ปัญหาสุขภาพ ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน หากรู้ทันอาการ สามารถรักษาได้ อย่าปล่อยให้อันตรายถึงชีวิต
คนส่วนใหญ่มักจะเข้าใจว่า หัวใจวายกับภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน คือโรคเดียวกัน แต่จริงๆแล้ว ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน คือสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดหัวใจวาย หัวใจวายคือภาวะที่หัวใจไม่สามารถทำงานได้อย่างสมบูรณ์ และมีอีกหลายๆสาเหตุเช่น ลิ้นหัวใจทำงานผิดปกตินั่นเอง
วันนี้ ไบรท์ ทูเดย์ (Bright Today) จะพาทุกคนมาสังเกตอาการความผิดปกติของ ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน และมีปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้เกิด ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน รู้ทันอาการ รักษาได้ทัน ชีวิตปลอดภัย..
ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน คืออะไร
ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ปัญหาหลักทางด้านโรคหัวใจ เกิดจากการที่หลอดเลือดตีบตัน เพราะมีไขมันเกาะผนังหลอดเลือดสะสมเป็นเวลานาน จนผนังหลอดเลือดตีบแคบลง หากวันใดที่เกิดการปริตัวหรือแตกเป็นแผลจะทำให้เลือดแข็งตัวกลายเป็นลิ่มเลือดอุดตันในเส้นเลือด จนเลือดไม่สามารถไหลไปเลี้ยงหัวใจ กลายเป็นภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด และนำไปสู่ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจเสียหายหรือตายบางส่วน ถ้าหากเป็นหลอดเลือดที่เป็นเส้นเลือดใหญ่ส่วนต้นที่ส่งเลือดเลี้ยงในพื้นที่กล้ามเนื้อบริเวณกว้างก็มีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตกระทันหันอย่างรวดเร็วได้

จากสถิติกลุ่มผู้ที่เกิดภาวะดังกล่าวพบว่า ประมาณร้อยละ 10 – 15 เสียชีวิตตั้งแต่ยังมาไม่ถึงโรงพยาบาล ขณะที่ร้อยละ 10 เสียชีวิตที่โรงพยาบาล กลุ่มที่ได้รับการรักษาเร็วก็จะมีโอกาสรอด ความเสียหายต่อกล้ามเนื้อหัวใจจะน้อย สามารถกลับไปมีชีวิตเป็นปกติได้ แต่ถ้ากล้ามเนื้อหัวใจเสียหายมาก แม้จะรอดชีวิต ในระยะยาวผู้ป่วยที่เคยประสบภาวะดังกล่าว ย่อมมีผลกระทบต่อการดำรงชีวิต อาจเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอ่อนกำลังจนบีบตัวไม่ไหว ทำงานหนักขึ้น ส่งผลให้ผู้ป่วยมีสุขภาพร่างกายเหมือนคนอ่อนแรง เหนื่อยง่าย กลายเป็นผู้ป่วยติดเก้าอี้ ติดเตียง
อาการที่พบได้บ่อย
อาจพบอาการมากน้อยต่างกัน อาการที่สำคัญคือ ผู้ป่วยที่หลอดเลือดหัวใจตีบมักจะมีอาการแน่นหน้าอก คล้ายมีของหนักทับหน้าอก มีอาการคล้ายมีอะไรมาบีบรัด เจ็บใต้กระดูกด้านซ้าย อาจเจ็บร้าวถึงขากรรไกร และแขนซ้าย อาการเจ็บมักจะสัมพันธ์กับการออกกำลังกาย เช่น วิ่งตามรถเมล์ เดินขึ้นสะพานลอย ยกของหนัก ภาวะเครียดจัด อาการเจ็บมักไม่เกิน 15-30นาที
มีอาการเจ็บไหล่ คอ ขากรรไกร หลัง มีอาการปวดท้องโดยเฉพาะเจ็บหน้าอกร้าวมาบริเวณลิ้นปี่ หายใจติดขัด หายใจไม่ออก เหนื่อย เวียนศีรษะ หน้ามืดจะเป็นลม คลื่นไส้อาเจียน เหงื่อออก หากท่านมีอาการเจ็บหน้าอกและมีอาการดังกล่าวข้างต้นเป็นครั้งแรก ต้องรีบพบแพทย์

ปัจจัยเสี่ยงของการเกิด ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
ปัจจัยเสี่ยงที่หลีกเลี่ยงไม่ได้
- เพศ เพศชายมีความเสี่ยงมากกว่าผู้หญิง
- อายุ เพศชายที่มีอายุมากกว่า 45 ปี และเพศหญิงที่มีอายุมากกว่า 55 ปี มีโอกาศเสี่ยงเกิด ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด้ฉียบพลัน
- พันธุกรรม ผู้ที่มีประวัติครอบครัว หมายถึง พ่อแม่ ลูก เป็นโรคเส้นเลือดหัวใจตีนก่อนวัยอันควร
ปัจจัยเสี่ยงที่หลีกเลี่ยงได้
- ความดันโลหิตสูง ความเสี่ยงต่อโรคแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง โรคตา หรือโรคไต
- ระดับไขมันในเลือดสูง ไขมันจะจับที่ผนังด้านในหลอกเลือดหัวใจเกิดการรวมตัวเป็นแผ่นหนามากขึ้น ทำให้หลอดเลือดตีนแคบลง ส่งผลให้ความดันโลหิตสูงขึ้น
- การสูบบุหรี่ สารนิฌคตินในบุหรี่จะทำให้หลอดเลือดแดงแข็งตัว ความยืดหยุ่นของหลอดเลือดลดลง เกิดความดันโลหิตสูง
- โรคเบาหวาน ปัจจัยที่ทำให้เกิดหลอดเลือดแดงจีบแข็งได้
- อ้วนลงพุง เนื่องจากคนที่อ้วนลงพุงส่วนใหญ่พบว่ามีระดับไขมันในหลอดเลือดสูง โดยพิจารณาได้จากขนาดของเส้นรอบเอว ผู้ชายไม่ครเกิน 90 เซนติเมตร และผู้หญิงไม่เกิน 80 เซนติเมตร
- ขาดการออกกำลังกาย จะทำให้การไหลเวียนเลือดไม่สะดวก การเผาผลาญพลังงานน้อย และเกิดการสะสมของไขมันได้
- ความเครียด ทำให้ร่างกายเกิดการเผาผลาญไขมันในหลอดเลือดผิดปกติ ทำให้ระดับไขมันในหลอดเลือดสูงได้
รักษา ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน
หากมีภาวะหลอดเลือดอุดตันเฉียบพลัน วิธีแก้ไขอันดับแรก คือ ต้องทำให้เลือดกลับมาไหลโดยเร็วที่สุด ในอดีตแพทย์จะนิยมให้ยาละลายลิ่มเลือด แต่ปัจจุบันมีการรักษาโดยใช้สายสวนเพื่อขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูน ซึ่งเป็นวิธีที่ประสบความสำเร็จกว่าการรับประทานยา

ขอบคุณข้อมูล : โรงพยาบาลศิริราช ปิยมหาราชการุณ และ โรงพยาบาลหัวใจกรุงเทพ
ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่น ๆ
Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY