เตือน! สายปาร์ตี้ ดื่มบ่อยไม่ดีแน่ ภาวะสมองเสียหายจากแอลกอฮอล์

เตือน! สายปาร์ตี้ สายดื่ม ดื่มบ่อยไม่ดีแน่ ภาวะสมองเสียหายจากแอลกอฮอล์ สูญเสียการควบคุม นำไปสู่สภาวะความจำเสื่อมได้

คราวก่อนเราได้ให้ความรู้ นักดื่ม สายปาร์ตี้ กันไปแล้วในเรื่องของผลเสียระยะยาวของการดื่มแอลกอฮอล์ นั้นคือ โรคไขมันพอกตับ นั้นเอง ซึ่งถ้าเทียบความรุนแรงแล้วโรคที่เราจะพูดถึงในวันนี้บอกเลยว่ารุนแรงกว่าหลายเท่า เพราะนำไปสู่สภาวะความจำเสื่อมได้

beer-party-with-friends-home-int

ผลกระทบของแอลกอฮอล์ที่มีต่อสมอง

แอลกอฮอล์ที่ดื่มหลังจากดูดซึมแล้ว สามารถซึมผ่านหลอดเลือดเข้าไปทำลายเซลล์สมองได้โดยตรง ทำให้การกำจัดของเสียในเซลล์สมองแย่ลง การสร้างสารสื่อประสาทน้อยลง เนื้อสมองเสียหายและตายเร็วกว่าปกติ เกิดเนื้อสมองฝ่อ รวมถึงไปทำลายเซลล์พี่เลี้ยงของสมองที่ช่วยในการทำงาน  นอกจากนี้แอลกอฮออล์ยังไปรบกวนการดูดซึมและกระบวนการนำวิตามินบี 1 ไปใช้ ทำให้เกิดภาวะขาดวิตามินบี 1 ซี่งหากพบร่วมกับภาวะขาดสารอาหารในผู้ป่วยที่ดื่มแอลกอฮอล์จะทำให้กระบวนการทำลายของสมองเร็วยิ่งขึ้น

อาการภาวะสมองเสียหายจากสุรา

  • อาการในระยะเฉียบพลัน: สูญเสียการควบคุมตัวเอง สูญเสียความจำระยะสั้นในด้านความคิด การใช้เหตุผลลดลง เสียการควบคุมการเคลื่อนไหวทรงตัวได้ไม่ดี ถ้าได้รับแอลกอฮอล์ในปริมาณมากทำให้กดการหายใจ ระดับความรู้สึกตัวลดลงได้
  • อาการในระยะยาว: บุคลิกภาพและอารมณ์แปรปรวน ควบคุมอารมณ์ไม่ได้ นำไปสู่พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม มีภาวะความจำเสื่อม มีปัญหาการเรียนรู้และจดจำ รวมไปถึงมีการเติมความจำด้วยข้อมูลที่ไม่เกี่ยวข้องลงไป

แอลกอฮอล์ส่งผลต่อสมองของเพศหญิงมากกว่าเพศชายเนื่องจากความแตกต่างในหลายปัจจัย เช่น ปัจจัยจากฮอร์โมนเพศ น้ำหนัก ปริมาณไขมันในร่างกาย

ระบบประสาทส่วนอื่นๆ ที่ได้รับผลกระทบ

  • เส้นประสาทควบคุมการสั่งการเคลื่อนไหว (Motor nerve) ทำให้ผู้ป่วยมีอาการอ่อนแรงของแขนขา
  • เส้นประสาทที่ควบคุมการรับความรู้สึก (Sensory nerve) ส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดอาการชา คล้ายเข็มทิ่มปลายมือเท้า มีอาการเดินเซควบคุมการทรงตัวลำบาก
  • เส้นประสาทอัตโนมัติ (Autonomic nerve) ทำให้การควบคุมความดันระหว่างการเปลี่ยนท่า การเต้นของหัวใจ ผิดปกติ การหลั่งของเหงื่อ น้ำลาย น้ำย่อยในทางเดินอาหารผิดปกติ ส่งผลทำให้มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสียได้

วิธีการรักษา

  1. การหยุดดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งจะลดปริมาณสารพิษที่เข้าไปทำลายเซลล์สมองโดยตรง ทำให้เซลล์สมองฟื้นตัวได้
  2. การรักษาภาวะขาดวิตามินบี 1  ด้วยการให้วิตามินบี 1 เข้าทางหลอดเลือดดำ ซึ่งจะให้ผลตอบสนองดี ถ้าสมองได้รับความเสียหายไม่มาก โดยสมองส่วนที่ยังไม่ถูกทำลายจะสามารถฟื้นฟูกลับมาได้ดี รวมถึงรักษาภาวะแทรกซ้อนที่เกิดร่วมกัน เช่น ภาวะขาดสารอาหาร น้ำตาลและไขมันในเลือดสูง เป็นต้น

จะเห็นได้ว่าวิธีการรักษาที่ดีที่สุดคือการหยุดดื่มแอลกอฮอล์นั้นเอง แอลกอฮอล์ส่งผลเสียต่อร่างกายในหลายๆ ด้านทั้งสมอง ตับ ไต ทำให้ร่างกายเกิดอาการแทรกซ้อนหลายอย่าง ซึ่งถ้าหากใครชอบดื่มบ่อยๆ แล้วพบว่าตัวเองมีอาการผิดปกติแนะนำให้มาปรึกษาแพทย์ เพื่อทำการตรวจรักษาที่ถูกต้องเพื่อสุขภาพที่ดี

แหล่งที่มา สมิติเวช

ติดตามข่าวสาร Bright Today ช่องทางอื่นๆ

Website : BRIGHT TODAY
Facebook : BRIGHT TV
Line Today : BRIGHT TODAY

ข่าวล่าสุด

ดูทั้งหมด

GOT7 ระเบิดความมันส์ สมการรอคอย 5 ปี! แฟนคลับแน่น ราชมังฯ

GOT7 ระเบิดความมันส์ ณ. ราชมังฯ สมการรอคอย 5 ปี! แฟนคลับแน่น ราชมังฯ ตะโกนร้องตามสนั่น ด้านอากาเซ่ ออกมาโพสต์ X ถึงความตื้นตันใจในหลากหลายโมเมนต์ สมกา […]

อยู่ๆก็งานเข้า !! “เปิ้ล นาคร – จูน กษมา” ถูกโยงดราม่า ปมข่าวดาราโลก 2 ใบ

อยู่ๆก็งานเข้า กับคู่รักอย่าง “เปิ้ล นาคร – จูน กษมา” เคลียร์ชัด! ปมข่าวดาราโลก 2 ใบ ลั่นไม่มีแน่นอน มีแค่ “จูน” คนเดียวก็จะบ้าแล้ว! หลังเกิดกระแสร้อน […]

เจรจาเดือด! เมย์ วาสนา เผย ดิว อริสรา ยังคืนของไม่ครบ ลั่น 10 วันเจอกัน

“เมย์ วาสนา” เคลื่อนไหวล่าสุด ยันคดียังไม่จบ! ลั่นยังไม่ได้ของครบจาก “ดิว อริสรา” เตรียมเข้าเจรจาภายใน 10 วัน ยังคงเป็นประเด็นคาราคาซังในวงการบันเทิง […]

วีนา ปวีนา อันฟอลโล่ แอนโทเนีย ลั่น !! มาเอามง ไม่ได้มาหาเพื่อน

“วีนา ปวีนา ซิงห์” เคลียร์ดราม่าอันฟอลโล่เพื่อนนางงาม ยันไม่มีใครสั่ง ทำทุกอย่างเพื่อมงฯ แต่ไม่ผิดศีลธรรม ลั่น !! ไม่ได้สนิทกับ แอนโทเนีย […]

คู่นี้ยังไง ? กระปุก พัชรา อันฟอลโลว์ กระทิง ขุนณรงค์

รักร้าวหรือแค่พักใจ? ชาวเน็ตตาดี เห็น “กระปุก พัชรา” อันฟอลโลว์ “กระทิง ขุนณรงค์” – ฝ่ายชายยังฟอลอยู่เหมือนเดิม กลายเป็นอีกหนึ่งประเด็นที่แฟนๆ ให้ความ […]

วิ่งเผ่นจีวรบิน เจ้าอาวาสฉาวสวิงกิ้งด.ญ. หนีสื่อปัดสัมภาษณ์

เจ้าอาวาสฉาวสวิงกิ้งด.ญ. ย่องเงียบเจอตร.โดนข้อหาอนาจาร รีบวิ่งหนีสื่อจีวรปลิวรีบขึ้นรถไปไหนไม่รู้ ชาวบ้านสุดเอือม
ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า