอยแผล ก้อน หรือสีผิดปกติในช่องคลอดและปากมดลูก (ผู้เข้ารับการตรวจบางอาจรู้สึกเจ็บบ้างเล็กน้อยในขั้นตอนนี้)

 

ในบางรายอาจมีการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูก (Pap Smear) ไปพร้อมกันด้วย ซึ่งแพทย์จะใช้อุปกรณ์ที่มีลักษณะคล้ายไม้ไอศกรีม (แต่มีขนาดเล็กกว่ามาก) หรือใช้แปรงเล็ก ๆ ป้ายเอาเซลล์บริเวณปากมดลูกบางส่วนออกมาก่อนที่จะรีบนำไปส่งห้องปฏิบัติการ (Laboratory) เพื่อการตรวจวิเคราะห์ทางพยาธิวิทยาต่อไปว่ามีเซลล์ผิดปกติที่เข้าได้กับระยะก่อนเป็นมะเร็งหรือระยะที่เป็นมะเร็งปากมดลูกหรือไม่ ซึ่งต้องรอผลประมาณ 1-4 สัปดาห์

ปล่อยเสียง CG.พญ.ชัญวลี ศรีสุโข เลขาแพทย์สภา

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า