ลองเช็กด้วยเองสักหน่อย หากคุณมีอาการ เช้าไม่ตื่น ช่วงสายต้องการของหวาน บ่ายง่วงนอน เย็นสดชื่น ตกดึกตาสว่าง ระวังเสี่ยง!! ต่อมหมวกไตล้า
ไหนๆ กลางคืนใครนอนไม่ค่อยหลับบ้าง หรือ ใครที่เป็นสายทำงานตอนกลางคืน ไม่ใช่ว่าขยัน แต่นอนไม่หลับ สว่างเมื่อพระอาทิตย์ตกดิน ใครมีอาการแบบนี้บ้าง หากมีอาการเหล่านี้ เราอยากให้คุณเช็กตัวเองเพิ่มเติมอีกสักนิด หากคุณเป็นคนที่ เช้าไม่ตื่น ช่วงสายต้องการของหวาน บ่ายง่วงนอน เย็นสดชื่น ตกดึกตาสว่าง บอกเลยว่าไม่ใช่เรื่องเล่นๆ เพราะอาจเป็นสัญญาณของ “ต่อมหมวกไตล้า” ที่คุณเป็นอยู่แต่ไม่รู้ตัว

วันนี้ BRIGHT TODAY จะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับ ต่อมหมวกไตล้า หรืออะไร มีอาการอย่างไร ต้องรักษาอย่างไร อันตรายระดับไหน รู้ก่อน รักษาก่อน อย่าคืดว่าไม่เป็นไร บางทีร่างกายกำลังบอกเตือนอยู่ก็เป็นได้
เว็บไซต์โพรงพยาบาลพญาไท ให้ข้อมูลเอาไว้ว่า ต่อมหมวกไต มีหน้าที่สร้างฮอร์โมนหลายชนิด เช่น ฮอร์โมนเพศและฮอร์โมนความเครียดคอร์ติซอล(Cortisol)ซึ่งต่อมหมวกไตจะหลั่งคอร์ติซอลออกมาเมื่อร่างกายเผชิญความเครียด ทั้งความเครียดที่ต้องเจอในชีวิตประจำวัน และความเครียดของร่างกายที่เกิดได้ในหลายสถานการณ์ เช่น เครียดเพราะป่วย ไม่ได้กินอาหารเช้า หรือเพราะนอนดึก
เช็คลิสต์!! อาการแบบนี้ พบแพทย์ด่วน
- ตอนเช้า ไม่อยากตื่น ไม่สดชื่น ไม่มีแรง ไม่กินอาหารเช้า
- ตอนสาย ไม่สดชื่น โหยหาการเติมพลังงานเช่นกาแฟ ของหวาน เพราะทำให้รู้สึกดี
- หลังเที่ยง เริ่มง่วง ไม่สดชื่น
- ตอนบ่าย จะสดชื่นเมื่อได้ดื่มหรือกินของหวาน
- ประมาณ 18.00 น. ร่างกายรู้สึกดี
- 21.00-22.00 น. รู้สึกสดชื่น ตาสว่าง ซึ่งความจริงควรเป็นเวลานอน
- 02.00-03.00 น. เริ่มง่วงและนอนหลับ

ใครที่มีอาการดังกล่าว ควรเข้ารับการตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียดทางห้องปฏิบัติการ เพื่อค้นหาความจริงที่เกิดขึ้นกับร่างกายเพราะหากพบปัญหาภาวะต่อมหมวกไตล้าจะได้รีบแก้ไขกำจัดสาเหตุของความเครียดออกไปอย่างถูกต้อง หากปล่อยทิ้งไว้อาจส่งผลกระทบกับฮอร์โมนตัวอื่นในร่างกายได้
- เน้นเรื่องการปรับไลฟ์สไตล์ของคนไข้เป็นหลัก
- พูดคุยกับคนไข้เพื่อหาแนวทางรักษาและหาต้นเหตุของความเครียด
- แนะนำในการปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์การนอน การรับประทานอาหาร การใช้ชีวิตประจำวัน
- รับประทานวิตามินรวมทั้งอาหารเสริมตามความเหมาะสมสำหรับคนไข้แต่ละคน
” คุณไม่ได้เป็น “คนขี้เกียจ” ที่มีอาการแบบนี้ แต่อาจเกิดจากพฤติกรรมและความเครียดจนทำให้ต่อมหมวกไตล้า ”
ขอบคุณข้อมูล – www.phyathai.com