สาวๆ เช็กด่วน! ใครที่มีอาการ ประจำเดือนมามาก มานาน ปวดท้องน้อยอย่างรุนแรง ควรระวัง “เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่”
สิ่งที่สาวๆ ทุกคนต้องเจอในทุกเดือน นั่นคือประจำเดือนนั่นเอง แต่เคยสังเกตุกันบ้างไหม ว่ามีอะไรผิดปกติหรือป่าว!ปวดประจำเดือน ปวดท้องน้อย ฟังดูแล้วก็เหมือนเรื่องปกติธรรมดาที่ผู้หญิงเจอกันบ่อยๆ แต่คุณรู้หรือไม่ว่า สิ่งที่มักถูกมองว่าปกตินี้ อาจเป็นสัญญาณเตือนของ “ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่”

เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Adenomyosis) คืออะไร?
เป็นความผิดปกติของเยื่อบุโพรงมดลูกที่เจริญเติบโตนอกโพรงมดลูก ซึ่งอาจแทรกตัวอยู่ในผนังหรือกล้ามเนื้อมดลูก หรือในตำแหน่งอื่นๆ ในอุ้งเชิงกราน เช่น
- รังไข่ ซึ่งการที่เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ที่รังไข่นั้น เมื่อเวลาที่ผู้หญิงมีประจำเดือนก็จะทำให้ประจำเดือนไหลย้อนกลับ และถุงน้ำจะมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ ตามปริมาณของประจำเดือนที่สะสมเพิ่มขึ้นในแต่ละรอบเดือน โดยของเหลวภายในจะมีลักษณะเหนียวข้นคล้ายช็อกโกแลต จึงมักเรียกว่า ช็อกโกแลตซีสต์ (Chocolate Cyst)
- กล้ามเนื้อมดลูก กรณีที่เยื่อบุโพรงมดลูกแทรกตัวเข้าไปในกล้ามเนื้อของผนังมดลูก ก็ทำให้เกิดอาการปวดประจำเดือน เกิดความดันในช่องท้องส่วนล่าง และท้องป่องในช่วงก่อนมีประจำเดือน และอาจส่งผลให้มีอาการในช่วงที่ประจำเดือนมามาก ซึ่งภาวะนี้สามารถเกิดได้ 2 แบบ คือ เกิดเฉพาะที่ชั้นกล้ามเนื้อมดลูก และเกิดกระจายในชั้นกล้ามเนื้อมดลูกทั่วไป
อาการ
- ประจำเดือนมามากและยาวนาน คือ มามากกว่า 7 วัน และในระหว่างวันต้องเปลี่ยนผ้าอนามัยทุกๆ ชั่วโมง
- ปวดประจำเดือนอย่างรุนแรง คือ เดิมเคยปวดประจำเดือนอยู่แล้ว… และปวดมากขึ้นเรื่อยๆ ในทุกเดือน หรืออาจปวดมากจนเป็นลม
- ปวดเจ็บที่ช่องคลอดขณะหรือหลังมีเพศสัมพันธ์
- ปวดท้องน้อย ช่วงก่อน ระหว่าง และหลังมีประจำเดือน
- เกิดแรงดันในช่องท้อง ท้องป่องช่วงมีประจำเดือน
- มีภาวะโลหิตจาง
วิธีการรักษา
1.การใช้ยา ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงน้อยถึงปานกลาง ซึ่งยาที่ใช้ในการรักษาจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่
- ยาแก้ปวดกลุ่มที่มีฤทธ์ต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (nonsteroidal anti-inflammatory drugs – NSAIDs) เพื่อลดอาการปวดประจำเดือน โดยแพทย์มักเริ่มให้ยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตอรอยด์ (NSAIDs) นี้ ใน 1-2 วันก่อนเริ่มมีประจำเดือน และใช้ต่อเนื่องไปจนถึงช่วงวันแรกๆ ของการมีประจำเดือน
- ยาฮอร์โมน โดยมีทั้งแบบยากิน ยาฉีด และห่วงฮอร์โมนสำหรับใส่ในโพรงมดลูก ซึ่งยากลุ่มฮอร์โมนจะเข้าไปยับยั้งการทำงานของรังไข่ ทำให้รอยโรคเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่เกิดการฝ่อ
2. การผ่าตัด
การผ่าตัดจะช่วยให้แพทย์สามารถตัดรอยโรคของเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ออกได้หมดหรือตัดออกมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ โดยปัจจุบันมีการผ่าตัดส่องกล้องซึ่งวิธีการผ่าตัดที่ได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ เพราะมีข้อดีมากมาย เช่น ช่วยลดโอกาสเกิดพังผืดหลังการผ่าตัดได้ดีขึ้น แผลผ่าตัดมีขนาดเล็ก เจ็บน้อย ฟื้นตัวไว ใช้เวลานอนโรงพยาบาลน้อยวันกว่าการผ่าตัดแบบเปิดหน้าท้องในสมัยก่อน
แหล่งที่มา พญาไท
ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่นๆ
Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY